วารสารปี-40-ฉบับที่-4-resize
จตุรนต์ ถิระวัฒน์ 21 วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๐ ฉบับที่ ๔ ต.ค.-ธ.ค. ๒๕๕๘ อัฟกานิสถาน ออสเตรเลีย บังคลาเทศ กัมพูชา อินเดีย อินโดนีเซีย อิหร่าน ลาว มาเลเซีย เมียนมา นิวซีแลนด์ ปากีสถาน ปาปัวนิวกินี ฟิลิปปินส์ ศรีลังกา เวียดนาม และไทย โดยมีประเทศผู้สังเกตการณ์คือ ญี่ปุ่น สวิตเซอร์แลนด์ และสหรัฐอเมริกา และผู้แทนจากองค์การระหว่างประเทศส� ำหรับการโยกย้ายถิ่นฐาน ส� ำนักงานข้าหลวงใหญ่แห่งสหประชาชาติส� ำหรับผู้ลี้ภัย และส� ำนักงานว่าด้วยยาเสพติด และอาชญากรรม แห่งสหประชาชาติ โดยมีผลการประชุมว่า ในส่วนที่เกี่ยวกับมาตรการเร่งด่วน ต้องเพิ่มความเข้มข้นในการค้นหา และช่วยเหลือ และมีความจ� ำเป็นต้องเสริมสร้างกลไกการแลกเปลี่ยนข้อมูล และการมีส่วนร่วมของประชาคม ระหว่างประเทศในการให้ความช่วยเหลือทั้งด้านการเงินและการอนุญาตให้ตั้งถิ่นฐานรวมถึงการส่งกลับประเทศ ต้นทาง ส� ำหรับการป้องกันการโยกย้ายถิ่นแบบไม่ปรกติ การลักลอบขนคนและการค้ามนุษย์ ที่ประชุมสนับสนุนให้มีการโยกย้ายถิ่นอย่างชอบด้วยกฎหมายและไม่สิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย และการเสริมสร้าง ความร่วมมือในการปราบปรามองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติตลอดจนการใช้กลไกระดับระหว่างประเทศ ตามอนุสัญญาสหประชาชาติเรื่องการต่อต้านอาชญากรรมข้ามชาติในการแก้ไขปัญหา ในส่วนที่เกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาที่ต้นก� ำเนิด ที่ประชุมให้ความส� ำคัญกับการยกระดับ ความเป็นอยู่ของชุมชนในพื้นที่เสี่ยงของประเทศต้นทาง โดยอาศัยการพัฒนาศักยภาพด้านเศรษฐกิจและสังคม เพื่อหาทางบรรเทาแรงจูงใจในการอพยพย้ายถิ่น บทสรุป การให้ความช่วยเหลือผู้แสวงหาที่ลี้ภัยซึ่งประสบภัยในทะเลเป็นหน้าที่ตามกฎหมายซึ่งรัฐ และผู้เกี่ยวข้องทั้งหลายต้องปฏิบัติตาม ส� ำหรับการขาดความชัดเจนในส่วนที่เกี่ยวกับวิธีการให้ความช่วยเหลือ ได้รับการแก้ไขในระดับหนึ่งจากการเพิ่มเติมรายละเอียดและการเผยแพร่ข้อมูลที่จ� ำเป็น แต่เนื่องจากบทบัญญัติ ที่ก� ำหนดไว้บางประการเป็นเพียงข้อแนะน� ำจึงไม่ผูกพันรัฐให้ต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด ยิ่งกว่านั้น การที่ขอบเขตของพันธกรณีตามกฎหมายเน้นการช่วยชีวิตให้ปลอดภัยซึ่งเป็นปัญหาเฉพาะหน้า แต่มิได้ครอบคลุม ถึงข้อผูกพันที่รัฐต้องรับผู้ประสบภัยขึ้นฝั่งและอนุญาตให้ตั้งรกรากในดินแดนของตนซึ่งเป็นการช่วยเหลือ ระยะยาว ท� ำให้รัฐที่ปฏิเสธความช่วยเหลือในด้านนี้ไม่มีหน้าที่ตามกฎหมายต้องด� ำเนินการ ดังนั้นการแก้ไขปัญหา ให้ประสบความส� ำเร็จจึงต้องอาศัยเวลาและโดยเฉพาะอย่างยิ่งความร่วมมือจากรัฐต่าง ๆ ร่วมกัน โดยเฉพาะ รัฐต้นทางและรัฐปลายทาง รวมถึงรัฐที่สามและองค์การระหว่างประเทศต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับปัญหา ดังเช่น ตัวอย่างของโครงการต่าง ๆ ในอดีต เนื่องจากปัญหาในเรื่องนี้มีลักษณะระหว่างประเทศจึงมิอาจปล่อยให้อยู่ ในความรับผิดชอบของรัฐที่ให้ความช่วยเหลือด้วยเหตุผลทางมนุษยธรรมที่ต้องแบกรับภาระแต่เพียงผู้เดียว
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=