วารสารปี-40-ฉบับที่-4-resize
จินตนา ด� ำรงค์เลิศ 247 วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๐ ฉบับที่ ๔ ต.ค.-ธ.ค. ๒๕๕๘ ที่แปลกใหม่ส� ำหรับผู้อ่าน เช่น ชีวิตกะลาสีเรือ ชาวประมง หรือชีวิตชาวนา ชีวิตโสเภณีและแมงดา ผู้ที่ ท� ำให้วรรณกรรมจดหมายเป็นที่รู้จักกันดีคือ โอวิด (Ovid, ศตวรรษที่ ๑ ก่อนคริสต์ศักราช) กวีผู้เขียน Epistulae Heroidum จดหมายที่เขียนเป็นจดหมายของสตรีที่รู้จักกันดี เช่น เพเนโลพี (Penelope), ไดดอน (Didon) ฯลฯ ซึ่งเขียนถึงคนรัก เนื้อหาเป็นเรื่องของความทุกข์ระทมจากความรัก ความสิ้นหวัง ผู้หญิงที่ถูกทอดทิ้ง การจากไปหรือความตายของคนรัก วรรณกรรมจดหมายนี้ได้มีการน� ำมาศึกษาอย่าง ต่อเนื่องระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ ๑๒ ถึงคริสต์ศตวรรษที่ ๑๘ ในการศึกษาภาษาละติน ในคริสต์ศตวรรษที่ ๑๗ วรรณกรรมจดหมายเรื่องส� ำคัญคือ Lettres portugaises ของ วีกงต์ เดอ กีเยอรัก (vicomte de Guilleragues, ค.ศ. ๑๖๒๘-๑๖๘๕) ซึ่งเป็นวรรณกรรมฝรั่งเศสที่ดีเด่น ชิ้นหนึ่งของคริสต์ศตวรรษที่ ๑๗ จดหมายมีทั้งหมด ๕ ฉบับ เป็นของหญิงสาวชาวโปรตุเกสที่พรรณนา ถึงความรักต่อทหารฝรั่งเศสคนหนึ่งที่มาปฏิบัติหน้าที่ในประเทศโปรตุเกสในสงครามกับสเปนเมื่อ ค.ศ. ๑๖๖๓ ต่อมาทหารผู้นี้เดินทางกลับฝรั่งเศสและหายเงียบไป จดหมายคร�่ ำครวญถึงความตรอมตรม ด้วยความคิดถึง จนบางครั้งคิดฆ่าตัวตาย โลร็อง แวร์ซีนี (Laurent Versini) เปรียบเทียบว่า ความรู้สึก ท� ำนองเดียวกันนี้ปรากฏอยู่ในจดหมายของเซซีล (Cécile) ด็องเซอนี (Danceny) และของมาดาม เดอ ตูร์แวล ในเรื่อง Les Liaisons dangereuses 1 แวร์ซีนียังเน้นว่านิยายเรื่องนี้นอกจากจะแสดงความรู้สึก นึกคิดและอารมณ์ได้อย่างลึกซึ้งและดูจริงจังเนื่องจากเขียนเล่าด้วยสรรพนามบุรุษที่ ๑ แล้ว ยังผูกปม เรื่องไว้ได้อย่างน่าสนใจอีกด้วย 2 ในคริสต์ศตวรรษที่ ๑๘ งานเขียนในรูปจดหมายของมงแตสกีเยอ (Montesquieu ค.ศ. ๑๖๘๙-๑๗๕๕) เรื่อง Lettres persanes (ค.ศ. ๑๗๒๑) ไม่อาจนับอยู่ในสายวรรณกรรมจดหมายเชิง วิเคราะห์จิตวิทยาเพราะมงแตสกีเยอตั้งใจน� ำเสนอแนวคิดเชิงปรัชญามากกว่า นวนิยายเชิงวิเคราะห์จิตวิทยา ในรูปจดหมายสมัยคริสต์ศตวรรษที่ ๑๘ ได้แก่เรื่อง Les Lettres de la marquise de M*** au comte de R*** (ค.ศ. ๑๗๓๒) ของเครบียง (Crébillon, ค.ศ. ๑๗๐๗-๑๗๗๗) แต่ผลงานของ เครบียงไม่ประสบความส� ำเร็จมากนัก อย่างไรก็ดี ลาโกลได้สร้างนางเอกของเขาคือ มาดาม เดอ ตูร์แวล ให้มีลักษณะคล้ายคลึงกับนางเอกของเครบียงในแง่ที่เป็นคนสงบเสงี่ยมและหลีกเลี่ยงอารมณ์รักที่ รุนแรง ต่อมาใน ค.ศ. ๑๗๔๗ มาดาม เดอ กราฟีญี (Madame de Graffigny, ค.ศ. ๑๖๗๕-๑๗๕๘) ตีพิมพ์เผยแพร่วรรณกรรมจดหมายเรื่อง Lettres d’une Péruvienne และประสบความส� ำเร็จอย่างมาก 1 In LACLOS, Oeuves complètes , Paris: Gallimard, Bibliothèque de la Pléiade, 1979, p.1. Notice. 2 Ibid.
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=