วารสารปี-40-ฉบับที่-4-resize
หลาบ (ตราสาร) : ค� ำจารึกอาชญาของกษัตริย์ล้านนา 72 The Journal of the Royal Society of Thailand Volume 40 Number 4 Oct-Dec 2015 ส่วนปูนปั้นรูปหงส์ที่ประดับซุ้มประตูโขงของวัดทั่วไปในล้านนามีลักษณะอ่อนช้อยกว่าลายหงส์ในหลาบเงิน 56 (ดูภาพลายเส้น รูปที่ ๕) อนึ่ง หลาบค� ำและหลาบเงินเท่าที่พบทั้ง ๕ หลาบ เป็นประกาศพระราชโองการถวายคน เป็นข้าทาสกับวัด ๓ หลาบ (อันดับที่ ๑, ๒, ๔) และหลาบค� ำของพระเจ้าบุเรงนอง (อันดับที่ ๓) เป็น พระราชโองการหรือกฎหมายสั่งให้ขุนนางรับไปปฏิบัติ ต่อมาในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น พ.ศ. ๒๓๗๓ เจ้าหลวงพุทธวงศ์ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ ได้ท� ำหลาบเงินตามจารีตของกษัตริย์ล้านนาในอดีต หลาบเงิน ของเจ้าหลวงพุทธวงศ์เป็นประกาศพระโองการหรือกฎหมายเกี่ยวกับการเก็บภาษีในชุมชนชาวลัวะที่บ้านกวน อ� ำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ซึ่งห่างจากเมืองเชียงใหม่ ๑๘ กิโลเมตร และเป็นหลาบเพียงชิ้นเดียวในสมัย รัตนโกสินทร์ หรือ ๒๐๐ ปี ที่ผ่านมา กรณีละเมิดหลาบเงิน ของพระนางวิสุทธิเทวี เมื่อพระนางวิสุทธิเทวีสิ้นพระชนม์ ใน พ.ศ. ๒๑๒๑ เป็นต้นมา พม่าได้ส่งเจ้านายและขุนนางพม่า มาปกครอง ใน ปี จ.ศ. ๙๙๔ (พ.ศ. ๒๑๗๕) พระเจ้าสุทโธธรรมราชา (ฟ้าสุทโธ) 57 มาปกครองล้านนา ฟ้าสุทโธ สั่งให้กวาดต้อนอพยพผู้คนจากเชียงใหม่ไปอยู่ที่เมืองพม่า “... ฟ้าสุทโธได้พรากเอาชาวเมือง (เชียงใหม่) ทั้งข้าพระข้าผีทังมวล ดั่งข้า (ทาส) พระเจ้าวัดกิตติ ท่านก็ได้เอาล่องลงไป (พวก) เขามีความโศกทุกข์เวทนา หาประมาณบ่ได้ ...” ในครั้งนั้นครอบครัวเชื้อสายของข้าทาสวัดราชวิสุทธาราม (บ้านแปะ) ที่พระนางวิสุทธิเทวี ได้ถวายไว้ถูกกวาดต้อนไปด้วย ซึ่งถือว่าฟ้าสุทโธได้ละเมิดพระราชอาชญาของพระนางวิสุทธิเทวี ต่อมา มีเชื้อสายของข้าทาสวัดราชวิสุทธาราม (บ้านแปะ) ที่พระนางวิสุทธิเทวีได้ถวายไว้ถูกกวาดต้อนไปด้วย ซึ่งถือว่า ฟ้าสุทโธได้ละเมิดพระราชอาชญาของพระนางวิสุทธิเทวี ต่อมา มีขุนนางคนหนึ่ง ต� ำแหน่ง “ นาหลัง ” หรือ “ นาหลังวัด ” 58 คนหนึ่งได้ทราบว่าอาชญาของพระนางวิสุทธิเทวีถูกละเมิด จึงได้ชักชวนพรรคพวกออกติดตาม 56 ดูเพิ่มใน พรศิลป์ รัตนชูเดช. ๒๕๓๓. เรื่องเดียวกัน. หน้า ๑๑๕-๑๓๐. 57 เชียงใหม่ล้านนา เสียเอกราชแก่พระเจ้าบุเรงนอง ในสมัยพญาแม่กุ (เมกุฏวิสุทธิวงศ์) ในปี พ.ศ. ๒๑๐๑ พม่านำ �พญาแม่กุไป เมืองพม่า และพระองค์สิ้นพระชนม์ที่พม่า พระนางวิสุทธิเทวีได้ปกครองเชียงใหม่ต่อจากพญาแม่กุ จนถึง พ.ศ. ๒๑๒๑ หลังนั้น พม่าจัดส่งเจ้านายหรือขุนนางพม่าปกครอง เชียงใหม่ล้านนาตกเป็นเมืองขึ้นของพม่านาน ๒๐๐ ปีเศษ ระหว่าง พ.ศ. ๒๑๐๑-๒๓๑๗. ดูเพิ่มใน ลัดดาวัลย์ แซ่เซียว. ๒๕๔๕. ๒๐๐ ปี พม่าในล้านนา. กรุงเทพฯ : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร. 58 นาหลัง หรือ นาหลังวัด ในที่นี้ คงเป็นหัวหน้าหรือผู้ควบคุมดูแลพวกข้าทาสของวัดราชวิสุทธารามในสมัยนั้น และตามเนื้อความ ในใบลาน ตัวเขาอาจจะทาสวัดราชวิสุทธารามด้วย “...ดั่งชาวกองกูนบ้านญาง แปะบก นี้ ก็ยังเป็น (ข้า) ทาสพระเจ้า (พระพุทธรูป) วัดวิสุทธอารามเชียงใหม่ ดังกู (นาหลังวัด) นี้แล...?
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=