วารสารปี-40-ฉบับที่-3-resize
ไม่ไปจิ้ มก้อง : ไทยยุติ ความสั มพั นธ์กั บจี น สมั ยรั ชกาลที่ ๔ - รั ชกาลที่ ๕ 98 The Journal of the Royal Society of Thailand Vol. 40 No. 3 Jul-Sep 2015 ประเทศใหญ่และมีอ� ำนาจแต่เดิมมา อีกทั้งในเมืองไทยก็มีคนจีนอพยพเข้ามามาก มีทั้งท� ำคุณประโยชน์ และก่อความไม่สงบ เป็นอั้งยี่ในบ้านเมือง ประกอบกับช่วงเวลานั้น จักรวรรดินิยมตะวันตกก็คุกคาม เพื่อนบ้านของไทยอย่างหนัก จนเป็นที่หวาดเกรงกันว่า ไทยก็อยู่ในภาวะอันตรายอย่างยิ่ง ดังที่คณะเจ้านาย และข้าราชการที่สถานทูตประจ� ำกรุงลอนดอนและกรุงปารีสกราบทูลถวายความเห็นในปลาย พ.ศ. ๒๔๒๗ จีนขอท� ำสนธิสัญญาไทย “ผัดผ่อน”* (พ.ศ. ๒๔๒๗-๒๔๕๓) นับแต่ พ.ศ. ๒๔๒๗ เรื่องทวงก้องดูจะลดความส� ำคัญลง แต่จีนยังพยายามบอกให้ไทยรู้ว่า จีนมี ความส� ำคัญต่อไทยมาก ทั้งเป็นประเทศใหญ่ มีประชากรมากและมีความมั่งคั่ง จีนเปรียบได้เหมือนเป็น พี่ใหญ่ของไทย ซึ่งไทยควรให้ความส� ำคัญ ดังที่ราชทูตจีนบอกราชทูตไทยประจ� ำกรุงลอนดอนเมื่อเดือน มีนาคม พ.ศ. ๒๔๒๘ ๓๔ (ค.ศ. ๑๘๘๖) ซึ่งราชทูตไทยชี้แจงว่า ไทยให้ความส� ำคัญกับความสัมพันธ์ระหว่าง ไทยกับจีนมาก แต่การที่จีนถือว่า เครื่องราชบรรณาการที่ไทยมอบให้จีนเป็นการยอมอ่อนน้อมเป็นเมืองขึ้น ของจีนนั้นไม่ถูกต้อง เพราะเครื่องราชบรรณาการเป็นเสมือน “ของขวัญ” เท่านั้น ความสัมพันธ์ระหว่าง ไทยกับจีนควรอยู่บนฐานะที่เท่าเทียมกัน เหมือนที่ไทยมีความสัมพันธ์กับประเทศตะวันตก ความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีนในระดับสูงยังไม่มีความคืบหน้า แต่สถานการณ์เกี่ยวกับคนจีน ในไทยมีความยุ่งยากและซับซ้อนมากขึ้น จากการที่คนจีนรวมตัวเป็นอั้งยี่ หลายกลุ่มต่อสู้กันเองในหลายที่ เช่น ที่กรุงเทพฯ ธนบุรี จันทบุรี ท� ำให้ทางราชการต้องใช้ก� ำลังเข้าปราบปราม และประกาศใช้ “พระราช บัญญัติว่าด้วยอั้งยี่ ร.ศ. ๑๑๖” (พ.ศ. ๒๔๔๐) เพื่อควบคุมอั้งยี่ทั้งหลาย ๓๕ ขณะเดียวกันราชวงศ์ชิงให้ความ สนใจชาวจีนโพ้นทะเลมากขึ้น เพราะเป็นแหล่งสนับสนุนการปฏิวัติ (เก๋อมิ่ง หรือเก๊กเหม็ง) ของ ดร.ซุน ยัตเซ็น เพื่อโค่นล้มราชวงศ์ชิง ใน พ.ศ. ๒๔๔๙ ราชทูตจีนประจ� ำฝรั่งเศสเรียกร้องให้รัฐบาลจีนท� ำสนธิสัญญากับ ตุรกี เปอร์เซีย และสยาม ท� ำให้ทูตจีนเริ่มเจรจากับราชทูตไทยทั้งที่กรุงลอนดอนและกรุงปารีส เรียกร้อง ให้มีความสัมพันธ์ทางการทูตต่อกัน ทั้งจีน ญี่ปุ่น ไทย เพื่อร่วมมือและป้องกันตนเองร่วมกัน ข้อเสนอของจีน ไปไกลถึงขนาดที่ว่าควรจัดตั้งเป็น “เฟเดอเรชั่น” (Federation - สหพันธรัฐ) แต่นโยบายของพระบาท * ค� ำผัดผ่อน เป็นค� ำที่พลกูล อังกินันทน์ ใช้ในผลงานส� ำคัญของเขา ๓๔ Junko Koizumi. “Between Tribute and Treaty : Sino – Siamese Relations from the Late Nineteenth Century to the Early Twentieth Century” in Negotiating Asymmetry : China’s Place in Asia . Anthony Reid and Zheng Yangwen (Editors). pp. 56-57 ๓๕ ดูรายละเอียดใน พลกูล อังกินันทน์. บทบาทชาวจีนในประเทศไทยในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว. ศุภรัตน์ เลิศพาณิชยกุล. “สมาคมลับอั้งยี่ในประเทศไทย พ.ศ. ๒๓๖๗-๒๔๕๓” ในอักษรศาสตร์นิพนธ์ ๑. วิลาสวงศ์ พงศะบุตร และคณะ (บรรณาธิการ). หน้า ๓๒๗-๓๗๕
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=