วารสารปี-40-ฉบับที่-3-resize

ไม่ไปจิ้ มก้อง : ไทยยุติ ความสั มพั นธ์กั บจี น สมั ยรั ชกาลที่ ๔ - รั ชกาลที่ ๕ 96 The Journal of the Royal Society of Thailand Vol. 40 No. 3 Jul-Sep 2015 “ด้วยกรุงสยามเปนเมืองขึ้นของเมืองจีน ซึ่งได้ส่งบรรณาการมาเสมอ..... แลได้ส� ำแดง ความอ่อนน้อมนับถือมาแต่ก่อนจนบัดนี้.....” ๒๘ แต่ไทยก็ไม่ได้ส่งก้องมาหลายปีแล้ว ขอให้สั่งไปยัง “พระเจ้าแผ่นดินสยามและขุนนางสยาม” ให้ถืออย่างธรรมเนียมที่เคยปฏิบัติมา “แลให้ส่งบรรณาการมา” ๒๙ พระยาโชฎึกราชเศรษฐี เจ้ากรมท่าซ้าย ซึ่งรับผิดชอบเรื่องจีน ได้ตอบจีนว่า ไทยระลึกถึงทาง พระราชไมตรีกับจีนอยู่เสมอ แต่เป็นที่เสียใจเรื่องที่ไทยขอมา คือ คณะราชทูตส่งก้องขอไปขึ้นที่ เมืองเทียนจิน ทางจีนไม่ยินยอม จึง “ไม่ได้จัดราชทูตมาเจริญทางพระราชไมตรีได้ ตามความปรารถนานั้น” ๓๐ แม้ว่าจะมีการตอบเรื่องการทวงก้องของจีน โดยชั้นเชิงทางการทูตและดูว่าการทวงก้องไม่น่ากลัว เท่าใดนัก แต่ก็มีแรงกดดันใหม่ต่อไทยเกิดขึ้นด้วย เพราะในเวลาเดียวกันนี้เริ่มเกิดการสู้รบระหว่างจีน กับฝรั่งเศสด้วยเรื่องตังเกี๋ยหรือเวียดนามตอนเหนือ เพราะจีนไม่ยอมรับสัญญาที่เวียดนามท� ำกับฝรั่งเศส พ.ศ. ๒๔๒๖ (ค.ศ. ๑๘๘๓) ว่า ตังเกี๋ยจะอยู่ภายใต้การอารักขาของฝรั่งเศส โดยจีนถือว่าตังเกี๋ยเป็นรัฐ บรรณาการของตน และยังไปจิ้มก้องจีนอยู่ ประกอบกับในเวลานั้นในจีนกลุ่มนิยมการสงคราม (war party) มีอิทธิพลในการปกครอง จึงหนุนให้มีการท� ำสงครามกับฝรั่งเศส โดยส่งทหารจากมณฑลหยุนหนาน (ยูนนาน) และกว่างซี (กวางสี) เข้าไปในตังเกี๋ย การสู้รบกับทหารฝรั่งเศสเกิดขึ้นในเดือนมีนาคม พ.ศ. ๒๔๒๖ (ค.ศ. ๑๘๘๔) สงครามยืดเยื้อจนถึงฤดูร้อน พ.ศ. ๒๔๒๘ ๓๑ เมื่อสงครามจีน-ฝรั่งเศสเริ่มต้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีความกังวลมากต่อ ท่าทีแข็งกร้าวของจีน ทรงเกรงว่าจีนจะส่งทหารมาเพื่อปราบไทย เพราะไม่ยอมส่งก้อง หลังจากที่จีนทวง ก้องและไทยได้ตอบจีนไปแล้ว โดยในปลายเดือนพฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๒๗ ทรงส่งส� ำเนาแปลหนังสือที่จีน ทวงก้องไปให้พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ ราชทูตไทยประจ� ำทวีปยุโรป เพื่อทรงปรึกษา พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ กราบทูลมาในวันที่ ๑๑ กรกฎาคม ว่า “เรื่องจีนทวงก้องนั้นเหนด้วยเกล้าฯ ตามพระราชด� ำริห์ทุกประการ เปนเพราะพวกวอปาร์ตี้มีอ� ำนาจเปนเสนาบดีขึ้นอีก จึ่งคิดที่จะท� ำการเบียดเบียนไทย...” และ “ถ้าไทย ๒๘ ส� ำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ. เอกสารรัชกาลที่ ๕ . สบ. ๑๖.๔.๓/๕๖ จีนทวงก้อง เม.ย. ๒๔๒๗ ๒๙ เพิ่งอ้าง ๓๐ เพิ่งอ้าง ๓๑ สงครามจีน-ฝรั่งเศสไม่ได้สู้รบเฉพาะในตังเกี๋ย แต่ฝรั่งเศสได้ส่งเรือรบขึ้นไประดมยิงเมืองท่าโดยเฉพาะเมืองฝูโจว ด้วยปืนใหญ่และตอร์ปิโด ท� ำให้เรือรบจีนที่เมืองดังกล่าวจมหมด สุดท้ายจีนมีการท� ำสัญญาเทียนจินกับฝรั่งเศสใน พ.ศ. ๒๔๒๘ (ค.ศ. ๑๘๘๕) จีนยอมรับสัญญาที่ ฝรั่งเศสท� ำกับเวียดนาม นั่นคือฝรั่งเศสเป็นผู้อารักขาตังเกี๋ยและอันนัม

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=