วารสารปี-40-ฉบับที่-4-resize
อรุณรัตน์ วิเชียรเขียว 63 วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๐ ฉบับที่ ๔ ต.ค.-ธ.ค. ๒๕๕๘ เฉพาะกิจ และ ๒. ใช้จารึกคาถา เช่น คาถาหัวใจพระเจ้า 4 คาถาส� ำหรับบรรจุในเจดีย์ 5 บทความนี้ผู้เขียนขอเสนอ เฉพาะเรื่องราวของ “ หลาบ ” จารึกอาชญาหรือค� ำสั่งของกษัตริย์ในอดีตดังนี้ หลาบ : กฎหมายเฉพาะกิจ จากหลักฐานประวัติศาสตร์พบว่า กษัตริย์เชียงใหม่มีรับสั่งให้ท� ำหลาบทั้งหลาบทองค� ำ (หลาบค� ำ) และหลาบเงินหลายร้อยปีมาแล้ว ตั้งแต่สมัยราชวงศ์มังราย (พ.ศ. ๑๘๓๙-๒๑๐๑) จนถึงสมัยเจ้าผู้ครองนคร หรือสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น (พ.ศ. ๒๓๗๓) เท่าที่พบในหลักฐานต่าง ๆ หลาบมีจ� ำนวน ๕ หลาบ เป็นหลาบทองค� ำ ๓ หลาบ และหลาบเงิน ๒ หลาบ หลาบทองค� ำ ๓ หลาบเป็นหลาบที่พบแต่เพียงข้อความ ในจารึกและต� ำนาน ส่วนหลาบเงินทั้ง ๒ หลาบ เป็นหลักฐานเชิงประจักษ์ที่มีอยู่จริงและผู้รับหลาบเงิน ทั้งชาวลัวะ ที่บ้านแปะ อ� ำเภอจอมทอง และ ชาวลัวะที่บ้านกวน อ� ำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ ได้เก็บ รักษาหลาบเงินไว้อย่างดีจนถึงปัจจุบัน ถือเป็นหลักฐานส� ำคัญทางประวัติศาสตร์ที่ช่วยให้เข้าใจถึงการใช้อ� ำนาจ/ อาชญาหรือพระราชโองการของกษัตริย์ในอดีต ผู้เขียนขอเสนอหลาบเท่าที่ผู้เขียนค้นพบ ๕ หลาบ ดังนี้ ๑. หลาบค� ำ (ทองค� ำ) ของพระราชมารดาพญายอดเชียงราย พ.ศ. ๒๐๓๑ (จารึก) ๒. หลาบค� ำ (ทองค� ำ) ของพญาเมืองแก้วและพระราชมารดา พ.ศ. ๒๐๓๙ (จารึก) ๓. หลาบค� ำ (ทองค� ำ) ของพระเจ้าบุเรงนอง หลังยึดเมืองเชียงใหม่ พ.ศ. ๒๑๐๑ (ต� ำนาน) ๔. หลาบเงิน ของพระนางวิสุทธิเทวี กษัตริย์เชียงใหม่ พ.ศ. ๒๑๑๐ (หลาบจริง) ๕. หลาบเงิน ของเจ้าหลวงพุทธวงศ์ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ พ.ศ. ๒๓๗๓ (หลาบจริง) ๑. หลาบค� ำ ของพระราชมารดาพญายอดเชียงราย พ.ศ. ๒๐๓๑ หลาบค� ำ (ทองค� ำ) ของมหาเทวีผู้เป็นพระราชมารดาของพญายอดเชียงราย ซึ่งตามศักราช ในจารึกถือว่าหลาบค� ำชิ้นนี้มีอายุเก่าที่สุด พญายอดเชียงรายเป็นกษัตริย์เชียงใหม่ ระหว่าง พ.ศ. ๒๐๓๐ ถึง พ.ศ. ๒๐๓๘ จารึกวัดดอนคราม 6 (พย.๒) จารึกด้วยอักษรฝักขาม ภาษาไทยวน ความว่า ใน ปี พ.ศ. ๒๐๓๑ 4 ชาวล้านนาเชื่อว่าพระพุทธรูปมีชีวิต จึงก่อให้เกิดประเพณีการใส่หัวใจพระเจ้า ปอด ลำ �ใส้ ฯลฯ และจะใส่แผ่นหลาบจารึกคาถา เรียกว่า “คาถาหัวใจพระเจ้า” ความเชื่อนี้ ดูเพิ่มใน อรุณรัตน์ วิเชียรเขียว. ๒๕๕๔. พระพุทธรูปในล้านนา. พิมพ์ครั้งที่ ๒, เชียงใหม่ : ตะวันเหนือ. หน้า ๙๓-๑๐๐. 5 อรุณรัตน์ วิเชียรเขียว (ปริวรรต). ๒๕๓๗. ปกิณกะจากพับสา. เชียงใหม่ : สถาบันราชภัฏเชียงใหม่. พับสาหน้าที่ ๑๗. “...จักสร้าง แปลงยังมหาเจดีย์เจ้าแล...คาถาแต้มใส่หลาบเงิน ใส่ยอดพระธาตุแล...” 6 จารึกวัดดอนคราม (พย.๒) พ.ศ. ๒๐๓๑ รูปใบเสมา วัตถุที่จารึกหินชนวน จารึกด้านเดียว ๑๔ บรรทัด พบที่วัดสันพระเจ้าดำ � (ร้าง) ตำ �บลศรีถ้อย อำ �เภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา ปัจจุบันอยู่ที่วัดศรีโคมคำ � อำ �เภอเมือง จังหวัดพะเยา จารึกหลักนี้ ประสาร บุญประคอง อ่านและอธิบายคำ � ดร.ประเสริฐ ณ นคร ให้คำ �ปรึกษาและตรวจแก้. ดูเพิ่มใน ประเสริฐ ณ นคร และคณะ. ๒๕๓๔. จารึกล้านนา ภาค ๑ เล่ม ๑. จารึกจังหวัดเชียงราย น่าน พะเยา และแพร่. กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้งกรุ๊พ, หน้า ๑๐๒-๑๐๓. และ สุจิตต์ วงษ์เทศ (บก). ประชุมจารึกเมืองพะเยา. ๒๕๓๘. กรุงเทพฯ : มติชน. หน้า ๑๐๕-๑๐๘.
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=