วารสารปี-40-ฉบับที่-4-resize

อรุณรัตน์ วิเชียรเขียว 69 วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๐ ฉบับที่ ๔ ต.ค.-ธ.ค. ๒๕๕๘ (บ้าน) รากราน กองขรูน ป่ารวก อมขรูด แปะบก (บ้านแปะ) ใน ๓ ยาง (ป่า) นี้ ทั้งลัวะทั้งไทเขาหากเป็นข้าราชทานมาเฝ้าวัดราช ด้านที่ ๒ วิสุทธาราม ปาง (ที่พัก) มีเจ็ดคน ส่วยเบี้ยค� ำขา 43 ก็ดี ฝุ่นฝอย 44 ย้อนเกิด มีในที่แผ่นดินราชทานทั้งมวลก็ดี ค่านาบ้านแปะ ๕๐๐ เงิน ชู่ (ทุก) ปีก็ดี เป็นราชทานอุปการในวัดราชวิสุทธารามชู่ปี เจ้าแคว่น (เจ้า) ฟ่อนอย่ากลั้ว อย่ากวน อย่าเอาส่งหาบ (ส่งของ) อยู่มื้อ (อยู่เวร) ทือครัว (ส่งของ) อย่าใส่หญ้าช้างหญ้าม้าแก่เขา หื้อไว้ได้การ (งาน) ตามพระราชอาชญา อันใดบ่ใช่การวัด เป็นการศึก เวียก (งาน) รังพา (?) อย่าใส่ อย่าแต่งหื้อแก่เขา เหตุเขาทั้งหลายหากเป็นข้า (ทาส) น�้ ำหยาดราชทาน... 45 หลาบเงินของพระนางวิสุทธิเทวี มีรายละเอียดดังนี้ พระราชลัญจกรของพระนางฯ ด้านหน้าเป็นรูปดอกบัว อยู่ในกรอบวงกลม ด้านหลังมีอักษรว่า “ สมเด็จเจ้าราชวิสุทธิ ” (ดูรูปที่ ๑ และ รูปที่ ๒) พระลัญจกรของสมเด็จพระสังฆราช วัดโลกโมฬี ด้านหน้ามีอักษรว่า “ สมเด็จโลกโมฬีเจ้า ” ด้านหลังมีรูปแท่นแก้ว, ฉัตร, บาตร, ไม้เท้า (ธารพระกร), ธรมกรก? (เครื่องกรองน�้ ำ ๓ ขา) และตาลปัตร หรือพัดมียอดแหลมคล้ายพัดยศประจ� ำต� ำแหน่ง 46 สมเด็จพระสังฆราชพระองค์นี้เป็นพระสงฆ์ฝ่ายลังกาวงศ์เดิม หรือนิกายสวนดอก ซึ่งพระสงฆ์วัดสวนดอกจะถือไม้เท้าเป็นสมณบริขารที่ส� ำคัญอย่างหนึ่ง ซึ่งเป็นธรรมเนียม ของพระสงฆ์ลังกาฝ่ายอรัญวาสีที่สมาทานธุดงควัตร 47 (ดูรูปที่ ๓ และ รูปที่ ๔) ดวงตราอีกดวงหนึ่งไม่ทราบของผู้ใด มีดวงตรา ๒ ด้าน ด้านหน้าเป็นรูปราชสีห์ยืนบนแท่น ด้านหลังเป็นรูปหงส์ยืนบนแท่น (ดูรูปที่ ๕) ไกรศรี นิมมานเหมินท์ สันนิษฐานว่า เป็นดวงตราของพระเจ้า 43 คำ �ขา หมายถึง ทองคำ �เนื้อดี 44 ผลประโยชน์เล็ก ๆ น้อย ๆ 45 ฮันส์ เพนธ์, ศรีเลา เกษพรหม และ อภิรดี เตชะศิริวรรณ. ๒๕๕๐. เรื่องเดียวกัน. หน้า ๑๕๔ 46 พรศิลป์ รัตนชูเดช. “ลายหน้าจีดล้านนายุคพระนางวิสุทธิเทวี” ใน ชมรมล้านนาคดี วิทยาลัยครูเชียงใหม่. ๒๕๓๓. ตามรอยโคลง มังทรารบเชียงใหม่. เชียงใหม่. หน้า ๑๑๕-๑๓๐. 47 ในสมัยนั้นพระสงฆ์ในเมืองเชียงใหม่มี ๒ นิกาย คือ นิกายสวนดอก (ลังกาวงศ์เก่า) และนิกายป่าแดง (ลังกาวงศ์ใหม่) พระพุทธพุกาม ผู้รจนา ตำ �นานมูลศาสนา เป็นพระสงฆ์ฝ่ายป่าแดงเขียนไว้ว่า “ครั้งนั้น ชาวเจ้าในวัดสวนดอกไม้นั้น จักไปทางใด ย่อมถือไม้เท้า ทุกแห่งนั้นแล” ดูเพิ่มใน พรศิลป์ รัตนชูเดช. ๒๕๓๓. เรื่องเดียวกัน. หน้า ๑๑๖.

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=