วารสารปี-40-ฉบับที่-4-resize

The Journal of the Royal Society of Thailand Volume 40 Number 4 Oct-Dec 2015 บทคัดย่อ วรรณกรรมจดหมายเรื่อง Les Liaisons dangereuses ของชอแดร์โล เดอ ลาโกล (Choderlos de Laclos) พิมพ์เผยแพร่ครั้งแรกเมื่อ ค.ศ. ๑๗๘๒ จดหมายเขียนเป็นร้อยแก้ว โดยตัวละครหลากหลายซึ่งมีลีลาการใช้ภาษาเฉพาะของตน ภูมิหลังของเรื่องเป็นช่วงสมัยพระ เจ้าหลุยส์ที่ ๑๖ ซึ่งทรงมีพระจริยาวัตรเรียบง่าย บุคคลผู้มีพฤติกรรมเสรี (libertins) จึงจ� ำเป็น ต้องวางตนเป็นสุภาพชน แต่ภายในใจมีเจตนารมณ์ที่ซับซ้อนและมุ่งร้ายต่อผู้ที่ตนถือว่าเป็นศัตรู ดังที่พบในตัวละครเอกของเรื่อง อันได้แก่ มาดาม เดอ แมร์เตย (Madame de Merteuil) และ วีกงต์ เดอ วาลมง (Vicomte de Valmont) ค� ำส� ำคัญ : Les Liaisons dangereuses, ลาโกล, วรรณกรรมจดหมาย วรรณกรรมจดหมายเรื่อง Les Liaisons dangereuses (สัมพันธ์อันตราย) * จินตนา ด� ำรงค์เลิศ ราชบัณฑิต ส� ำนักศิลปกรรม ราชบัณฑิตยสภา วรรณกรรมจดหมายเรื่อง Les Liaisons dangereuses พิมพ์เผยแพร่ครั้งแรกเมื่อเดือน มีนาคม ค.ศ. ๑๗๘๒ (พ.ศ. ๒๓๒๕) เป็นผลงานเขียนของชอแดร์โล เดอ ลาโกล (Choderlos de Laclos) ความสัมพันธ์ซึ่งเป็นอันตรายนี้คือความสัมพันธ์ระหว่างหญิงชายคู่หนึ่ง ฝ่ายหญิงได้แก่ มาดาม เดอ แมร์ เตย (Madame de Merteuil) หรือ มาร์กีซ เดอ แมร์เตย (Marquise de Merteuil) ฝ่ายชายคือ วีกงต์ เดอ วาลมง (Vicomte de Valmont) มาดาม เดอ แมร์เตย สั่งให้วีกงต์ เดอ วาลมง พยายามเกี้ยวพารา สีมาดาม เดอ ตูร์แวล (Madame de Tourvel) ซึ่งเป็นคู่แข่งของเธอ แล้วสลัดทิ้งเพื่อให้มาดาม เดอ ตูร์แวล เจ็บช�้ ำใจ ความสัมพันธ์ระหว่างมาดาม เดอ แมร์เตย กับวีกงต์ เดอ วาลมง จึงเป็นอันตรายแก่ ผู้อื่นที่มาดาม เดอ แมร์เตย ถือว่าเป็นศัตรู ความเป็นมาของวรรณกรรมจดหมาย วรรณกรรมจดหมายมีมาช้านานก่อนปลายคริสต์ศตวรรษที่ ๑๘ ซึ่งลาโกล เขียน Les Liaisons dangereuses (ค.ศ. ๑๗๘๒) วรรณกรรมจดหมายเหล่านี้เขียนเป็นร้อยแก้ว มักเล่าเรื่องราว * บรรยายในการประชุมสำ �นักศิลปกรรม ราชบัณฑิตยสภา เมื่อวันที่ ๑๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๘

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=