วารสารปี-40-ฉบับที่-4-resize
อรุณรัตน์ วิเชียรเขียว 67 วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๐ ฉบับที่ ๔ ต.ค.-ธ.ค. ๒๕๕๘ ๔. หลาบเงิน ของพระนางวิสุทธิเทวี พ.ศ. ๒๑๑๐ พระนางวิสุทธิเทวี เป็นกษัตริย์ปกครองเชียงใหม่ ระหว่าง พ.ศ. ๒๑๐๗ ถึง พ.ศ. ๒๑๒๑ และ ทรงเป็นกษัตริย์พระองค์สุดท้ายของราชวงศ์มังราย หลาบเงินของพระนางฯ เป็นหลักฐานเชิงประจักษ์ว่า พระนางฯ ได้ประทานพระราชอาชญาให้แก่ชาวลัวะและชาวไท ๕ หมู่บ้าน ได้แก่ บ้านรากราน บ้านกองขรูน บ้านป่ารวก บ้านอมขรูด และบ้านแปะบก 32 หมู่บ้านทั้งหมดตั้งอยู่ในป่า ๓ ป่า ปัจจุบันชาวลัวะบ้านแปะบก (ปัจจุบันคือ บ้านแปะ) อ� ำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งบรรพบุรุษของพวกเขาเคยเป็นทาสวัดราชวิสุทธาราม มาก่อน ได้เก็บรักษาหลาบเงินนี้ไว้อย่างดีจนถึงปัจุบัน หลาบเงินจารึกความว่า พระนางวิสุทธิเทวีมีรับสั่งในท้องพระโรง เมื่อ พ.ศ. ๒๑๑๐ ว่า ให้คณะขุนนาง ๓ คน ท� ำหลาบเงินจารึกพระราชอาชญาด้วยอักษรไทนิเทศ 33 ภาษาไทยวน แล้วน� ำไปมอบ ให้กับชาวลัวะและชาวไท ๕ หมู่บ้าน ดังกล่าวเพื่อให้หลาบเงินนี้คุ้มครองสิทธิ์แก่ข้า (ทาส) วัดราชวิสุทธาราม 34 ที่พระนางฯทรงสร้าง และได้ถวายคนไว้เป็นทาสวัด เรียกว่า “ ข้าราชทาน ” คณะขุนนางที่จัดท� ำหลาบเงิน 35 ประกอบด้วย แสนหลวงดาบเรือนดวง, หมื่นหลวงเชา และหมื่นต้องแต้มยี พร้อมกับให้ประทับพระราชลัญจกร 32 ในอดีตทั้ง ๕ หมู่บ้านเป็นชาวลัวะ ปัจจุบันเหลือเพียงหมู่บ้านเดียวคือ บ้านแปะบก หรือ บ้านแปะ อำ �เภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ 33 อักษรในล้านนามี ๓ แบบ ได้แก่ อักษรธรรม หรือ ตัวเมือง นิยมใช้จารเรื่องพระพุทธศาสนา อักษรฝักขาม นิยมใช้กับการจารึก และ อักษรไทนิเทศ (ขอมเมือง) ซึ่งได้พัฒนามาจากอักษรฝักขามและอักษรธรรม นิยมใช้เขียนวรรณกรรมทางโลก เช่น โคลงนิราศหริภุญชัย เป็นต้น 34 ปัจจุบัน ชาวบ้านเรียกว่า วัดหลวงบ้านแปะ ตั้งอยู่บ้านแปะ อำ �เภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ ห่างจากเมืองเชียงใหม่ ประมาณ ๗๐ กิโลเมตร ปัจจุบันเป็นหมู่บ้านชาวลัวะ และได้เก็บรักษาหลาบเงินนี้ไว้อย่างดี 35 หลาบเงินที่ผู้เขียนน� ำเสนอในครั้งนี้ เป็นหลาบเงินเก่าแก่ที่มีมาแต่ดั้งเดิม เพราะมีตราพระราชลัญจกรของพระนางวิสุทธิเทวีและ พระลัญจกรของสมเด็จพระสังฆราชผูกติดอยู่ ปัจจุบันชาวบ้านแปะบรรจุหลาบเงินไว้ในหม้อดินเผาปากแคบ เรียกว่า “หม้อเข้าลัวะ” แล้วมอบให้คนที่ชาวบ้านเชื่อถือ ๒ คน น� ำหม้อไปซ่อนไว้ในถ�้ ำนอกหมู่บ้านแปะ ชาวบ้านจะน� ำหลาบเงินออกมาสระสรงและเซ่นไหว้ ทุก ๆ ๓ ปี หรือบางปีฝนแล้ง ชาวบ้านก็จะน� ำหลาบเงินออกมาบวงสรวงเซ่นไหว้ เพื่อขอให้เทวดาอารักษ์ที่รักษาหลาบบันดาล ให้ฝนตก ผู้เขียนเคยไปร่วมพิธีเซ่นไหว้หลาบเงิน ที่บ้านแปะ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๓ (ดูรูปที่ ๖) อนึ่ง พบว่ายังมีหลาบเงินอีกชิ้นหนึ่งที่จารึกเนื้อความเดียวกัน แต่ไม่มีพระราชลัญจกรแต่อย่างใด สันนิษฐานว่า อาจจะมีการคัดลอก หลาบเงินขึ้นมาอีกชิ้นหนึ่งในภายหลัง ? ฮันส์ เพนธ์ สันนิษฐานว่า เดิมหลาบเงินทั้ง ๒ ชิ้นนี้จะเก็บไว้ในหม้อดินเผาที่เดียวกัน คือ ที่บ้านแปะ ต่อมา หลาบเงินชิ้นที่ไม่มีพระราชลัญจกรได้ถูกน� ำไปเก็บรักษาไว้ในถ�้ ำ ที่บ้านถ�้ ำตอง ไม่ห่างจากบ้านแปะ ชาวบ้านถ�้ ำตอง จะน� ำหลาบเงินออกมาสระสรงเซ่นไหว้ทุก ๓ ปี เช่นกัน ดูเพิ่มเติมใน ไกรศรี นิมมานเหมินท์. ๒๕๓๓. “ตราหลวงหลาบเงินของ พระนางวิสุทธิเทวี” ใน ชมรมล้านนาคดี. รวมบทความล้านนาคดีสัญจร : ตามรอยโคลงมังทรารบเชียงใหม่. วิทยาลัยครูเชียงใหม่. หน้า ๑๑. และ ฮันส์ เพนธ์, ศรีเลา เกษพรหม และอภิรดี เตชะศิริวรรณ. ๒๕๕๐. จารึกวัดวิสุทธาราม ๒๑๑๐ ใน ประชุมจารึกล้านนา เล่มที่ ๑๒ จารึกในจังหวัดเชียงใหม่ภาคที่ ๔. เชียงใหม่ : สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. หน้า ๑๕๓-๑๕๕. และ หน้า ๑๗๐-๗๑.
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=