วารสารปี-40-ฉบับที่-4-resize
การช่วยเหลือผู้แสวงหาที่ลี้ภัยซึ่งประสบภัยในทะเล 20 The Journal of the Royal Society of Thailand Volume 40 Number 4 Oct-Dec 2015 ผู้รับผู้ประสบภัย และการส่งผู้ที่ไม่มีคุณสมบัติเป็นผู้ลี้ภัยกลับประเทศพร้อมกับค� ำมั่นจากประเทศต้นทาง ว่าจะได้รับความปลอดภัย โครงการนี้สิ้นสุดลงเมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๙ ประการที่สาม ระบบการลี้ภัยร่วมกันของสหภาพยุโรป มีวัตถุประสงค์ที่จะให้ ผู้ขอลี้ภัยได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกันไม่ว่าจะยื่นเรื่องไว้ในประเทศสมาชิกใดก็ตามของสหภาพยุโรป เพื่อให้รัฐสมาชิกของสหภาพร่วมกันแบ่งเบาภาระ โดยอาศัยการประสานกฎหมายภายในเกี่ยวกับการลี้ภัย ของรัฐสมาชิกให้สอดคล้องกัน และการก่อตั้งกองทุนผู้ลี้ภัยแห่งสหภาพยุโรปเพื่อรับภาระร่วมกันระหว่าง รัฐสมาชิกในการดูแลผู้แสวงหาที่ลี้ภัย 30 ประการที่สี่ การสร้างกรอบความร่วมมือระหว่างรัฐในภูมิภาคเอเชียตะวันออก เฉียงใต้ การแก้ไขปัญหาไม่อาจกระท� ำได้โดยรัฐใดรัฐหนึ่งเท่านั้น แต่ต้องได้รับความร่วมมือ จากรัฐทั้งหลายเพื่อรับภาระร่วมกัน ส� ำหรับในภูมิภาคนี้แม้จะมีประสบการณ์มาก่อนหน้าแล้วก็ตาม แต่ใน ปัจจุบันก็ยังปราศจากแนวทางแก้ไขปัญหาที่ชัดเจน ทั้งนี้ ในกรอบของสมาคมอาเซียน ที่ผ่านมารัฐสมาชิกมิได้หยิบยกปัญหาขึ้นมา พิจารณาเพราะเกรงจะขัดกับหลักการไม่แทรกแซงในกิจการภายในของรัฐสมาชิกของสมาคมอาเซียน แต่ในปัจจุบันมีแนวโน้มว่ารัฐสมาชิกจะหยิบยกปัญหามาหารือนอกกรอบสมาคมอาเซียนดังเช่นกรณีที่ไทย มาเลเซียและอินโดนีเซียได้ร่วมกันประชุมที่มาเลเซีย เมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ เพื่อให้ความช่วยเหลือ และร่วมกันต่อต้านการค้ามนุษย์ และเรียกร้องให้ประชาคมระหว่างประเทศมีส่วนร่วมในการรับชาวโรฮีนจา ไปตั้งรกรากในดินแดนของตนหรือส่งกลับประเทศต้นทาง ส� ำหรับการแก้ไขนอกกรอบสมาคมอาเซียน กรณีแรกคือ กระบวนการบาหลีเกี่ยวกับ การลักลอบขนคนเข้าเมือง การค้ามนุษย์และอาชญากรรมข้ามชาติที่เกี่ยวข้อง โดยออสเตรเลียซึ่งเป็น จุดหมายของการเดินทางของผู้แสวงหาที่ลี้ภัยได้สนับสนุนให้รัฐในภูมิภาครวมกลุ่มกันเพื่อหาทางแก้ไขปัญหา เมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๕ และจัดให้มีการประชุมเป็นระยะ โดยล่าสุดจัดขึ้นเมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๖ ดังนั้น จึงถือได้ว่าเป็นช่องทางหนึ่งในการสร้างความร่วมมือเพื่อแก้ไขปัญหา อีกกรณีหนึ่งคือ การประชุมว่าด้วยการโยกย้ายถิ่นแบบไม่ปรกติในมหาสมุทรอินเดีย ประเทศไทยรับเป็นเจ้าภาพจัดประชุมประเทศที่ได้รับผลกระทบจากปัญหานี้โดยมีผู้เข้าร่วม ๑๗ รัฐ กล่าวคือ 30 European Commission, “Common European Asylum System (CEAS)”, accessed 15 May 2015 http://ec.europa . eu/dgs/home-affairs/e-
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=