วารสารปี-40-ฉบับที่-3-resize
99 รองศาสตราจารย์วุฒิ ชั ย มูลศิ ลป์ วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๐ ฉบับที่ ๓ ก.ค.-ก.ย. ๒๕๕๘ สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวไม่ต้องการท� ำโดยมีข้อผัดผ่อนด้วยเหตุผลหลากหลาย เช่น เป็นระยะ ที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวก� ำลังเตรียมเสด็จประพาสยุโรปครั้งที่ ๒ ไทยก� ำลังเจรจา ปรับปรุงสนธิสัญญากับฝรั่งเศส อังกฤษ ๓๖ ส� ำหรับเรื่องจัดตั้งเฟเดอเรชั่น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว ทรงเห็นว่า “กลัวจะคิดผิด” เพราะ “ย่อมต้องมีอินเตอเรสร่วมกัน ย่อมเปนไปในเขตแดนที่ ติดต่อกัน” ๓๗ นอกจากนี้ จีนยังส่ง “ข้าหลวง” มายังประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และไทยใน พ.ศ. ๒๔๕๐ เพื่อตรวจสภาพทางการค้าและศึกษาสภาพคนจีนในประเทศต่าง ๆ ผู้แทนทางการค้าได้เข้าเฝ้าพระบาท สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวด้วย แต่ไทยถือว่าข้าหลวงจีนไม่ใช่ผู้แทนทางการทูตที่จะมาเจรจา เรื่องการทูตหรือการเมืองกับไทย และไทยแสดงนโยบายชัดเจนว่า จะไม่มีการท� ำสนธิสัญญาและ ตั้งสถานกงสุล เพราะไทย “ปกครองจีนที่มาอยู่ในเมืองเราดีเท่าคนของเราเองแล้ว” ๓๘ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงผัดผ่อนที่จะไม่ให้มีการท� ำสนธิสัญญาและการ ตั้งกงสุลในไทย ก็เพราะถ้ามีการท� ำสนธิสัญญา จีนก็คงเรียกร้องสิทธิสภาพนอกอาณาเขต คนจีนในไทย ซึ่งมีจ� ำนวน ๓๖๐,๐๐๐ คน ตามที่กรมหลวงด� ำรงราชานุภาพ (ต่อมาคือ สมเด็จฯ กรมพระยาด� ำรงราชานุภาพ) ประมาณใน พ.ศ. ๒๔๕๓ ก็จะเป็นสับเยกต์หรือคนในบังคับจีน กงสุลจีนก็จะยื่นมือเข้ามายุ่งเกี่ยวและ ขอสิทธิพิเศษให้กับคนของตน ซึ่งเป็นเรื่องที่พระองค์ไม่ต้องการ เพราะต้องการปกครองคนจีนในไทยเอง นอกจากนั้น จีนก็คงเรียกร้องภาษีขาเข้า-ออก เหมือนชาติตะวันตก ซึ่งทุกเรื่องที่กล่าวมา พระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงด� ำเนินการและได้ผลไปบ้างแล้ว เมื่อคนจีนในกรุงเทพฯ นัดหยุดงานในวันที่ ๑-๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๕๓ เพื่อประท้วงการที่รัฐบาล ไทยเก็บเงิน “ค่าราชการ” จากคนจีนเพิ่มเป็นปีละ ๖ บาทซึ่งเท่ากับคนไทยว่ามากไป ไทยก็ด� ำเนินการ จัดการกับปัญหาเอง ถ้าหากมีความสัมพันธ์ทางการทูตและมีกงสุลจีน จีนคงยื่นมือเข้ามาแทรกแซงด้วย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงยึดมั่นกับนโยบายผัดผ่อนการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการ ทูตกับจีน ในวันที่ ๑๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๕๓ “ไม่ใช่ความร้อนรนฝ่ายข้างเรา” หลังจากนี้เพียง ๙ วัน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคต ส่วนทางจีน ก็เป็นระยะสุดท้ายของราชวงศ์ชิง อีกไม่ถึง ๑ ปี (ขาดไป ๔ วัน นับถึงวันที่ ๑๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๕๔) ๓๖ พลกูล อังกินันทน์. บทบาทชาวจีนในประเทศไทยในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว . หน้า ๒๐๘-๒๑๐, Junko Koizumi. op.cit. pp. 61-62 สจช. เอกสาร ร.๕. สบ. ๑๖.๔.๓/๒๔ สัญญาจีนกับไทย ๓๗ สจช. เพิ่งอ้าง . พระราชหัตถเลขาถึงกรมหลวงเทวะวงศ์วโรปาการ ลงวันที่ ๑๗ เมษายน ร.ศ. ๑๒๘ (พ.ศ. ๒๔๕๒) ๓๘ พลกูล อังกินันทน์. เล่มเดิม . หน้า ๒๑๓ ๓๙ เพิ่งอ้าง . หน้า ๒๑๔
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=