วารสารปี-40-ฉบับที่-4-resize

อรุณรัตน์ วิเชียรเขียว 65 วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๐ ฉบับที่ ๔ ต.ค.-ธ.ค. ๒๕๕๘ พระพุทธเป็นเจ้า (พระพุทธรูป) กับทั้งพระมหาเถรเจ้า ไผ (ใคร) อย่ากลั้วเกล้า (ยุ่งเกี่ยว/รบกวน) ข้าพระ 22 ทั้งหลายฝูงนี้ บ้านฑิตสึกใหม่ให้แถมให้ไว้” 23 จารึกวัดดอนคราม (พย.๒) ที่มา : ประชุมจารึกเมืองพะเยา ๒. หลาบค� ำ ของพญาเมืองแก้วและพระราชมารดา พ.ศ. ๒๐๓๙ พญาเมืองแก้ว กษัตริย์เชียงใหม่ ปกครองเชียงใหม่ พ.ศ. ๒๐๓๘ ถึง พ.ศ. ๒๐๖๘ พบข้อความ ในจารึกวัดปราสาท 24 จารึกด้วยอักษรฝักขาม ภาษาไทยวน ความว่า เจ้าหมื่นเชียงแสนค� ำล้านเป็นเจ้าเมือง เชียงแสนได้สร้างวัดชื่อ วัดปราสาท แล้วให้ขุนนาง ๓ คน น� ำความมากราบทูลพญาเมืองแก้วว่าขอทูลถวาย บุญกุศลในการสร้างวัดปราสาทแด่พญาเมืองแก้วและพระราชมารดา ทั้งสองพระองค์รับสั่งให้ท� ำหลาบค� ำ และจารึกพระราชอาชญาว่า ทั้งสองพระองค์ถวายข้าทาสไว้กับวัดปราสาท จ� ำนวน ๑๐ ครอบครัวมีรายชื่อทาส 22 ข้าพระ หมายถึง ทาสที่ถูกถวายไว้เพื่อปฏิบัติดูแลพระพุทธรูปในวัด ในที่นี้ หมายถึงพระพุทธรูปประธานของวัด 23 สุจิตต์ วงษ์เทศ (บรรณาธิการ), ๒๕๓๘. ประชุมจารึกเมืองพะเยา. กรุงเทพฯ : มติชน. หน้า ๑๐๗. 24 วัดปราสาทตั้งอยู่ในกำ �แพงเมืองโบราณเชียงแสน ตำ �บลเวียง อำ �เภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย จารึกมี ๒ ด้าน จำ �นวน ๒๘ บรรทัด จารึกด้วยอักษรฝักขาม ภาษาไทยวน วัตถุที่จารึกเป็นหินชนวน พบในหรือใกล้ตัวเมืองเชียงแสน ปัจจุบัน จัดแสดงที่พิพิธภัณฑ์ สถานแห่งชาติเชียงแสน. ดูเพิ่มใน ประเสริฐ ณ นคร และคณะ. ๒๕๓๔. เรื่องเดิม. หน้า ๑๐๒-๑๐๓. และ สุจิตต์ วงษ์เทศ (บก). ๒๕๓๘. เรื่องเดียวกัน. หน้า ๑๐๕-๑๐๘.

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=