วารสารปี-40-ฉบับที่-4-resize

วรรณกรรมจดหมายเรื่อง Les Liaisons dangereuses (สัมพันธ์อันตราย) 256 The Journal of the Royal Society of Thailand Volume 40 Number 4 Oct-Dec 2015 (จดหมายฉบับที่ ๑๔๔) ต่อมาหลังจากแยกทางกับวาลมง เธอล้มป่วยลง (จดหมายฉบับที่ ๑๔๗, ๑๔๙, ๑๖๐, ๑๖๑) และเสียชีวิตเมื่อรู้ข่าวการตายของวาลมง (จดหมายฉบับที่ ๑๖๕) บทสรุป วรรณกรรมเรื่อง Les Liaisons dangereuses ของลาโกล เป็นนวนิยายในรูปจดหมาย (roman par lettres) ที่ประสบความส� ำเร็จ ขายหมดอย่างรวดเร็ว นวนิยายเรื่องนี้มิได้เน้นว่าผู้บริสุทธิ์ ถูกไล่ล่า แต่ต้องการชี้ให้เห็นอันตรายจากความชั่วร้าย ความเฉลียวฉลาด และพฤติกรรมเสรีทางเพศ สัมพันธ์ของมนุษย์ ความริษยาและความต้องการแก้แค้นของมาดาม เดอ แมร์เตย เป็นเรื่องที่ขาด เหตุผลอันสมควร ส่วนวาลมงซึ่งปฏิบัติตามค� ำสั่งของชู้รักแสดงให้เห็นความไม่ใส่ใจต่อหญิงผู้เป็นเหยื่อ คู่อันตรายคู่นี้สะท้อนความสัมพันธ์ระหว่างสติปัญญาอันเฉลียวฉลาดกับความชั่วร้าย ไร้ศีลธรรม ลาโกล สามารถแสดงภาพการแสวงหาความสุขอย่างไร้ส� ำนึกถึงความดีความเลวในหมู่ผู้คนในสังคมชนชั้นสูง สมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๖ ได้อย่างลึกซึ้ง อ็องเดร มาลโร (André Malraux : ค.ศ. ๑๙๐๑-๑๙๗๖) ผู้ก่อตั้ง กระทรวงวัฒนธรรมในประเทศฝรั่งเศสและรัฐมนตรีคนแรกของกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวไว้ในค� ำน� ำหนังสือ Les Liaisons dangereuses ตอนหนึ่งว่า ในบรรดานักเขียนนวนิยายที่สร้างตัวละครซึ่งรู้แจ้งและคิดวางแผนล่วงหน้า ลาโกลได้ชื่อว่า สร้างตัวละครที่มีความเฉลียวฉลาดมากที่สุด ตัวละครของลาโกลมีลักษณะซึ่งไม่เคยมีมาก่อน กล่าวคือ เป็นตัวละครที่กระท� ำการต่าง ๆ ตามความคิดของตน มาร์กีซและวาลมงเป็นตัวละคร ๒ ตัวแรกที่ปฏิบัติ ตามอุดมการณ์ของตน 4 ค� ำพูดที่ยกมาของอ็องเดร มาลโร ชี้ให้เห็นว่าตัวละครเอกของลาโกลพยายามที่จะปฏิบัติตาม เจตนารมณ์ของตน ต้องการก� ำหนดอนาคตของตนเองและหลีกเลี่ยงความไม่แน่นอนของอนาคต ดังจะ เห็นได้จากค� ำว่า “โครงการ (projet)” “แผน (plan)” และ “แผนการ (dessein)” ซึ่งพบบ่อยครั้งใน จดหมายของวาลมงและมาดาม เดอ แมร์เตย ลาโกลตั้งใจให้ผู้อ่านนวนิยายเรื่อง Les Liaisons dangereuses เห็นอันตรายของคู่สัมพันธ์ รักที่มุ่งปองร้ายคนดี เปิดโปงวิธีการของคนเลวที่เจตนาท� ำลายคนดี ดังที่เขาเขียนไว้ในค� ำน� ำของนวนิยาย เรื่องนี้ว่า 4 Paris: Gallimard, collection Folio, 2001.

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=