วารสารปี-40-ฉบับที่-4-resize
The Journal of the Royal Society of Thailand Volume 40 Number 4 Oct-Dec 2015 หลาบ (ตราสาร) : ค� ำจารึกอาชญาของกษัตริย์ล้านนา 1 อรุณรัตน์ วิเชียรเขียว ภาคีสมาชิก ส� ำนักธรรมศาสตร์และการเมือง ราชบัณฑิตยสภา อาชญาหรือพระราชโองการของกษัตริย์ถือเป็นกฎหมายประเภทหนึ่งในอดีต ในบางกรณีกษัตริย์ล้านนา จะจารึกอาชญาหรือพระราชโองการลงบนแผ่นเงินหรือทองค� ำเป็นค� ำสั่งเฉพาะกิจ ภาษาล้านนาเรียกว่า “ หลาบ ” หรือ “ ตราหลาบ ” (ดูรูปที่ ๑) ภาษาไทยกลางเรียกว่า “ ตราสาร ” 2 “ หลาบ ” คือแผ่นโลหะที่ท� ำเป็นแผ่นคล้าย ใบลานหากท� ำด้วยทองค� ำเรียกว่า “ หลาบค� ำ ”และท� ำด้วยเงินเรียกว่า “ หลาบเงิน ” 3 หลาบแบ่งตามวัตถุประสงค์ การใช้งานได้ ๒ ประเภท คือ ๑. ใช้จารึกพระราชอาชญาของกษัตริย์เฉพาะกรณีหรืออาจกล่าวได้ว่าเป็นกฎหมาย 1 บทความบรรยายในการประชุมสำ �นักธรรมศาสตร์และการเมือง ราชบัณฑิตยสภา เมื่อวันที่ ๒ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๘. ผู้เขียน ขอขอบพระคุณ อาจารย์ ไกรศรี นิมมานเหมินท์ อดีตประธานชมรมล้านนา ที่พาสมาชิกชมรมไปร่วมพิธีเซ่นไหว้หลาบเงินของ พระนางวิสุทธิเทวี ที่บ้านแปะ อำ �เภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ มกราคม ๒๕๓๓. 2 ประเสริฐ ณ นคร ให้ความหมายว่า คำ �ว่า “หลาบ” คือ ตราสาร. สุจิตต์ วงษ์เทศ (บก). ประชุมจารึกเมืองพะเยา. ๒๕๓๘. กรุงเทพฯ : มติชน. หน้า ๑๐๘. ในบทความนี้ ขอใช้คำ �ว่า “หลาบ” 3 อรุณรัตน์ วิเชียรเขียว. ๒๕๕๔. พจนานุกรมคำ �จารึกล้านนา, สถาบันภาษา ศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่, หน้า ๕๗๓. บทคัดย่อ พระราชโองการของกษัตริย์ล้านนาในอดีตเมื่อ ๕๐๐ ปีมาแล้ว ถือเป็นกฎหมายประเภทหนึ่ง หรือเป็นกฎหมายเฉพาะกิจ พระราชโองการนี้ถูกจารึกลงบนแผ่นทองค� ำหรือแผ่นเงิน เรียกว่า “หลาบค� ำ” หรือ “หลาบเงิน” ส่วนใหญ่หลาบใช้จารึกพระราชโองการประกาศเกี่ยวกับพระราชกรณียกิจ ด้านพระพุทธศาสนา เช่น การถวายทาสไว้กับวัด หลาบที่มีอายุเก่าแก่ที่สุดเป็นหลาบทองค� ำของ พระราชมารดาของพญายอดเชียงราย กษัตริย์เชียงใหม่ จารึกเมื่อ พ.ศ. ๒๐๓๑ นอกจากนี้ยังพบ หลาบทองค� ำที่จารึกพระราชโองการเพื่อให้ขุนนางน� ำไปปฏิบัติ และหลาบเงินในสมัยรัตนโกสินทร์ ตอนต้นที่จารึกเกี่ยวกับการเก็บภาษีของชาวลัวะ (ละว้า) ในชุมชนนอกเมืองเชียงใหม่ จารึกเมื่อ พ.ศ. ๒๓๗๓ ค� ำส� ำคัญ : พระราชอาชญา, พระราชโองการ, หลาบค� ำ, หลาบเงิน
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=