วารสารปี-40-ฉบับที่-4-resize

หลาบ (ตราสาร) : ค� ำจารึกอาชญาของกษัตริย์ล้านนา 76 The Journal of the Royal Society of Thailand Volume 40 Number 4 Oct-Dec 2015 (เป็นค่า) เชา 75 ๑๐๐ (และ) เงินดอก (เป็น) ค่าคาน 76 ๓๐๐ มาเข้าราชโกศ (คลัง) ชุ (ทุก) ปี ครั้นได้ยื่นส่วย 77 ถวายเชาแล้ว ลดเวียก (งาน) ปลดการ (งาน) น�้ ำลึกศึกไกล รั้งมื้อทือ ครัว ก่อรั้วแปลงเวียง ด้านที่ ๒ ขุดคือทือถาง 78 คาค้านป้านปิง 79 ส่งหาบส่งคราว (ลูกหาบ) หญ้าช้างหญ้าม้า อันบ่แม่น รีตแม่นคลองแห่งเขาทั้งหลาย อย่าหื้อท้าวพระยา ขุนบ้าน พ่อเมือง ขุนปัก 80 นายแคว่น ขุนบ้าน นายที่ ท้าวมาลุน ขุนมาใหม่ อย่าได้ข่มเวียกเต็กการ 81 เขาทั้งหลาย ไว้หื้อเขาทั้ง หลายได้เยียะไร่ใส่สวน เก็บส่วยรอม (รวบรวม) เชา (ภาษี) มาเข้าราชโกศพระองค์เรา หื้อ อ้วนหื้อเต็ม อย่าหื้อเหี่ยวแห้งสูญเสีย ได้มีอาชญาตั้งไว้ฉันนี้หั้นแล” 82 75 เชา เป็นภาษีที่ลัวะต้องจ่ายตามการใช้ทรัพยากรหรือที่ได้ทรัพยากร ในที่นี้ ลัวะตอสลุ ต้องน� ำส่งเงินบริสุทธิ์เป็นค่าภาษีที่ชาวลัวะ ไปขุดหาแร่เงินในแผ่นดิน. ตัวอย่าง “ พญาติโลกราชหื้อหมื่นด�้ ำพร้าคต รังเอาเชาเมืองปิง ” (อรุณรัตน์ วิเชียรเขียว. พจนานุกรม ศัพท์ล้านนา เฉพาะค� ำที่ปรากฏในใบลาน. เชียงใหม่ : สุริวงศ์. หน้า ๒๒๑.) และ “สักกพท ๑๐๐๙ ตัว (พ.ศ. ๒๑๙๐) เขาทังหลาย เปนชาวยางเชาน�้ ำมัน กับวัดป่าไผ่หลวงพูคา อันนางท้าวอโนชาราชเทวีโอกาสหยาดน�้ ำไว้กับอารามที่นั้น...” ดูเพิ่มใน อรุณรัตน์ วิเชียรเขียว. ๒๕๕๔. พระพุทธรูปในล้านนา. เชียงใหม่ : ตะวันเหนือ. หน้า ๑๑๐. 76 เงินดอก (เป็น) ค่าคาน เงินดอก หมายถึง เงินที่มีตราดอกจิกประทับรับรองค่าของเงิน คล้ายเงินพดด้วงของอยุธยา, ค่าคาน หมายถึง เสียเงินแทนการเกณฑ์แรงงาน 77 ส่วย รายได้แผ่นดินประเภทหนึ่ง เรียกเก็บเป็นสิ่งของ หรือ เงินตราแทนการเข้าเดือน หรือ รับราชการ, สิ่งของพื้นเมืองที่เมืองหลวง เรียกเกณฑ์จากหัวเมืองเป็นประจ� ำ เพื่อใช้ประโยชน์ราชการ. (พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔. กรุงเทพฯ : นานมี. หน้า ๑๑๘๔). ส่วย ในที่นี้ หมายถึง สิ่งของที่รัฐเรียกเก็บจากราษฎร แทนการเกณฑ์แรงงาน เพื่อใช้ประโยชน์ในราชการ 78 ขุดคือทือถาง หมายถึง ขุดลอก คูเวียง แผ้วถาง (คือ = คูเมือง, ถาง = แผ้วถาง) 79 คาค้าน ป้านปิง ค� ำว่า คาค้าน หมายถึง ใบคาหุ้มโคลน ผูกเป็นปล้อง ๆ น� ำมาเป็นแกนของฝายกั้นน�้ ำ, ค� ำว่า ป้านปิง หมายถึง ซ่อมเหมืองฝายในแม่น�้ ำปิง 80 ขุนปัก หมายถึง ขุนนางหรือผู้มีหน้าที่ปักปันเขตแดน 81 ข่มเวียกเต็กการ หมายถึง ข่มขู่บังคับให้ท� ำงาน 82 ฮันส์ เพนธ์, ศรีเลา เกษพรหม และ อภิรดี เตชะศิริวรรณ. ๒๕๕๐. จารึกบ้านกวน ๒๓๗๔ ใน ประชุมจารึกล้านนา เล่มที่ ๑๒ จารึกในจังหวัดเชียงใหม่ภาคที่ ๔. เชียงใหม่ : สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. หน้า ๒๑๗-๒๒๑.

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=