วารสารปี-40-ฉบับที่-3-resize

89 รองศาสตราจารย์วุฒิ ชั ย มูลศิ ลป์ วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๐ ฉบับที่ ๓ ก.ค.-ก.ย. ๒๕๕๘ หลายชาติ และเปอร์เซีย การจิ้มก้องจีนจึงเป็นไปทั้งการยอมรับอ� ำนาจจีนและผลประโยชน์ทางการค้า ทั้งที่ซื้อมาเพื่อใช้ภายในและขายต่อให้ต่างชาติ ซึ่งในเวลานั้นชาติตะวันตกยังติดต่อค้าขายกับจีนได้ อย่างจ� ำกัด โดยจีนทั้งสมัยราชวงศ์หมิงและราชวงศ์ชิงที่ปกครองต่อมา ก� ำหนดให้ชาติตะวันตกท� ำการ ค้าขายที่เมืองกวางตุ้ง (กว่างโจว) และเมื่อหมดฤดูการค้า ต้องไปพ� ำนักที่มาเก๊า จนกระทั่งมีการท� ำสนธิ สัญญาหนานจิง พ.ศ. ๒๓๘๕ (ค.ศ. ๑๘๔๒) ชาติตะวันตกจึงท� ำการค้าได้มากขึ้นในเมืองท่าตามสนธิสัญญา ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจในระบบบรรณาการที่ไทยได้ มีทั้งที่เป็นสินค้าที่ส� ำคัญคือ ผ้าไหม เครื่องเคลือบ และมีช่างผีมือเกี่ยวกับเครื่องเคลือบมาสอน ท� ำให้ไทยสามารถผลิตและส่งไปขายต่างประเทศ แหล่งใหญ่คือเตาเผาที่แม่น�้ ำน้อย จังหวัดสิงห์บุรี ไทยได้เครื่องชั่งตวง วัด จากจีน ท� ำให้การค้าขายสะดวกขึ้น มีชาวจีนเริ่มเข้ามารับราชการและตั้งชุมชนโดยเฉพาะที่อยุธยา การจิ้มก้องหยุดชะงักเมื่อไทยเสีย กรุงศรีอยุธยา พ.ศ. ๒๑๑๒ แต่ได้รับการฟื้นฟูอย่างรวดเร็วในสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช (พ.ศ. ๒๑๓๓-๒๑๔๘) และพระองค์ยังเสนอจะช่วยจีนรบกับญี่ปุ่นที่มารุกรานเกาหลีซึ่งเป็นประเทศราช ของจีน ๑๑ และยังร่วมมือกับจีนปราบพม่าที่ไปโจมตีชายแดนจีนทางมณฑลหยุนหนาน (ยูนนาน) ในภาพรวมการค้าระหว่างไทยกับจีนรุ่งเรืองขึ้นเรื่อย ๆ แม้ว่าบางระยะนโยบายของจีนเปลี่ยน ไปในการห้ามการค้าตามชายฝั่งทะเลมณฑลฝูเจี้ยนและเจ้อเจียง เพราะการปล้นสะดมของโจรสลัดญี่ปุ่น แต่พ่อค้าเอกชนจีนยังมีการติดต่อค้าขายต่อมา และมีความส� ำคัญมากขึ้นเรื่อย ๆ เมื่อพวกแมนจูเข้ายึดครองจีนและตั้งราชวงศ์ต้าชิงหรือเรียกย่อ  ๆ ว่า ราชวงศ์ชิงใน พ.ศ. ๒๑๘๗ (ค.ศ. ๑๖๔๔) ไม่นานนัก ไทยสมัยพระเจ้าปราสาททองเริ่มติดต่อกับจีนขอเปลี่ยนตราค� ำหับ (ตราใช้ ตรวจเมื่อผ่านด่าน เพื่อยืนยันความถูกต้อง) เพื่อจะได้ไปจิ้มก้อง และการค้าก็ได้เริ่มต้นใหม่ คราวนี้ข้าวได้ เป็นสินค้าส� ำคัญของไทยที่ส่งเข้าไปขายในจีน เมื่อจีนเกิดขาดแคลนอาหาร ทั้งนี้มีหลักฐานชัดเจนว่าการ ค้าข้าวเริ่มเมื่อ พ.ศ. ๒๒๖๕ (ค.ศ. ๑๗๒๒) ซึ่งเป็นปีสุดท้ายของจักรพรรดิคังซีผู้ยิ่งใหญ่ และไทยในสมัย พระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ (พ.ศ. ๒๒๕๑-๒๒๗๕) ๑๒  และจากนี้ข้าวที่ส่งออกมีปริมาณมากขึ้นและเป็นส่วน ส� ำคัญในระบบจิ้มก้อง จนกระทั่งก่อนการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ ๒ พ.ศ. ๒๓๑๐ การเสียกรุงศรีอยุธยาใน พ.ศ. ๒๓๑๐ ท� ำให้การถวายจิ้มก้องหยุดชะงักไประยะหนึ่ง แต่แสดง ให้เห็นความส� ำคัญของเรื่องนี้อย่างชัดเจนยิ่งกว่าที่ผ่านมา เพราะเป็นทั้งความมั่นคงทางการเมือง และการ ฟื้นตัวทางเศรษฐกิจในระยะแรก และความรุ่งเรืองของกรุงรัตนโกสินทร์ในเวลาต่อมา สมเด็จพระเจ้าตากสิน มหาราช (พ.ศ. ๒๓๑๐-๒๓๒๕) ทรงเพียรพยายามอยู่กว่า ๑๐ ปี กว่าจักรพรรดิเฉียนหลงที่ยิ่งใหญ่ ๑๑ สืบแสง พรหมบุญ. เล่มเดิม. หน้า ๑๑๙-๑๓๒ ๑๒ สารสิน วีรผล. จิ้มก้องและก� ำไร . พรรณงาม เง่าธรรมสารและคณะ แปล. หน้า ๘๒-๑๐๗

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=