วารสารปี-40-ฉบับที่-4-resize

หลาบ (ตราสาร) : ค� ำจารึกอาชญาของกษัตริย์ล้านนา 70 The Journal of the Royal Society of Thailand Volume 40 Number 4 Oct-Dec 2015 สุทโธธรรมราชา 48 ฮันส์ เพนธ์ สันนิษฐานว่าเป็นสัญลักษณ์ของพม่าและมอญ 49 พรศิลป์ รัตนชูเดช สันนิษฐาน ว่าเป็นดวงตราของขุนนางผู้จัดท� ำหลาบคือ ขุนนางฝ่ายทหาร (แสนหลวงดาบเรือนดวง) และขุนนางฝ่ายพลเรือน (หมื่นหลวงเชา) เพราะถ้าเป็นดวงตราของพระเจ้าสุทโธธรรมราชา กษัตริย์เชียงใหม่ ที่พม่าส่งมาปกครองล้านนา ดวงตรา (หน้าจีด) ควรจะต้องปรากฏพระนามของกษัตริย์บนครั่งด้วยตามจารีตในสมัยนั้น ส่วนผู้เขียนเห็นด้วย กับอาจารย์พรศิลป์ว่า อาจจะเป็นตราประจ� ำต� ำแหน่งของขุนนางในราชส� ำนัก แต่ไม่ทราบว่าเป็นของผู้ใด ต� ำแหน่งใด? หรืออาจจะเป็นดวงตรา (หน้าจีด) ของแสนหลวงดาบเรือน และหมื่นหลวงเชาก็เป็นได้ ที่ขุนนาง ทั้งสองได้อนุญาตให้ใช้ดวงตราราชสีห์ และตราหงส์ประทับลงบนครั่ง เพราะมีหลักฐานว่า หนังสือราชการ ในสมัยพญาติโลกราช (พ.ศ. ๑๙๘๔-๒๐๓๐) ต้องประทับดวงตราของผู้ออกหนังสือด้วย หนังสือจึงจะสมบูรณ์ ดังนั้น หลาบเงินของพระนางฯ จึงมีดวงตราของกษัตริย์ซึ่งเป็นฝ่ายอาณาจักร และดวงตราของสมเด็จพระสังฆราช ฝ่ายพุทธจักร และดวงตราของขุนนางชั้นสูงตราราชสีห์ และหงส์ยืนบนแท่น ร่วมด้วย 50 พระลัญจกรของสมเด็จพระสังฆราชและดวงตรารูปราชสีห์และรูปหงส์นั้น สันนิษฐานว่า อาจจะ เป็นเสมือนตัวแทนของสมเด็จพระสังฆราชและขุนนางในราชส� ำนัก ผู้ซึ่งเป็นเจ้าของดวงตราและใช้ดวงตราเป็น “พยาน ” ในหลาบเงินซึ่งเป็นพระราชอาชญาของพระนางวิสุทธิเทวี ที่ได้ประกาศการท� ำบุญของพระนางฯ ตามจารีตล้านนาเมื่อกษัตริย์ หรือพระราชวงศ์ หรือขุนนางชั้นสูงท� ำบุญใหญ่นิยมท� ำจารึกปักประกาศ พระราชอาชญา หรือการท� ำบุญไว้ในวัด และจะจารึกชื่อพระสงฆ์หรือขุนนางที่ร่วมรับรู้เสมือนเป็นพยาน 51 ตัวอย่าง รายชื่อของผู้เป็นพยานในการท� ำบุญ ดังนี้ จารึกวัดปราสาท “...มหาสามีวัดพระบวช มหาสามีโสมรังสีวัดพระยืน เถ้าเมืองสรี เถ้าเมืองจินดา พันหนังสือญาณวัง เถิงปาก (นายร้อย) สาคร เจ้าไททังหลายรู้ชุคนแล .” 52 48 ดูเพิ่มใน ไกรศรี นิมมานเหมินท์. ๒๕๓๓. เรื่องเดียวกัน. หน้า ๑๑. 49 ฮันส์ เพนธ์, ศรีเลา เกษพรหม และ อภิรดี เตชะศิริวรรณ. ๒๕๕๐. เรื่องเดียวกัน. หน้า ๑๕๐. 50 ตำ �นานพื้นเมืองเชียงใหม่ กล่าวถึง ขุนนางสมัยพญาติโลกราช ชื่อ หมื่นเซิงสามไขหาญ ทำ �หนังสือไปขอกองทัพจากอยุธยา มาช่วยเขา หมื่นโลกสามล้านถามว่า ดวงตราที่ประทับในหนังสือนี้ของผู้ใด หมื่นเซิงฯ ตอบว่า “...หน้าจีดนั้นเป็นหน้าจีดข้า (พเจ้า) แท้แล เท่าว่าหนังสือนั้นข้าบ่รู้...” อีกกรณีหนึ่ง ร้อยงั่ว ทะเลาะกับหมื่นม้า ร้อยงั่วทำ �หนังสือปลอมลงชื่อหมื่นม้า และร้อยงั่ว สั่งให้ลูกน้องไปลักดวงตราของหมื่นม้ามาประทับลงในหนังสือนั้นด้วย “ร้อยงั่วจำ � (สั่ง) พวกน้อยไปลักเอาหน้าจีด (ของ) หมื่นม้า มาจีดหนังสือ” อรุณรัตน์ วิเชียรเขียว และ เดวิด วัยอาจ. ๒๕๔๗. เรื่องเดียวกัน. หน้า ๘๐. และ ๙๘. 51 ตัวอย่าง จารึกในการทำ �บุญที่มีชื่อพยาน ดูเพิ่มใน ฮันส์ เพนธ์, ศรีเลา เกษพรหม และ อภิรดี เตชะศิริวรรณ. จารึกวัดปราสาท ใน ประชุมจารึกล้านนา เล่ม ๑. และดูเพิ่ม ใน เล่มที่ ๓, เล่มที่ ๖ และ เล่มที่ ๑๓. เชียงใหม่ : สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัย เชียงใหม่. 52 ฮันส์ เพนธ์, พรรณเพ็ญ เครือไทย และ ศรีเลา เกษพรหม. ๒๕๔๐. เรื่องเดียวกัน. หน้า ๘๙.

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=