วารสารปี-40-ฉบับที่-3-resize

101 รองศาสตราจารย์วุฒิ ชั ย มูลศิ ลป์ วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๐ ฉบับที่ ๓ ก.ค.-ก.ย. ๒๕๕๘ โปรตุเกส เนเธอร์แลนด์ เยอรมนี สวีเดน-นอร์เวย์ (เวลานั้นรวมเป็นประเทศเดียวกัน) และเบลเยียม ต่อมา ในรัชกาลที่ ๕ ไทยได้ท� ำสนธิสัญญากับอีกหลายชาติ มักมีการกล่าวโจมตีพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ว่ายอมท� ำสนธิสัญญาที่เสียเปรียบ ไม่ เท่าเทียมกัน ๔๐ โดยผู้กล่าวหาในลักษณะนั้นไม่มองถึงสภาพการณ์ทางการเมืองระหว่างประเทศในช่วงเวลา นั้น เพราะจีน ญี่ปุ่น ก็ได้ท� ำสนธิสัญญาที่ไม่เท่าเทียมกับชาติตะวันตก และท� ำก่อนไทยด้วย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวไม่ได้ทรงท� ำแต่เพียงสนธิสัญญา แต่ทรงท� ำมากกว่านั้น คือ ส่งราชทูตน� ำเครื่องราชบรรณาการไปเจริญทางพระราชไมตรีกับชาติตะวันตก (ต่างกับไปจิ้มก้องจีน) เหมือนกับที่สมเด็จพระนารายณ์มหาราช (พ.ศ. ๒๑๙๙-๒๒๓๑) ทรงท� ำมาก่อนเมื่อเกือบ ๒๐๐ ปี มาแล้ว คือ ส่งไปอังกฤษสมัยสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย (พ.ศ. ๒๔๐๐) และไปฝรั่งเศสสมัยจักรพรรดิ นโปเลียนที่ ๓ (พ.ศ. ๒๔๐๔) อีกทั้งทรงมีพระราชสาส์นถึงประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกาและสันตะปาปา ไพอัสที่ ๙ (Pope Pius IX) ด้วย ซึ่งเป็นการติดต่อที่กว้างขวางและแสดงฐานะที่เท่าเทียมกัน ต่อมา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสประเทศต่าง ๆ ในทวีปยุโรป ๒ ครั้ง (พ.ศ. ๒๔๔๐ และ ๒๔๕๐) ซึ่งทรงได้รับการต้อนรับอย่างสมพระเกียรติ การที่ไทยยุติส่งก้องแก่จีน จีนเพียงแต่ทวงก้อง แต่ไม่ได้ส่งกองทัพมาบีบบังคับไทย ดังที่มีขุนนาง ผู้ใหญ่บางท่านวิตก หรือเหมือนกรณีเวียดนามและเกาหลี ที่จีนเคยส่งกองทัพเข้าไปปราบปรามเมื่อแข็งข้อ* แม้จะไม่มีความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างไทยกับจีน แต่พ่อค้าจีนและเอกชนจีนก็ยังอพยพเข้า มาท� ำมาหากิน บางส่วนตั้งถิ่นฐานอยู่ในไทย จ� ำนวนชาวจีนอพยพเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยมีทั้งผู้ท� ำคุณ ประโยชน์และสร้างปัญหา หลายคนสามารถสร้างฐานะจนมั่งคั่ง มีลูกหลานสืบตระกูลมาจนปัจจุบัน ๔๑ คนจีนที่อพยพเข้ามาเมืองไทยในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ ทางราชการให้ความส� ำคัญและกล่าวได้ ว่าเอาใจมากทีเดียว โดยเสียเงินค่าผูกปี้ หรือนัยหนึ่งคือเงินค่าราชการ น้อยกว่าคนไทย คือ เสีย ๔ บาท ต่อ ๓ ปี แต่คนไทยเสียปีละ ๑๘ บาท (สมัยรัชกาลที่ ๓) ในปลายรัชกาลที่ ๕ จึงเก็บเป็นปีละ ๖ บาท ซึ่งท� ำให้คนจีนไม่พอใจ พากันนัดหยุดงานดังที่กล่าวมาแล้ว ในภาพรวม ทางการไทยปฏิบัติต่อคนจีนเหมือนเป็นคนไทย คนจีนจึงมีความผูกพันกับเมืองไทยมาก แม้ว่าจะไม่มีการส่งก้องและไม่มีความสัมพันธ์อย่างเป็นทางการต่อกัน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัวจึงทรงต้องการปกครองคนจีนในไทยมากกว่าที่จะให้กงสุลจีนเป็นผู้ดูแล ๔๐ ดู วุฒิชัย มูลศิลป์. “สนธิสัญญาเบาว์ริงกับประวัติศาสตร์เอเชีย” ใน ไทย จีน ญี่ปุ่น ในยุคจักรวรรดินิยมใหม่ วิเคราะห์ เปรียบเทียบ หน้า ๖๖–๑๐๐ * จีนส่งทหาร ๒๑๕,๐๐๐ คน เข้าปราบปรามเวียดนามในกลางพุทธศตวรรษที่ ๒๐ (ต้นคริสต์ศตวรรษที่ ๑๖) K.W. Taylor. A History of the Vietnamese. pp. 172-174 ๔๑ หนังสือที่ทันสมัยและดีมากในเรื่องนี้คือ Jeffery Sng and Pimpraphai Bisalputra. A History of the Thai-Chinese (2015)

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=