วารสารปี-40-ฉบับที่-4-resize

อรุณรัตน์ วิเชียรเขียว 73 วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๐ ฉบับที่ ๔ ต.ค.-ธ.ค. ๒๕๕๘ ฟ้าสุทโธที่กวาดต้อนคนไป เขาได้น� ำเอาหลาบเงินของพระนางวิสุทธิเทวีไปด้วย นาหลังเดินทางมาถึงเมือหอด 59 ก็ไม่ได้เข้าเฝ้าฟ้าสุทโธ เขาจึงถอยกลับคืนไปอยู่แคว้นแจ่ม 60 วันหนึ่ง นาหลังได้พบกับนายพวก 61  นายพวกช่วยพา นาหลังไปเฝ้าฟ้าสุทโธ นาหลังได้แสดงหลาบเงินของพระนางวิสุทธิเทวีให้ฟ้าสุทโธทอดพระเนตร ฟ้าสุทโธ ทรงทราบว่าได้ละเมิดพระราชอาชญาของพระนางวิสุทธิเทวีจริงตามหลักฐาน จึงสั่งให้ปล่อยข้าทาสของ วัดราชวิสุทธารามทั้งหมด ฟ้าสุทโธปฏิบัติตามจารีตโบราณของล้านนาคือไม่ละเมิดอาชญาของกษัตริย์ผู้ล่วงลับ ไปแล้ว และถือว่าพระองค์ได้ท� ำบุญเป็นครั้งที่ ๒ การที่ฟ้าสุทโธอนุโลมท� ำตามจารีตดั้งเดิมของล้านนา อาจจะ เพื่อป้องกันชาวล้านนาต่อต้านการปกครองของพม่าก็เป็นได้ ผลการวิจัยพบว่าตลอดระยะเวลา ๒๐๐ ปี ที่พม่าปกครองล้านนา จารีตการปกครองในชุมชน กฎหมาย ประเพณี พิธีกรรม และความเชื่อของชาวล้านนา ไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก 62 เรื่องราวการละเมิดอาชญาของพระนางวิสุทธิเทวีดังกล่าว ปรากฏในคัมภีร์ใบลานที่ ไกรศรี นิมมานเหมินท์ ได้ต้นฉบับใบลานเก่ามาจากหมู่บ้านใกล้เคียงกับวัดราชวิสุทธาราม (วัดบ้านแปะ) จารด้วย อักษรไทนิเทศ ภาษาไทยวน ความว่า ...ยังมีนาหลังผู้ ๑ มาแต่เชียงใหม่ จักเข้าไหว้สาเอา (กับเจ้าฟ้าสุทโท) หื้อได้ ก็บ่ได้ จิ่งตาม ทวยมาตราบเถิงเมืองหอดที่นั้น จักเข้าไหว้สาเอา ก็บ่ได้ มีตาทั้ง ๒ เต็มไปด้วยน�้ ำตา ก็หนี คืนมาเถิง (แคว้น) แจมที่นั้น ก็ล�่ ำเพิง (คิด) หาที่อันจักได้ข้า (ทาส) พระเจ้า (พระพุทธรูป) (กลับ) คืนมานั้นว่า ดั่งชาวกองกูน บ้านญาง แปะบก นี้ก็ยังเป็นข้า (ทาส) พระเจ้าวัดวิสุทธ อารามเชียงใหม่ดังกู (นาหลัง) นี้แล มา กูจักไปเอาจากเขาดูก่อนควรชะแล ดังข้า (ทาส) พระเจ้าวิสุทธ ท่านก็ได้กวาดมาที่นี้ นาหลังวัดก็ไปเซาะหา ก็พบแท้ นายพวกถามว่า “เจ้า นาหลังวัดมีค� ำเคืองใจประโยชน์เยื่องใดมาชา” นาหลังจิ่งบอกประวัติข่าวสารทั้งมวลแต่ ต้นเถิงปลายแก่นายพวกว่า “เยื่องสันใด จักได้ข้า (ทาส) พระเจ้าแห่งเราคืนมาดังเก่า ขอ นายพวกอย่าละ (ทิ้ง) ข้า(พจ้า) เสียพ่องแดว่าอั้น” นายพวกจิ่งถามว่า “เจ้านาหลังมาดีแล อย่าได้เคืองใจเทอะ ข้า(พเจ้า) บ่ละเจ้ากูเสียแล เหตุค� ำมหากษัตริย์เจ้าตั้งไว้เหนือหัวแห่ง 59 เมืองหอด (ฮอด) เป็นเมืองโบราณ ปัจจุบันคือ อำ �เภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ ในอดีตเป็นเมืองชุมทางการค้าทางเรือ และตั้งอยู่บน เส้นทางไปสู่ประเทศพม่า ปัจจุบันประชาชนเมืองฮอดเป็นชาวลัวะและชาวไท 60 ปัจจุบันคือ อ� ำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ ไม่ห่างจากอ� ำเภอฮอด เป็นพื้นที่อุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพยากรธรมชาติและป่าไม้ มีแม่น�้ ำแจ่มไหลผ่าน 61 นายพวก เจ้าพวก หรือ พวก ต� ำแหน่งขุนนางระดับ พวก ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน เช่น ช่างฝีมือ หรือ นายช้าง เป็นต้น ในเมืองเชียงใหม่มีหลักฐานแสดงถึงกลุ่มเหล่านี้ ที่ร่วมกันสร้างวัดมีหลายวัด เช่น วัดพวกช้าง วัดพวกแต้ม (วาด) วัดพวกเพียะ (พิณ หรือ เครื่องดนตรีชนิดหนึ่ง) วัดพวกหงส์ (ช่างท� ำหงส์ตกแต่ง) 62 ดูเพิ่มใน ลัดดาวัลย์ แซ่เซียว. ๒๕๔๕. เรื่องเดียวกัน

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=