วารสารปี-40-ฉบับที่-4-resize

นิตยา กาญจนะวรรณ 261 วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๐ ฉบับที่ ๔ ต.ค.-ธ.ค. ๒๕๕๘ ในปัจจุบันหลักเกณฑ์ใหม่นี้ได้ประกาศใช้แล้ว เมื่อวันที่ ๑๑ มกราคม ๒๕๔๒ เพื่อให้ใช้เขียนชื่อ จังหวัด เขต อ� ำเภอ กิ่งอ� ำเภอ และชื่อทางภูมิศาสตร์อื่น ๆ รวมทั้งชื่อถนนด้วย รายละเอียดจะหาดูได้ ในหนังสือ ประกาศส� ำนักนายกรัฐมนตรี และ ประกาศราชบัณฑิตยสถาน เรื่อง การเขียนชื่อจังหวัด เขต อ� ำเภอ และกิ่งอ� ำเภอ และ เรื่อง หลักเกณฑ์การถอดอักษรไทยเป็นอักษรโรมันแบบถ่ายเสียง ของ ราชบัณฑิตยสถาน (ราชบัณฑิตยสถาน ๒๕๔๓) ในด้าน ISO นั้น ราชบัณฑิตยสถานก็ได้ร่วมมือกับส� ำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม ในฐานะตัวแทนสมาชิกจากประเทศไทย จัดท� ำมาตรฐานทางภาษาขึ้น ๒ ฉบับ คือ มาตรฐาน ISO 11940-1: 1998 - Information and documentation – Transliteration of Thai และ มาตรฐาน ISO 11940-2: Information and documentation – Transliteration of Thai characters into Latin characters – Part 2: Simplified transliteration of Thai language ฉบับแรกคือการถอดอักษรไทยเป็นอักษรโรมัน ส่วนฉบับที่สองก� ำหนดสูตรการออกเสียงซึ่งสามารถ น� ำไปใช้กับคอมพิวเตอร์ต่อไปได้ นอกจากประเทศไทยจะเป็นผู้สร้างมาตรฐานระหว่างประเทศในส่วนที่เกี่ยวข้องกับภาษาไทยแล้ว ประเทศไทยยังได้รับเกียรติเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม ISO/TC 46 ขึ้นที่จังหวัดเชียงใหม่ในระหว่างวันที่ ๖-๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๙ ด้วย (นิตยา กาญจนะวรรณ ๒๕๕๒) ๒. ISO กับชุดอักขระ (character set) ของโลก ในปัจจุบันนี้มีภาษาอยู่มากมายที่มิได้ใช้อักษรละตินหรือที่เรียกกันว่าอักษรโรมัน (A ถึง Z) ISO จึงพยายามที่จะสร้างมาตรฐานขึ้นมาว่า บรรดาภาษาที่มิได้ใช้อักษรโรมันนั้นจะแทนค่าอักษรใน ภาษาของตนเป็นอักษรโรมันอย่างไร ชุดอักษรที่อยู่ในข่ายการพิจารณาของ ISO คือ ซิริลลิก (Cyrillic) อาหรับ ฮีบรู กรีก ญี่ปุ่น (ตัว Kana) จีน จอร์เจียน (Georgian) อาร์เมเนียน (Armenian) เกาหลี เทวนาครี และ ไทย (ทั้งไทยมาตรฐาน และไทยถิ่น) ๓. ISO กับชุดอักขระไทยมาตรฐาน อักขระไทยมาตรฐานที่ปรากฏใน ISO 11940-1: 1998 มี ๘๗ ตัวดังนี้

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=