วารสารปี-40-ฉบับที่-4-resize
อรุณรัตน์ วิเชียรเขียว 71 วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๐ ฉบับที่ ๔ ต.ค.-ธ.ค. ๒๕๕๘ ในปี พ.ศ. ๒๐๑๕ มีขุนนางเมืองเชียงใหม่ชื่อ นาหลังสุทนคาวิน ได้สร้างพระพุทธรูปประทับยืน ปางอุ้มบาตร เขาได้จารึกค� ำสั่งไว้ที่ฐานพระพุทธรูปว่า เขาขอถวายบ้านที่เขาอยู่ ๓ ห้องนอน ให้กับพระพุทธรูป องค์นี้ 53 ห้ามลูกชายเข้ามาเกี่ยวข้องกับพระพุทธรูปและบ้านหลังนี้ ค� ำสั่งของเขาพระสงฆ์ในเมืองเชียงใหม่ รู้เรื่องนี้ทุกองค์ ถ้าไม่ท� ำตามค� ำสั่ง ขอให้ผู้นั้นพบกับความวิบัติฉิบหาย เท่ากับพระสงฆ์เป็นพยานในทานของเขา “ ...นาหลังสุทนคาวิน มีบ้าน ๓ ห้อง ไว้กับพระยืนที่ตนสร้างใหม่ พระสงฆ์ในเมือง (เชียงใหม่) รู้ชุตน... จิบหายตายวายเด ” 54 เนื่องจากวัดราชวิสุทธารามตั้งอยู่นอกเมืองห่างไกลจากเมืองเชียงใหม่ ประมาณ ๗๐ กิโลเมตร จึงอาจจะไม่สะดวกที่จะท� ำจารึก พระนางฯ จึงพระราชทานหลาบเงินซึ่งอาจจะสะดวกและปลอดภัยกว่า หลักฐานอื่น เพราะเก็บรักษาได้ง่าย หรืออาจจะมีระเบียบจารีตเกี่ยวกับการใช้หลาบค� ำและหลาบเงินของ กษัตริย์ในสมัยนั้น แต่ยังไม่พบหลักฐานชัดเจนเรื่องนี้ จึงหาข้อสรุปไม่ได้ ผู้ได้รับหลาบของกษัตริย์มาต้อง เก็บรักษาหลาบไว้อย่างดีและให้ส่งมอบสืบทอดต่อ ๆ กันไปในชุมชน เพื่อป้องกันขุนนางในท้องถิ่นใช้อ� ำนาจ ละเมิดพระราชอาชญาของพระนางฯ ดังนั้น หลาบเงินของพระนางวิสุทธิเทวีจึงเป็นพระราชอาชญาเฉพาะกิจ ในสมัยนั้น ผู้ใดจะละเมิดอาชญาไม่ได้ บางครั้งจะมีค� ำสาปแช่งด้วย ตัวอย่าง ใน พ.ศ. ๒๐๔๓ พระมหาเทวี พระราชมารดาของพญาเมืองแก้ว กษัตริย์เมืองเชียงใหม่ (พ.ศ. ๒๐๓๘-๒๐๖๙) ได้ถวายทานข้าทาสจ� ำนวน ๑๘ ครอบครัว เป็นข้าทาสของพระพุทธรูปประธาน ในวัดทุ่งแล้ง เมืองพะเยา ผู้ใดปฏิบัติตามอาชญาขอให้พบความเจริญ ผู้ใดละเมิดอาชญาของพระมหาเทวี ขอให้ผู้นั้นได้รับทุกข์ภัย “... ผู้ใด (ท� ำ) ตามอาชญาพระเป็นเจ้าแม่ลูก ธรรมสี่จ� ำพวกจุ่งจ� ำเริญแก่เจ้าไทฝูงนั้น ผู้ใดบ่ครบบ่ย� ำอาชญาพระมหาเทวีเจ้า หื้อต้องทุกข์ฝูงนี้คือ พยาธิ ๙๖ อัน โพย (ภัย) ๒๕ อัน กรรมกง (กงกรรม กงเกวียน) อันกระท� ำแก่คน...จุ่งถึงแก่มันทึน ” 55 จากการวิเคราะห์ลวดลายราชสีห์และหงส์ พรศิลป์ รัตนชูเดช เสนอว่า ลายราชสีห์และหงส์ เป็นลายแบบศิลปะล้านนา ซึ่งต่างจากราชสีห์และหงส์แบบพม่าโดยเปรียบเทียบกับ รูปราชสีห์ที่ฐานชุกชี ในวิหาร น�้ ำแต้ม วัดพระธาตุล� ำปางหลวง จังหวัดล� ำปาง ที่มีลักษณะอย่างราชสีห์ที่ปรากฏในดวงตรา 53 พระพุทธรูปองค์นี้สร้างสำ �ริด ปัจจุบันประดิษฐานที่วัดหมื่นตูม ในกำ �แพงเมืองเชียงใหม่ 54 ฮันส์ เพนธ์. ๒๕๑๙. คำ �จารึกที่ฐานพระพุทธรูปในนครเชียงใหม่. กรุงเทพฯ : คณะกรรมการจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์ สำ �นักนายกรัฐมนตรี. หน้า ๙๖-๙๗. 55 ฮันส์ เพนธ์, พรรณเพ็ญ เครือไทย และ ศรีเลา เกษพรหม. ๒๕๔๖. จารึกวัดทุ่งแล้ง ใน ประชุมจารึกล้านนา เล่ม ๖ จารึกในพิพิธภัณฑ์ เชียงแสน. เชียงใหม่ : สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. หน้า ๑๔๗-๑๔๘.
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=