วารสารปี-40-ฉบับที่-3-resize

ไม่ไปจิ้ มก้อง : ไทยยุติ ความสั มพั นธ์กั บจี น สมั ยรั ชกาลที่ ๔ - รั ชกาลที่ ๕ 92 The Journal of the Royal Society of Thailand Vol. 40 No. 3 Jul-Sep 2015 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงทราบการนี้แล้ว ก็กลับพระทัย หาได้ส่งบรรณาการแก่ กรุงปักกิ่งอีกไม่” ๒๐ นี่คือเหตุผลส� ำคัญที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงยกเลิกการส่ง “ก้อง” ไปจีน โดย ทรงเห็นว่า เกียรติยศของพระเจ้าแผ่นดินไทยหรือของบ้านเมืองเป็นเรื่องส� ำคัญ แต่ท� ำไมจึงทรงยกเลิกใน ทันทีทันใด ทั้ง ๆ ที่ก่อนหน้านั้นพระองค์ก็ได้ทรงแต่งราชทูตน� ำเครื่องราชบรรณาการไปถวายจักรพรรดิจีน ในเรื่องนี้น่าจะเป็นไปได้ว่า เพราะราชทูตไทยที่กลับจากจีน ได้พบกับเซอร์จอห์น เบาว์ริง ข้าหลวงอังกฤษ ประจ� ำเกาะฮ่องกง และได้รับค� ำบอกเล่าว่า จีนมองไทยอย่างเป็นรัฐบรรณาการหรือเป็นเมืองขึ้น ประกอบ กับการที่คณะราชทูตไทยถูกพวกโจรหรือพวกกบฏไท่ผิง (ซึ่งก� ำลังก่อการและขยายตัวได้มากในบริเวณจีน ใต้จนกระทั่งยึดเมืองหนานจิงได้) ท� ำการปล้นสมบัติรวมทั้งเครื่องราชบรรณาการที่จีนให้เป็นการตอบแทน ความไม่สงบภายในจีนอันเกิดจากกบฏไท่ผิง เกิดขึ้นหลายปีระหว่าง พ.ศ. ๒๓๙๓-๒๔๐๗ และกินบริเวณ กว้างมาก ท� ำให้พระองค์ใช้เป็นเหตุผลในการไม่ส่งก้องไปจีน นอกจากนี้ สถานการณ์การค้าเปลี่ยนไป คือ “การค้าส� ำเภา” หรือการค้าโดยใช้เรือส� ำเภา ลดความส� ำคัญลง เพราะการเข้ามาของเรือที่มีประสิทธิภาพมากกว่า ทั้งขนาดและความเร็ว คือ เรือก� ำปั่นและ เรือกลไฟ ๒๑  ซึ่งท� ำให้ผลประโยชน์ทางการค้ากับจีนลดลง และหลังจากสงครามฝิ่นจีนถูกบังคับในสนธิ สัญญาหนานจิง ให้เปิดเมืองท่า ๕ เมือง คือ กว่างโจว เซี่ยเหมิน (หรือเอ้หมึง) ฝูโจว หนิงปอ และช่างไห่ (เซี่ยงไฮ้) ซึ่งท� ำให้ชาติตะวันตกติดต่อค้าขายกับจีนได้โดยตรงมากขึ้น จีนยังถูกบังคับให้เปิดเมืองท่าอีกหลายเมือง ในเวลาต่อมา พ่อค้าชาติตะวันตกจึงเข้าถึงสินค้าจีนได้โดยสะดวก ไม่ต้องซื้อที่ไทยอีกต่อไป ในลักษณะ เช่นนี้การค้ากับจีนจึงลดความส� ำคัญลง แต่การค้ากับชาติตะวันตกมีความส� ำคัญมากขึ้น เมื่อไทยมี การท� ำสนธิสัญญากับอังกฤษ (พ.ศ. ๒๓๖๙) และกับสหรัฐอเมริกา (พ.ศ. ๒๓๗๕) ความเปลี่ยนแปลง ดังที่กล่าวมา พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวย่อมทรงทราบดีเป็นแน่ เพราะแม้แต่พระบาทสมเด็จ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. ๒๓๖๗-๒๓๙๔) ยังทรงทราบดี ยังที่มีพระบรมราโชวาทก่อนการเสด็จสวรรคตว่า ให้ระมัดระวังชาติตะวันตก ซึ่งเข้ามาเป็นตัวแปรส� ำคัญแทนพม่าและเวียดนาม จีนทวงก้อง ไทยต่อรอง (พ.ศ. ๒๓๙๖-๒๔๒๗) หลังจากพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงยุติการส่ง “ก้อง” ให้จีนมาหลายปีจน พ.ศ. ๒๔๐๕ จีนส่งพระราชสาส์นแจ้งเรื่องพระเจ้าฮ� ำหองหรือเสียนเฟิงสวรรคต พระเจ้าทองตี้ (ถงจื้อ) ๒๐ เพิ่งอ้าง . หน้า ๔๙๙ ๒๑ เจนนิเฟอร์ เวย์น คุชแมน. เล่มเดิม . หน้า ๑๑๙. สารสิน วีรผล. เล่มเดิม . หน้า ๒๒๑-๒๒๒

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=