วารสารปี-40-ฉบับที่-4-resize

การช่วยเหลือผู้แสวงหาที่ลี้ภัยซึ่งประสบภัยในทะเล 18 The Journal of the Royal Society of Thailand Volume 40 Number 4 Oct-Dec 2015 อย่างไรก็ตาม หากวิเคราะห์ในเชิงนิติศาสตร์ การปฏิเสธการให้ความช่วยเหลือ โดยการอนุญาตให้เรือเข้าเมืองท่าเพื่อส่งผู้ประสบภัยขึ้นฝั่งและให้ที่พักพิงผู้ประสบภัย อาจอธิบายได้ว่าเป็นผล ของความไม่ชัดเจนของขอบเขตของหน้าที่ในการช่วยเหลือ กล่าวคือ อนุสัญญาต่าง ๆ มิได้ให้ค� ำนิยามค� ำว่า การให้ความช่วยเหลือไว้ แต่อนุสัญญาที่กล่าวถึงเรื่องการช่วยชีวิตได้บัญญัตินิยามไว้ว่าหมายถึงการด� ำเนินการ ช่วยให้บุคคลพ้นอันตราย การให้ยารักษาโรคและสิ่งจ� ำเป็นอื่นๆ และการส่งผู้ประสบภัยไปยังสถานที่ปลอดภัย 27 ซึ่งท� ำให้เห็นว่าการช่วยชีวิตรวมถึงการส่งผู้ประสบภัยไปยังสถานที่ปลอดภัยด้วย โดยได้รับการยืนยันในข้อมติ ของคณะกรรมการกฎหมายขององค์การทางทะเลระหว่างประเทศเมื่อ ค.ศ. ๒๐๐๔ เพราะฉะนั้นในขณะที่ การช่วยชีวิตให้ปลอดภัยเป็นหน้าที่ที่ชัดเจน ซึ่งรวมถึงการส่งผู้ประสบภัยไปยังสถานที่ปลอดภัย แต่ขอบเขต ของการช่วยเหลือจะขยายไปถึงการจัดหาสถานที่ในการพักพิงและพ� ำนักอย่างถาวรเพื่อความปลอดภัย หรือไม่นั้น ไม่มีกฎหมายใดกล่าวถึง อีกทั้งเป็นเรื่องที่ต้องอาศัยการประสานงานและความร่วมมือ รวมทั้ง ความยินยอมของรัฐที่เกี่ยวข้องอีกหลายรัฐจึงท� ำให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ในทางปฏิบัติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่อง การปฏิเสธที่จะรับขึ้นฝั่งของรัฐ ดังกรณีตัวอย่างที่อ้างถึงไว้แล้วใน ๒.๑.๑ ๒.๒.๒ แนวทางการแก้ไข ในอดีตที่ผ่านมาปัญหาเรื่องนี้ได้รับการแก้ไขโดยวิธีต่าง ๆ ซึ่งล้วนแต่ต้องอาศัย ความร่วมมือระหว่างรัฐต่าง ๆ โดยเฉพาะรัฐที่สามและองค์การระหว่างประเทศเพื่อให้ผู้ประสบภัยที่ประสงค์ จะลี้ภัยในประเทศที่สามสามารถขึ้นฝั่งเพื่อพักพิงชั่วคราวในรัฐชายฝั่งและเดินทางต่อไปตั้งรกรากในดินแดน ของรัฐที่สามต่อไป ดังจะได้ศึกษาตามกรณีตัวอย่างต่อไปนี้ ประการแรก การให้สถานที่ลี้ภัยแก่ผู้ประสบภัย ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือระหว่าง รัฐชายฝั่ง รัฐนอกภูมิภาค และองค์การระหว่างประเทศ ดังตัวอย่างต่อไปนี้ ตัวอย่างแรก โครงการ Disembarkation Resettlement Offers ของส� ำนักงาน ข้าหลวงใหญ่แห่งสหประชาชาติส� ำหรับผู้ลี้ภัย จากวิกฤตการณ์ของการแสวงหาที่ลี้ภัยในภูมิภาคเอเชียตะวันออก เฉียงใต้ซึ่งทวีความรุนแรงขึ้นตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๒๒ ท� ำให้ส� ำนักงานข้าหลวงใหญ่แห่งสหประชาชาติส� ำหรับผู้ลี้ภัย ได้เสนอโครงการนี้ขึ้น โดยก� ำหนดให้รัฐเจ้าของสัญชาติเรือรับรองที่จะรับผู้ประสบภัยไปตั้งรกรากในประเทศ ของตนเอง ส่วนรัฐชายฝั่งก็มีหน้าที่ต้องยินยอมให้ผู้แสวงหาที่ลี้ภัยขึ้นฝั่งของตนเพื่อพักพิงเป็นการชั่วคราว อันท� ำให้ภาระของรัฐชายฝั่งลดลงและสร้างความชัดเจนเกี่ยวกับภาระของรัฐต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง 27 ข้อ ๑.๓.๒ บทที่ ๑ ของภาคผนวก ของอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการค้นหาและช่วยชีวิต

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=