วารสารปี-40-ฉบับที่-4-resize
ISO กับอักขระไทย 260 The Journal of the Royal Society of Thailand Volume 40 Number 4 Oct-Dec 2015 ๑. บทน� ำ ISO (International Organization for Standardization) หรือ องค์การระหว่างประเทศว่าด้วย การมาตรฐาน เป็นองค์กรพัฒนามาตรฐานที่ใหญ่ที่สุดในโลก ISO คือเครือข่ายของสถาบันมาตรฐานของ ชาติจาก ๑๕๖ ประเทศ โดยมีสมาชิกประเทศละ ๑ องค์กร สมาชิกแต่ละประเทศมีสิทธิ์ในการลงคะแนน เสียงได้อย่างเท่าเทียมกัน โดยไม่ค� ำนึงถึงขนาดของประเทศ ในขณะนี้องค์กรซึ่งท� ำหน้าที่เป็นตัวแทนของ ประเทศไทยในฐานะสถาบันมาตรฐานแห่งชาติก็คือ ส� ำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม กระทรวง อุตสาหกรรม เนื่องจากชื่อ “International Organization for Standardization” อาจจะมีตัวย่อต่างกันใน แต่ละภาษา (“IOS” ในภาษาอังกฤษ “OIN” ในภาษาฝรั่งเศส ซึ่งเขียนว่า Organisation internationale de normalisation) จึงตกลงกันที่จะใช้ค� ำจากภาษากรีก คือ isos ซึ่งหมายความว่า “equal” หรือ เท่าเทียมกัน ฉะนั้น ไม่ว่าจะเป็นประเทศใด ภาษาใด ชื่อย่อขององค์กรจึงเป็น ISO แต่เพียงประการเดียว นับจาก พ.ศ. ๒๔๙๐ เป็นต้นมา ISO ได้เผยแพร่มาตรฐานระหว่างประเทศไปแล้วมากกว่า ๑๕๐๐๐ มาตรฐาน เช่น มาตรฐานทางด้านเกษตรกรรม การก่อสร้าง วิศวกรรม อุปกรณ์การแพทย์ ตะปูควง ตู้ขนส่งสินค้า สัญลักษณ์เตือนภัย บัตรโทรศัพท์ บัตรธนาคาร รหัสสัญญาณภาพและเสียง รหัสคอมพิวเตอร์ ศัพท์เทคนิค ภาษา ฯลฯ เนื่องจากมาตรฐาน ISO มีเรื่องของภาษาอยู่ด้วย จึงต้องเกี่ยวข้องกับราชบัณฑิตยสถาน ซึ่งมีหน้าที่อนุรักษ์ภาษาไทยมิให้แปรเปลี่ยนไปในทางที่เสื่อม และส่งเสริมภาษาไทยซึ่งเป็นเอกลักษณ์ ของชาติให้ปรากฏเด่นชัดยิ่งขึ้น ในเดือนมกราคม พ.ศ. ๒๕๒๙ ราชบัณฑิตยสถานได้พิจารณาเห็นควรปรับปรุงแก้ไขหลัก เกณฑ์การถอดอักษรไทยเป็นอักษรโรมัน (ราชบัณฑิตยสถาน ๒๔๘๒) ซึ่งประกาศใช้มาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๘๒ เสียใหม่ เนื่องจากหลักเกณฑ์ดังกล่าวยังมีที่บกพร่อง ไม่สอดคล้องกับความต้องการและลักษณะการ ใช้ในปัจจุบัน ในขณะเดียวกัน ISO ก็ได้มีมติมอบหมายให้ประเทศไทย โดยที่ราชบัณฑิตยสถานเป็น เจ้าของเรื่อง ด� ำเนินการจัดท� ำร่างมาตรฐานการถอดอักษรไทยเป็นอักษรโรมัน เพื่อใช้เป็นมาตรฐาน ระหว่างประเทศด้วย ราชบัณฑิตยสถานจึงได้เสนอคณะรัฐมนตรีขอแต่งตั้ง คณะกรรมการปรับปรุงวิธี การถอดอักษรไทยเป็นอักษรโรมัน ขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๙ เพื่อปรับปรุงหลักเกณฑ์ที่เคยมีมาให้เหมาะสม (ราชบัณฑิตยสถาน ๒๕๒๙)
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=