วารสารปี-40-ฉบับที่-4-resize

หลาบ (ตราสาร) : ค� ำจารึกอาชญาของกษัตริย์ล้านนา 64 The Journal of the Royal Society of Thailand Volume 40 Number 4 Oct-Dec 2015 มหาเทวีผู้เป็นพระราชมารดาของพญายอดเชียงราย ให้คณะขุนนางน� ำหลาบค� ำของพระนางไปมอบให้กับ นางเมืองพะเยา ซึ่งเป็นเจ้าเมืองพะเยาในสมัยนั้น เพื่อแจ้งหรือประกาศให้ทราบว่า มหาเทวีได้ถวายข้าทาส จ� ำนวน ๒๐ ครอบครัว ไว้ปฏิบัติดูแลพระพุทธรูปและพระสงฆ์วัดดอนคราม ในเมืองพะเยา ห้ามทุกคน เข้ามายุ่งเกี่ยวหรือใช้แรงงานข้าทาสเหล่านี้ ความว่า “สิทธิการ (ท� ำให้ส� ำเร็จ) จุลศักราชได้ ๘๕๐ (พ.ศ. ๒๐๓๑) ตัว ในปีวอก ไทยว่าปีเปิกสัน 7 เดือนยี่ 8 แรม ๕ ค�่ ำ ไทยว่าวันกดเส็ด 9 เม็ง 10 วันอาทิตย์ ได้ฤกษ์ ๙ ตัว ชื่อสมณฤกษ์ 11 แล พระมหาราชเทวีเจ้าแผ่นดิน หื้อล่ามบุญเด็กชาย 12 กับพันค� ำ 13 คน (ของ) แม่คิง (แม่ตัว) พระกับคน 14 เจ้าหมื่นวาปาน 15 หื้อเอาตราหลาบค� ำมาเถิงนางเมืองพะเยา นางเมืองพะเยา หื้อพันนาหลัง 16 กับเถ้าเมือง 17 กับพันเชิงคดีแคว้น กับพันเชิงคดีหลวง 18 กับพันพอน กับ นายหนังสือแคว้น 19 กับคน (ของ) พันหนังสือพื้นเมืองพิง 20 กับคน (ของ) เถ้าเมือง น� ำมาไว้กับ วัดดอนครามแล พระมหาราชเทวีเจ้า หื้อไว้คน (ทาส) กับ (วัด) ๒๐ (ครอบ) ครัว รักษา 21 7 เปิกสัน คือ เปิก = เบญจศก, สัน = ปีวอก จึงเป็นปีวอกเบญจศกของไทยฝ่ายเหนือ ตรงกับ ปีวอกสัมฤทธิศกของไทยฝ่ายใต้ 8 เดือนยี่ คือ เดือนยี่ของไทยฝ่ายเหนือ ตรงกับเดือน ๑๒ ของไทยฝ่ายใต้ 9 วันกดเส็ด คือ เป็นชื่อศก และชื่อปีของไทยฝ่ายเหนือ, กด คือ สัปตศก, เส็ด คือ ปีจอ แต่ในที่นี้ ใช้เป็นชื่อวันของไทยชนิดหนึ่ง 10 เม็ง เป็นชื่อชนชาติ คือชาติเม็ง ดูเพิ่มใน อรุณรัตน์ วิเชียรเขียว. ๒๕๓๕. “เม็ง-ชาติ” ใน สารานุกรมไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ตอนที่ ๔๕๔ มูลบทบรรพกิจ-เม่งจื๊อ. หน้า ๑๔๙๔๘-๑๔๙๕๘. 11 สมณฤกษ์ เป็นชื่อดาวคนจำ �ศีล หรือ ดาวคนหามหมู 12 ล่ามบุญเด็กชาย “ล่ามบุญ” ในที่นี้ เป็นตำ �แหน่งขุนนางทำ �หน้าที่ป่าวประกาศเกี่ยวกับกิจกรรมพระพุทธศาสนาหรืองานทำ �บุญ สังกัดขุนนางระดับสูงตำ �แหน่ง “เด็กชาย” ตั้งแต่สมัยพญาติโลกราช (พ.ศ. ๑๙๘๔-๒๐๓๐) เป็นต้นมา ขุนนางระดับสูงในล้านนา มีทั้งหมด ๔ ตำ �แหน่ง ได้แก่ แสนหลวง สามล้าน จ่าบ้าน และ เด็กชาย 13 พันคำ � ขุนนางระดับ “นายพัน” (ปกครองไพร่ ๑,๐๐๐ คน หรือ ปกครองนายร้อย ๑๐ คน) ชื่อตัวว่า คำ � 14 พระ หมายถึง พระสงฆ์ คน หมายถึง ฆราวาส 15 เจ้าหมื่นวาปาน ขุนนางระดับ “นายหมื่น” ปกครองไพร่ ๑๐,๐๐๐ คน หรือ ปกครอง “นายพัน” ๑๐ คน เป็นราชนิกูล จึงมี คำ �นำ �หน้าตำ �แหน่งว่า “เจ้า” ชื่อตัวว่า วาปาน 16 พันนาหลัง ขุนนางระดับสูง ทำ �หน้าที่ช่วยราชการกษัตริย์ พบว่ามีอีก ๒ ตำ �แหน่งคือ “พันนาซ้าย” และ “พันนาขวา” 17 เถ้าเมือง ขุนนางระดับสูง เป็นผู้ทรงคุณวุฒิ หรือเป็นผู้อาวุโสของบ้านเมือง ทำ �หน้าที่ให้คำ �ปรึกษา ในที่นี้ เถ้าเมืองเป็นพยาน ในการทำ �บุญถวายข้าทาสให้วัด 18 พันเชิงคดีแคว้น ขุนนางมีหน้าที่เกี่ยวกับคดีความในแคว้นหรือเมือง, พันเชิงคดีหลวง ขุนนางทำ �หน้าที่เกี่ยวกับคดีความในเมืองหลวง 19 นายหนังสือแคว้น ขุนนาง มีหน้าที่เกี่ยวกับหนังสือหรือเอกสารของแคว้น/เมือง 20 พันหนังสือพื้นเมืองพิง ขุนนางระดับ “นายพัน” ทำ �หน้าที่เกี่ยวกับหนังสือพื้นเมืองเชียงใหม่ 21 รักษา หมายถึง อยู่ปฏิบัติรับใช้ และดูแลพระพุทธรูป

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=