วารสารปี-40-ฉบับที่-4-resize
วรรณกรรมจดหมายเรื่อง Les Liaisons dangereuses (สัมพันธ์อันตราย) 250 The Journal of the Royal Society of Thailand Volume 40 Number 4 Oct-Dec 2015 วันที่ ๓๑ มีนาคม ค.ศ. ๑๗๙๓ ลาโกลถูกออกหมายจับพร้อมกับดุกดอร์เลอ็องและพรรคพวก เขาถูกจ� ำคุก อยู่นาน ๑๒ เดือน แล้วจึงได้รับการปล่อยตัวโดยไม่ทราบเหตุผลแน่ชัด ต่อมาใน ค.ศ. ๑๘๐๓ ลาโกลได้ รับแต่งตั้งให้เป็นผู้บังคับการทหารปืนใหญ่ที่เมืองเนเปิลส์ (Naples) ลาโกลเสียชีวิตจากโรคท้องร่วงเมื่อ วันที่ ๕ กันยายน ค.ศ. ๑๘๐๓ เมื่ออายุ ๖๒ ปี ภูมิหลังทางประวัติศาสตร์ของ Les Liaisons dangereuses การที่จะอ่านวรรณกรรมจดหมายเรื่อง Les Liaisons dangereuses ซึ่งพิมพ์เผยแพร่ครั้ง แรกเมื่อ ค.ศ. ๑๗๘๒ มีความจ� ำเป็นต้องรู้ภูมิหลังทางประวัติศาสตร์และสังคมบ้างพอสังเขป โดยเฉพาะ อย่างยิ่งพฤติกรรมและความรู้สึกนึกคิดของชนชั้นขุนนางและชนชั้นกลางระดับสูงในสมัยนั้น พระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ สวรรคตเมื่อวันที่ ๑ กันยายน ค.ศ. ๑๗๑๕ ในช่วงปลายรัชสมัยพระ เจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ สังคมฝรั่งเศสตกอยู่ภายใต้ความเข้มงวดทางจารีตประเพณีและความคลั่งศาสนาตาม มาดาม เดอ แมตนง (Madame de Maintenon) พระสนมคนโปรดของพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ ครั้นพระ เจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ สวรรคต สังคมฝรั่งเศสจึงก้าวเข้าสู่ช่วงเวลาที่ผู้คนตื่นตัวเป็นอิสระและประพฤติตนเสรี กันมากขึ้นตามแบบของผู้ส� ำเร็จราชการ คือ ฟีลิป ดอร์เลอ็อง (Philippe d’ Orléans) ผู้คนใช้ชีวิต สนุกสนานจนบางครั้งมั่วสุมทางกามารมณ์ สตรีบางคนใช้ความสัมพันธ์ทางเพศเพื่อไต่เต้าทางสังคม ต่อ มาในรัชสมัยของพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๕ (ค.ศ. ๑๗๒๓-๑๗๗๔) สโมสรชั้นสูงเป็นที่พบปะสังสรรค์ของพวก คนเจ้าชู้เสเพล พวกชอบโอ้อวดแสดงตนเย่อหยิ่ง คนพวกนี้ถือว่าสตรีเป็นของเล่นประดับบารมี ไม่มี ความละอาย ขาดหลักการ คุณธรรม และไม่เชื่อในศาสนา ช่วงประมาณ ค.ศ. ๑๗๕๐ ปรัชญาความคิด ยุคแสงสว่างมีอิทธิพลแพร่ขยายไปยังบุคคลในสโมสรชั้นสูงเหล่านี้ด้วย พระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๖ เสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อ ค.ศ. ๑๗๗๔ ช่วงนั้นผู้คนในสังคมดูเหมือนว่า มีพฤติกรรมที่เสื่อมทรามทางศีลธรรมลง กษัตริย์พระองค์ใหม่ทรงมีพระจริยาวัตรเรียบง่าย เป็นผู้ทรง คุณธรรมและความซื่อสัตย์ บุคคลผู้มีพฤติกรรมเสรีจึงจ� ำเป็นต้องระมัดระวังมากขึ้น ไม่กระท� ำการใด ๆ ที่โจ่งแจ้งจนเกินไป จึงเกิดค� ำว่า “rouerie” ซึ่งหมายถึง “การใช้เล่ห์กลปกปิดความเสเพลของตน” ด้วย เหตุนี้พวกคนเจ้าชู้จึงวางตนให้แลดูเป็นคนซื่อสัตย์ สุภาพ มารยาทงาม วาจาไพเราะ ดูภายนอกพวกเขา ดูเป็นสุภาพชน น่าคบหาสมาคม แต่ภายในใจอาจซ่อนเร้นเจตนารมณ์ที่ซับซ้อน มุ่งร้าย เป็นอันตรายแก่ เป้าหมาย เหมือนเป็นเกมลับสติปัญญาอย่างหนึ่ง 3 ลักษณะเช่นนี้เป็นสิ่งที่พบในตัวละครเอกของลาโกล 3 Laurent Versini, Laclos et la tradition , Paris: Klincksieck, 1968, p. 42.
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=