วารสารปี-40-ฉบับที่-4-resize

วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๐ ฉบับที่ ๔ ต.ค.-ธ.ค. ๒๕๕๘ บทคัดย่อ ความเหลื่อมล�้ ำทางเศรษฐกิจ หรือปัญหาความไม่เป็นธรรมในการกระจายรายได้ ในประเทศไทย ได้กลายเป็นปัญหาที่ก่อให้เกิดความขัดแย้งในสังคมไทย ปัญหาความเหลื่อมล�้ ำ ทางเศรษฐกิจดังกล่าวเกิดจากการพัฒนาและความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วและ ระบบการกระจายรายได้ที่ไม่เป็นธรรมในสังคม กลุ่มที่มีรายได้สูงในส่วนยอดของพีระมิด การกระจายรายได้ ได้รับรายได้และผลประโยชน์ส่วนใหญ่จากความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ในขณะเดียวกัน คนส่วนใหญ่ที่เป็นฐานของพีระมิดการกระจายรายได้ ได้รับรายได้หรือผลประโยชน์ จากความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจน้อยมาก ความเหลื่อมล�้ ำทางเศรษฐกิจได้มีผลกระทบโดยตรงต่อฐานะทางสังคม อ� ำนาจทางการเมือง และอ� ำนาจทางเศรษฐกิจ รวมถึงการเข้าถึง การใช้ทรัพยากรและเทคโนโลยีต่าง ๆ ด้วย อ� ำนาจ ได้ถูกกระจุกตัวอยู่ในก� ำมือของคนเพียงกลุ่มน้อย ความไม่เป็นธรรมในสังคมดังกล่าวได้ท� ำให้เกิด การขัดแย้งและความยุ่งยากในปัจจุบัน ความพยายามแก้ปัญหาความไม่เป็นธรรมในการกระจายรายได้เกิดขึ้นหลังการเปลี่ยนแปลง การปกครอง พ.ศ. ๒๔๗๕ โดยได้มีการออกกฎหมายการเก็บภาษีมรดกในปี ๒๔๗๖ และภาษีมรดก ได้ถูกยกเลิกไปในปี ๒๔๘๗ อย่างไรก็ตาม เมื่อเกิดรัฐประหารในปี ๒๕๕๗ รัฐบาลได้กลับมา ออกกฎหมายการเก็บภาษีมรดกอีกในปี ๒๕๕๘ เมื่อเปรียบเทียบการเก็บภาษีมรดกในปี ๒๔๗๖ กับปี ๒๕๕๘ อาจกล่าวได้ว่า ภาษีมรดก ในปี ๒๔๗๖ มีลักษณะก้าวหน้าและมีผลกระทบในการแก้ปัญหาการกระจายรายได้ที่เป็นธรรม มากกว่าภาษีมรดกที่ออกใช้ในปี ๒๕๕๘ ค� ำส� ำคัญ : ความเหลื่อมล�้ ำทางเศรษฐกิจ, ภาษีกองมรดก, ภาษีการรับมรดก ปัญหาการเหลื่อมล�้ ำทางเศรษฐกิจ กับการจัดเก็บภาษีมรดกในประเทศไทย เกริกเกียรติ พิพัฒน์เสรีธรรม ราชบัณฑิต ส� ำนักธรรมศาสตร์และการเมือง ราชบัณฑิตยสภา

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=