วารสารปี-40-ฉบับที่-3-resize

95 รองศาสตราจารย์วุฒิ ชั ย มูลศิ ลป์ วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๐ ฉบับที่ ๓ ก.ค.-ก.ย. ๒๕๕๘ จากตารางข้างต้น สรุปได้ว่า มีผู้ทูลเกล้าฯ ถวายความเห็นว่า ควรไป ๔ ท่าน ควรรอ ๕ ท่าน และ ไม่ควรไป ๖ ท่าน เหตุผลของความเห็นมีแตกต่างกัน ทั้งอ้างว่าเป็นธรรมเนียมที่ปฏิบัติกันมานาน คอยดู ทีท่าของจีนต่อไป ขัดกับพระราโชบายของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นการเสียเกียรติยศ ของบ้านเมืองซึ่งเป็นเอกราช ถือได้ว่าเป็นความเห็นที่ไม่เด็ดขาด พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงไม่ทรงตอบจีน ๔ ปีต่อมา จีนทวงก้องอีก จึงโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยามหินทรศักดิ์ธ� ำรง เจ้าพระยา พลเทพ และเจ้าพระยาศรีพิพัฒน์ ถวายความเห็น ครั้งนี้เจ้าพระยามหินทรศักดิ์ธ� ำรงทูลเกล้าฯ ถวาย ความเห็นว่า ไม่ควรไป ซึ่งแตกต่างจากคราวก่อนที่ว่าควรรอ ส่วนเจ้าพระยาทั้งสองเห็นว่า ถ้าจีนให้คณะ ก้องไทยขึ้นที่เมืองท่าเทียนจิน ก็จะไป แต่จีนก็ไม่ตอบมา จึงไม่มีการด� ำเนินการใด ๆ ๒๗ จน พ.ศ. ๒๔๒๗ จีนก็ยังไม่เลิกราทวงก้องมาอีก โดย หลี่ หงจาง ข้าหลวงใหญ่มณฑลจื่อลี่* เตือนให้ข้าหลวงมณฑลกว่างตง ทวงก้องจากไทย ความในตอนต้นหนังสือมีว่า ที่ พระนาม/นาม ความเห็น วันทูลเกล้าฯ ถวาย ความเห็น ตารางที่ ๑ ความเห็นเกี่ยวกับการส่งก้องไปจีน พ.ศ. ๒๔๒๐ (ต่อ) ๑๐ เจ้าพระยาภูธราภัย (นุช บุณยรัตนพันธุ์) ควรไป ๘ มิถุนายน ๒๔๒๐ ๑๑ กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ ไม่ควรไป ๑๗ มิถุนายน ๒๔๒๐ ๑๒ พระยากลาโหมราชเสนา (กรับ บุณยรัตนพันธุ์) ควรไป ๑๖ มิถุนายน ๒๔๒๐ ๑๓ สมเด็จฯ กรมพระบ� ำราบปรปักษ์ ไม่ควรไป ๒๑ มิถุนายน ๒๔๒๐ ๑๔ พระยาภาสกรวงศ์ (พร บุนนาค) ไมควร ไป ไม่ปรากฏวันเดือนปี ๑๕ พระยาจรัลยานุกูลมนตรี (จ� ำเริญ บุรณศิริ) ไม่ควรไป ๒๙ มิถุนายน ๒๔๒๐ ที่มา : กองจดหมายเหตุแห่งชาติ. สัมพันธภาพระหว่างไทย - จีน . หน้า ๒๑๐-๒๓๕ ๒๗ เพิ่งอ้าง . หน้า ๒๔๑-๒๔๓. การทวงก้องใน พ.ศ. ๒๔๒๔ ยังไม่ใช่ครั้งสุดท้ายดังที่เข้าใจกัน แต่ครั้งสุดท้ายมีขึ้นใน พ.ศ. ๒๔๒๗ ดังที่ ผู้เขียนพบหลักฐาน และกรมหลวงเทวะวงศ์วโรปการ (ต่อมาคือ สมเด็จฯ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ) ก็ได้กล่าวไว้ว่าคือ ร.ศ. ๑๐๓ (พ.ศ. ๒๔๒๗) อ้างใน พลกูล อังกินันทน์. บทบาทชาวจีนในประเทศไทยในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว. หน้า ๒๐๘ * เอกสารออกเสียง หลี่ หงจาง ว่า หลี ฮองเจียง, หลีฮุงแชง และมณฑลจื่อลี่ว่า เมืองจิตดี

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=