วารสารปี-40-ฉบับที่-4-resize
จตุรนต์ ถิระวัฒน์ 19 วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๐ ฉบับที่ ๔ ต.ค.-ธ.ค. ๒๕๕๘ โครงการ Mare Nostrum ของอิตาลี ซึ่งเป็นประเทศปลายทางของผู้แสวงหา ที่ลี้ภัยเกิดขึ้นเมื่อวันที่ ๑๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๖ โดยมีระยะเวลาหนึ่งปี ขอบเขตของโครงการครอบคลุมเขต ทางทะเลของอิตาลีและของประเทศมอลตาและลิเบียด้วย รวมพื้นที่กว่า ๗๐,๐๐๐ ตารางกิโลเมตร โดยมิได้ เน้นเฉพาะการค้นหาและช่วยชีวิตผู้ประสบทั้งทางน�้ ำและทางอากาศเท่านั้น แต่รวมถึงการติดตามดูแล การเดินเรือในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน การรักษาพยาบาล การให้ที่พักพิง ตลอดจนการจับกุมเครือข่าย การค้ามนุษย์และการลักลอบน� ำคนเข้าเมืองอย่างผิดกฎหมายด้วย 28 กองทัพเรือเป็นหน่วยงานหลัก ทั้งการ ลาดตระเวน และค้นหาช่วยชีวิตซึ่งอาศัยทั้งเรือรบ เรือบรรทุกเครื่องบิน เฮลิคอปเตอร์ เรือของหน่วยแพทย์ และพยาบาล เครื่องบินสอดแนม ตลอดอายุโครงการสามารถช่วยชีวิตผู้ประสบภัยกว่า ๑๕๐,๐๐๐ คน แต่โครงการต้องสิ้นสุดลงเพราะมิได้รับความสนับสนุนจากประเทศสมาชิกอื่น ๆ ในสหภาพยุโรป เนื่องจาก เห็นว่าอาจท� ำให้ดึงดูดการอพยพเข้ามาในทวีปยุโรปอย่างไม่มีขีดจ� ำกัด ประการที่สอง การส่งผู้ประสบภัยไปลี้ภัยในประเทศที่สาม ตัวอย่างโครงการ แผนปฏิบัติการที่ครอบคลุมส� ำหรับผู้ลี้ภัยอินโดจีน โดยหลังจาก โครงการ Disembarkation Resettlement Offer สิ้นสุดลง ก็มีผู้ลี้ภัยอินโดจีนระลอกใหม่ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๓๐ ท� ำให้ศูนย์พักพิงในประเทศไทยกลายเป็นที่อาศัยระยะยาว และดึงดูดให้ผู้อพยพด้วยเหตุผลทางเศรษฐกิจ แอบแฝงปะปนมาด้วย ดังนั้น ส� ำนักงานข้าหลวงใหญ่แห่งสหประชาชาติจึงจัดประชุมนานาชาติเพื่อแก้ไขปัญหา ซึ่งมีมติให้จัดท� ำแผนปฏิบัติการซึ่งเน้นที่การท� ำความตกลงกับรัฐชายฝั่งเพื่อให้ยินยอมให้ผู้ประสบภัยขึ้นฝั่ง เพื่อพักพิงชั่วคราว และการให้หลักประกันจากประเทศที่สามในการรับผู้ลี้ภัยเหล่านี้ต่อไป นอกจากนี้ยังให้ ประเทศต้นทางมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหา 29 โดยรวมการด� ำเนินการ ๔ ด้านคือ การยุติการอพยพของ ประชาชนจากประเทศต้นทาง เพื่อยุติการลักลอบเดินทางออกนอกประเทศอย่างไม่ปลอดภัยโดยอาศัย การประชาสัมพันธ์ การพิจารณาสถานภาพของผู้ลี้ภัยโดยผ่านส� ำนักงานข้าหลวงใหญ่แห่งสหประชาชาติ ส� ำหรับผู้ลี้ภัยตามมาตรฐานของนานาชาติ การส่งผู้ลี้ภัยไปตั้งรกรากในประเทศที่สามโดยอาศัยเกณฑ์ ความเกี่ยวพันทางสังคม ล� ำดับเวลาของการรอคอย และการจัดสรรอย่างเท่าเทียมกันระหว่างรัฐที่สาม 28 Sergio Carrera and Leonhard den Hertog, “Whose Mare? Rule of Law challenges in the field of European border surveillance in the Mediterranean”, SOURCE Societal Security Network (12 January 2015): p. 3; Hugo Brady, “Mare Europaeum? Tackling Medeterranean migration”, European Union Institute for Security Studies, p. 2 (September, 2014). 29 UNHCR, “Background Paper”, Regional Roundtable on Irregular Migration by Sea in the Asia-Pacific region, Jakarta, Indonesia, March, 18-20, 2013.
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=