วารสารปี-40-ฉบับที่-3-resize

97 รองศาสตราจารย์วุฒิ ชั ย มูลศิ ลป์ วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๐ ฉบับที่ ๓ ก.ค.-ก.ย. ๒๕๕๘ จัดการรักษาบ้านเมืองให้แขงแรงดีแล้ว เรื่องจีนทวงก้องนั้นไม่ต้องวิตกเลย จีนไม่มีอ� ำนาจภอที่จะไปรบ เมืองอื่นในเวลานี้เปนแน่ แลที่ฝรั่งเศสจะยุแหย่ให้จีนทวงก้องนั้น ก็ยังไม่มีช่องที่จะคบคิดกับจีนได้...” ๓๒ แต่ก่อนที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจะได้รับหนังสือกราบทูลของพระองค์เจ้า ปฤษฎางค์ที่กล่าวข้างต้น ในปลายเดือนมิถุนายน พ.ศ. ๒๔๒๗ ก็ทรงมีพระราชหัตถเลขาถึงพระองค์เจ้า ปฤษฎางค์อีกว่า ได้ทรงเตรียมการป้องกันจีน เผื่อจีนคิดจะใช้ก� ำลังกับไทย ซึ่งพระองค์เจ้าปฤษฎางค์ กราบทูลในวันที่ ๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๒๗ ว่า เห็นด้วย ดังนี้ “มีความยินดีเปนล้นพ้นฯ ที่ได้ทราบเกล้าฯ เรื่องจีนทวงก้องว่าเปนการไม่หนักหนา เปนที่เข้าใจไปเรื่องหนึ่ง แต่การที่ได้โปรดเกล้าฯ ให้จัดการป้องกัน เรื่องจีนที่ท� ำให้มีเหตุก่อการป้องกันขึ้นนั้น คิดมากว่าเวลานี้จะไม่เปนที่หวาดหวั่นภอที่จะต้องถึงจัดการ ป้องกันแขงแรงก็ดี ที่ได้โปรดเกล้าให้จัดแล้วแลจะคิดจัดอีกต่อไป แลสร้างสมเครื่องศาสตราวุธไว้ ให้พร้อมดีนั้น เปนการระวังไม่ประมาทต่อสัตรู...” ๓๓ พิจารณาท่าทีของไทยในการด� ำเนินนโยบายเกี่ยวกับจีน จนถึงกลางรัชสมัยพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สามารถกล่าวได้ว่า คือไม่อยากส่งก้อง แต่ไม่กล่าวอย่างตรงไปตรงมา หากใช้ วิธีต่อรอง คือเปลี่ยนเมืองท่าที่ขึ้นของคณะราชทูตจากเมืองกว่างโจว ไปขึ้นที่เมืองเทียนจิน โดยที่รู้ดีว่า จีน จะต้องไม่ยอม เพราะผิดธรรมเนียมที่เป็นกฎเกณฑ์ว่า คณะก้องของประเทศใดต้องขึ้นที่เมืองท่าใด ดังที่ กล่าวข้างต้น ขณะเดียวกันแม้จีนจะผ่อนปรนว่า คณะก้องของไทยให้ขึ้นที่เมืองกว่างโจว แล้วไม่ต้องเดินทาง ไปกรุงปักกิ่ง โดยทางการจีนจะน� ำเครื่องราชบรรณาการขึ้นไปกรุงปักกิ่งเอง และน� ำเครื่องราชบรรณาการ ตอบแทนลงมาให้คณะทูตไทย ซึ่งรออยู่ที่เมืองกว่างโจว ซึ่งในลักษณะนี้คณะก้องไทยก็จะไม่มีอันตราย ใด ๆ แต่ข้อผ่อนปรนของจีนเช่นนี้ทางการไทยก็ไม่ยอมรับ จนถึง พ.ศ. ๒๔๒๗ ภายในจีนเอง อ� ำนาจที่เคยมีก็เสื่อมลงไปมากแล้ว และเป็นมังกรที่ไม่มีเรี่ยวแรง เพราะแพ้สงครามชาติตะวันตก ๒ ครั้ง แม้จะปราบกบฏภายในลงได้หมด แต่ความพยายามปรับปรุงประเทศ ตามนโยบาย “เลียนแบบชาติตะวันตก” และ “ท� ำตนเองให้เข้มแข็ง” ก็ไม่ประสบผลส� ำเร็จเท่าที่ควร ซึ่งสะท้อนให้เห็นจากการแพ้ฝรั่งเศสในสงครามเกี่ยวกับเวียดนาม (พ.ศ. ๒๔๒๗-๒๔๒๘, ค.ศ. ๑๘๘๔- ๑๘๘๕) และต่อมาแพ้ญี่ปุ่นในสงครามเกี่ยวกับเกาหลี (พ.ศ. ๒๔๓๗-๒๔๓๘, ค.ศ. ๑๘๙๔-๑๘๙๕) ซึ่งทั้ง ๒ ประเทศ เป็นรัฐบรรณาการของจีนอย่างแท้จริง และแตกต่างจากกรณีของไทย จึงกล่าวได้ว่า พ.ศ. ๒๔๒๗ ซึ่งจีนทวงก้องจากไทยเป็นครั้งสุดท้าย เป็นจุดเปลี่ยนในระเบียบโลก ของจีนที่เกี่ยวกับไทย คือมีการเปลี่ยนท่าทีไปบ้าง แต่ไทยเองก็ยังระมัดระวังและมีความเกรงกลัวจีนที่เป็น ๓๒ ม.ล.มานิจ ชุมสาย (ผู้คัดลอก). ประมวลจดหมายของพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ ราชทูตองค์แรกของไทยประจ� ำทวีปยุโรป . หน้า ๙๕ และ ๙๖ (เสียดายที่ไม่พบพระราชหัตถเลขา) ๓๓ เพิ่งอ้าง หน้า ๑๐๙

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=