วารสารปี-40-ฉบับที่-4-resize
วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๐ ฉบับที่ ๔ ต.ค.-ธ.ค. ๒๕๕๘ บทคัดย่อ ISO ได้มีมติมอบหมายให้ประเทศไทย โดยที่ราชบัณฑิตยสถานเป็นเจ้าของเรื่องด� ำเนินการ จัดท� ำร่างมาตรฐานการถอดอักษรไทยเป็นอักษรโรมัน เพื่อใช้เป็นมาตรฐานระหว่างประเทศ ราชบัณฑิตยสถานได้จัดท� ำมาตรฐานทางภาษาขึ้น ๒ ฉบับ คือ มาตรฐาน ISO 11940-1: 1998 - Information and documentation – Transliteration of Thai และ มาตรฐาน ISO 11940-2: Information and documentation – Transliteration of Thai characters into Latin characters – Part 2: Simplified transliteration of Thai language ฉบับแรก คือการถอดอักษรไทยเป็นอักษรโรมัน ส่วนฉบับที่สองก� ำหนดสูตรการออกเสียงซึ่งสามารถน� ำไปใช้ กับคอมพิวเตอร์ต่อไปได้ อักขระไทยมาตรฐานที่ปรากฏใน ISO 11940-1: 1998 มี ๘๗ ตัว ในประเทศไทยนอกจากจะมีชุดอักขระมาตรฐานแล้วยังมีชุดอักขระอื่น ๆ อีกทั้งใน ภาคเหนือและภาคอีสาน ราชบัณฑิตยสถานได้ตั้งคณะกรรมการจัดท� ำหลักเกณฑ์การถอดอักษรไทย น้อยเป็นอักษรโรมันขึ้นเมื่อวันที่ ๖ ตุลาคม ๒๕๕๑ และคณะกรรมการจัดท� ำหลักเกณฑ์การถอด อักษรภาษาตระกูลไท (Tai Language Family) เป็นอักษรโรมันขึ้นเมื่อวันที่ ๓๐ มกราคม ๒๕๕๖ เพื่อน� ำเสนอ ISO ให้พิจารณาเป็นมาตรฐานระหว่างประเทศต่อไป ในขณะนี้คณะกรรมการฯ ได้จัดท� ำร่างการถอดอักษรธรรมอีสานและอักษรไทยน้อย เป็นอักษรโรมันเสร็จลงแล้ว โดยค� ำนึงถึงจ� ำนวนตัวอักขระที่ปรากฏในชุดอักษรนั้น ๆ ไม่ว่าจะเป็นรูปเต็ม หรือรูปต่าง อักษรธรรมมีทั้งหมด ๑๒๗ ตัว และอักษรไทยน้อยมีทั้งหมด ๗๘ ตัว การใช้อักษรโรมันและ เครื่องหมายต่าง ๆ เป็นสัญลักษณ์ค� ำนึงถึงความเป็นหนึ่งโดยไม่ก� ำกวม ซึ่งจะท� ำให้สามารถถอดกลับมา เป็นอักขระเดิมได้ ส่วนการก� ำหนดต� ำแหน่งของตัวอักขระเป็นการให้ความสะดวกแก่ผู้พัฒนาแบบ ชุดอักษร (font) การก� ำหนดรหัสคอมพิวเตอร์และแผงแป้นอักขระ (keyboard) จะเป็นหน้าที่ของ คณะกรรมการชุดอื่นของส� ำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม ค� ำส� ำคัญ : องค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน, อักษรธรรมอีสาน, อักษรไทยน้อย, แบบชุดอักษร ISO กับอักขระ * ไทย ** นิตยา กาญจนะวรรณ*** ภาคีสมาชิก ส� ำนักศิลปกรรม ราชบัณฑิตยสภา * อักขระ หมายถึง character ซึ่งประกอบด้วยตัวอักษร และเครื่องหมายต่าง ๆ ** บรรยายในการประชุมสำ �นักศิลปกรรม ราชบัณฑิตยสภา เมื่อวันที่ ๒๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๗ ***รองประธานคณะกรรมการจัดทำ �หลักเกณฑ์การถอดอักษรภาษาตระกูลไท (Tai Language Family) เป็นอักษรโรมัน ผู้ทรงคุณวุฒิและผู้แทนจากราชบัณฑิตยสถาน/สภา ในคณะกรรมการวิชาการด้านการเอกสารและสารสนเทศ กระทรวงอุตสาหกรรม
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=