วารสารปี-40-ฉบับที่-3-resize

91 รองศาสตราจารย์วุฒิ ชั ย มูลศิ ลป์ วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๐ ฉบับที่ ๓ ก.ค.-ก.ย. ๒๕๕๘ ยุติการไป “จิ้มก้อง” (พ.ศ. ๒๓๙๖) ราว พ.ศ. ๒๓๙๖ หลังจากขึ้นครองราชสมบัติเพียง ๒ ปี พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงประกาศอย่างเด็ดเดี่ยวและกล้าหาญว่า ต่อไปไทยจะไม่แต่งราชทูตน� ำเครื่องราชบรรณาการไปถวาย จักรพรรดิจีนอีกแล้ว โดยประกาศนี้เท่ากับเป็นการพลิกโฉมความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับจีนที่ด� ำเนิน มาถึง ๕๖๑ ปี โดยไม่กลัวว่าจะเกิดผลทั้งโดยทางตรงและทางอ้อมแก่ไทยแต่อย่างใด ท� ำไมพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงตัดสินพระทัยเช่นนั้น ใน “ประกาศเรื่องราชทูต ไปเจริญทางพระราชไมตรี” ทรงบรรยายถึงการเริ่มต้นการติดต่อระหว่างไทยกับจีนว่า เริ่มจากมีพ่อค้า จีนเข้ามาค้าขายกับไทย และปรารถนาจะซื้อสินค้าไทยไปขายที่จีน กษัตริย์ไทยเองก็ปรารถนาจะค้าขาย กับจีนด้วย แต่พ่อค้าจีนกราบทูลว่า “ไทยจะไปค้าขายในเมืองจีนนั้นไม่ได้ ด้วยเหตุว่าพระเจ้าแผ่นดินไทย ยังไม่ได้รู้จักพระเจ้าแผ่นดินจีน.....ถ้าพระองค์จะอยากไปค้าขายที่เมืองจีน จะต้องมีพระราชสาส์นและ เครื่องมงคลราชบรรณาการพอสมควร ให้ทูตไทยออกไปเจริญทางพระราชไมตรี.....” ๑๗ พระราชสาส์น แต่งเป็นภาษาไทย พ่อค้าจีนแปลเป็นภาษาจีน แต่ไม่ตรงกับภาษาไทย กลายเป็นว่า “พระเจ้าแผ่นดินไทย ลุกขึ้นยืนกุ๋ยไปถึงพระเจ้าแผ่นดินกรุงปักกิ่ง ขออ่อนน้อมยอมตัวถวาย เป็นข้าขอบขัณฑเสมาอาณาจักร ของพระเจ้ากรุงปักกิ่ง แลขอถวายเมืองเป็นเมืองก้อง ๓ ปี ครั้งหนึ่ง....” ซึ่งจักรพรรดิจีนก็ยอมรับและ ให้ไทยปฏิบัติตามระเบียบกฎเกณฑ์ของจีน ท� ำให้ไทยค้าขายกับจีนได้ โดย “ไม่มีความกระดากกระเดื่องว่า พวกจีนล่อลวงให้เสียยศ จีนสั่งให้ไปก้องเมื่อไรก็ไปเมื่อนั้น ถูกลวงทั้งก้อง ทั้งซิ่ว ไม่มีอายขายหน้า.... ความโง่เป็นไปทั้งนี้ ต้นเหตุใหญ่ เพราะว่าหนังสือจีนรู้โดยยากที่สุด......” ๑๘ ในประกาศเรื่องราชทูตฯ กล่าวต่อมาว่า มีอยู่ระยะหนึ่ง มีล่ามจีนคนหนึ่งเป็นคนซื่อสัตย์ บอกไทยว่า พระราชสาส์นของไทย ล่ามจีนแต่เดิมแปลไม่ถูกต้อง ไทยเสียหาย ครั้นไทยทราบ ก็หาล่ามจีน ที่ซื่อสัตย์มาแปลพระราชสาส์นให้ข้อความภาษาไทยและภาษาจีนตรงกัน แต่เมื่อไปถึงเมืองกว่างโจว ก็ถูกจีนขู่ว่า ถ้าไทยใช้พระราชสาส์นฉบับที่ไทยแปลเป็นภาษาจีนเอง จีนจะตัดการค้าขาย ทั้งไม่ให้เรือ ค้าขายไทยไปจีน และเรือค้าขายจีนที่มาเมืองไทยก็ห้ามมา ไทยจึงต้องยอมเพราะ “เมืองไทยในเวลานั้น ไม่มีทางค้าขายกับเมืองต่างประเทศฝ่ายทะเล มีแต่เมืองจีนแห่งเดียว” ๑๙ การติดต่อกับจีนจึงเป็นไปใน ลักษณะนี้เป็นเวลา ๕๐๐ ปีเศษ จนเป็นธรรมเนียม เพราะไทยถูกล่อลวง หรือไทยหมายจะพึ่งอ� ำนาจจีน หรือ “ไทยหูสั้น ตาสั้น” จึง “ท� ำให้เสียพระเกียรติยศของพระเจ้าแผ่นดินไทยไปต่าง ๆ” แต่ “ครั้นแผ่นดิน ๑๗ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว. เล่มเดิม. หน้า ๔๙๐ ๑๘ เพิ่งอ้าง. หน้า ๔๙๑ ๑๙ เพิ่งอ้าง. หน้า ๔๙๕

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=