วารสารปี-40-ฉบับที่-3-resize

ไม่ไปจิ้ มก้อง : ไทยยุติ ความสั มพั นธ์กั บจี น สมั ยรั ชกาลที่ ๔ - รั ชกาลที่ ๕ 90 The Journal of the Royal Society of Thailand Vol. 40 No. 3 Jul-Sep 2015 และครองราชย์ยาวนานจะให้การยอมรับฐานะของพระองค์และให้ตราตั้ง เพราะในระบบของจีนการ แย่งชิงราชสมบัติเป็นเรื่องไม่ถูกต้อง (แม้ว่าจริง ๆ แล้ว จีนก็มีการแย่งชิงราชสมบัติทั้งในราชวงศ์เดียวกัน และการโค่นราชวงศ์เดิม) และในกรณีพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก (พ.ศ. ๒๓๒๕-๒๓๕๒) ครองราชสมบัติต่อ หลักฐานจีน (ชิงสือลู่) ระบุว่า พระองค์เป็นพระราชโอรสของสมเด็จพระเจ้าตากสิน มหาราช และใช้แซ่เจิ้ง (หรือ แต้ในภาษาแต้จิ๋ว) พระนามคือ เจิ้งหัว ส่วนพระนามสมเด็จพระเจ้าตากสิน มหาราช คือ เจิ้งเจา* ซึ่งท� ำให้จีนรับรองฐานะของพระองค์โดยไม่มีอุปสรรค และมีการจิ้มก้องตามปกติ ในสมัยรัตนโกสินทร์ จนถึง พ.ศ. ๒๓๙๖ ซึ่งเป็นปีสุดท้ายที่ส่งก้องไทยส่งจิ้มก้องให้จีนรวม ๕๔ ครั้ง ๑๓ ซึ่งนับว่าถี่มาก เฉลี่ยปีครึ่งต่อครั้ง จนกระทั่งจีนได้เตือนไทย ขอให้ส่งจิ้มก้องทุก ๓ ปี ตามกฎเกณฑ์ อย่างเคร่งครัด แน่นอนว่าการค้าในระบบบรรณาการโดยเรือส� ำเภาท� ำให้เศรษฐกิจไทยฟื้นตัวได้จากความ เสียหายอย่างย่อยยับคราวเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ ๒ ได้อย่างรวดเร็วในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธ ยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และรุ่งเรืองในรัชกาลที่ ๒ และรัชกาลที่ ๓ สินค้าส� ำคัญของไทยที่จีนต้องการ มาก เช่น ข้าว ฝ้าย พริกไทย น�้ ำตาล ไม้แดง หนังสัตว์ โดยข้าวเป็นสินค้าส� ำคัญที่สุด ๑๔ ส่วนสินค้าของจีน ที่ไทยซื้อมา เช่น เครื่องเคลือบ ภาชนะทองแดง เครื่องปั้นดินเผา ของไหว้เจ้า (เช่น กระดาษทอง ธูป) ผ้า กระดาษ ๑๕ (ซื้อเข้ามามาก) ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น คนจีนอพยพเข้ามาเมืองไทยเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จากปีละหลายพันคน เป็นปีละเกินหมื่นคน ระหว่างปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๔ ถึงต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๕ ซึ่งเป็นการเพิ่มความ ส� ำคัญในความสัมพันธ์อย่างเป็นทางการ แม้ว่าในบางเวลา ราชวงศ์ชิงมีการควบคุมและจ� ำกัดการค้าขาย กับอาณาจักรทางทะเล และมีการควบคุมพ่อค้าจีนที่ไปค้าขายต่างแดนได้ไม่เกิน ๓ ปี แต่เนื่องจากปัญหา ภายในจีนนับแต่กลางพุทธศตวรรษที่ ๒๔ (ปลายคริสต์ศตวรรษที่ ๑๘) ราชวงศ์ชิงเริ่มเสื่อมอ� ำนาจเกิด กบฏภายใน (คือสมาคมลับดอกบัวขาว และกบฏอื่น ๆ ในเวลาต่อมาโดยเฉพาะกบฏไท่ผิงหรือไต้เผ็ง) การ ฉ้อราษฎร์บังหลวง ภัยธรรมชาติ ประชากรเพิ่มขึ้นมาก แพ้สงครามกับชาติตะวันตกโดยเฉพาะสงคราม ฝิ่น ๒ ครั้ง สาเหตุทั้งหลายดังกล่าว ท� ำให้คนจีนอพยพเข้ามาเมืองไทยมากขึ้นเรื่อย ๆ และประกอบอาชีพ หลากหลาย เช่น เป็นแรงงาน ท� ำสวน ท� ำไร่ ช่างฝีมือ ค้าขาย เจ้าภาษีนายอากร กรมการเมือง เจ้าเมือง เสนาบดี เจ้าสัว ๑๖ ท� ำให้มีความส� ำคัญทั้งทางเศรษฐกิจและการปกครองของไทย * รัชกาลที่ ๒ ที่พระนามตามหลักฐานว่า เจิ้งฝอ และพระนามรัชกาลที่ ๓ และที่ ๔ คือ เจิ้งฝู และเจิ้งหมิง ตามล� ำดับ ๑๓ สืบแสง พรหมบุญ. เล่มเดิม. หน้า ๗๐-๗๑ ๑๔ เจนนิเฟอร์ เวย์น คุชแมน. การค้าทางเรือส� ำเภาจีนสยามยุคต้นรัตนโกสินทร์. ชื่นจิตต์ อ� ำไพพรรณ แปล. หน้า ๖๓ และ ๑๑๑-๑๑๒ ๑๕ เพิ่งอ้าง . หน้า ๗๑-๗๒ ๑๖ วิลเลียม จี. สกินเนอร์. สังคมจีนในไทย : ประวัติศาสตร์เชิงวิเคราะห์. หน้า ๕๗-๕๘

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=