วารสารปี-40-ฉบับที่-4-resize

การช่วยเหลือผู้แสวงหาที่ลี้ภัยซึ่งประสบภัยในทะเล 16 The Journal of the Royal Society of Thailand Volume 40 Number 4 Oct-Dec 2015 ส� ำหรับ การให้ค� ำนิยามของสถานที่ปลอดภัย อนุสัญญา ค.ศ. ๑๙๗๙ ภาคผนวกข้อ ๑.๓.๒ ให้ความหมายเพียงเรื่องความช่วยเหลือ ว่าเป็นการด� ำเนินการเพื่อช่วยเหลือบุคคล ในทะเล ให้การรักษาพยาบาลเบื้องต้นและความต้องการอื่นๆ และส่งไปยังสถานที่ปลอดภัย องค์การทางทะเล ระหว่างประเทศจึงระบุนิยามของสถานที่ปลอดภัยไว้ในคู่มือเกี่ยวกับวิธีปฏิบัติต่อผู้ได้รับความช่วยเหลือ ทางทะเล ข้อ ๖.๑๒ ว่าหมายถึงสถานที่ซึ่งการด� ำเนินการให้ความช่วยเหลือสิ้นสุดลง ซึ่งเป็นสถานที่ซึ่ง ความปลอดภัยของผู้รอดชีวิตไม่ถูกคุกคาม และสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานของผู้รอดชีวิตได้รับการตอบสนอง รวมทั้งเป็นสถานที่ซึ่งสามารถเตรียมการเดินทางไปยังจุดมุ่งหมายสุดท้ายของผู้รอดชีวิตได้ ทั้งนี้ อนุสัญญาฯ นี้ ก� ำหนดให้การพิจารณาระบุสถานที่ปลอดภัยต้องค� ำนึงถึงสภาวการณ์แวดล้อมเป็นรายกรณี โดยคู่มือ ได้ให้รายละเอียดว่า ครอบคลุมสภาพของเรือที่ให้ความช่วยเหลือ ความจ� ำเป็นในการให้บริการแพทย์และ พยาบาล การเดินทาง หน่วยงานผู้ให้ความช่วยเหลือต่าง ๆ เหตุอันควรเชื่อว่าผู้รอดชีวิตจะไม่ถูกข่มเหงหรือ ประหัตประหาร ส่วน การเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับหน้าที่และขั้นตอนในการให้ความช่วยเหลือ องค์การทางทะเลระหว่างประเทศและส� ำนักงานข้าหลวงใหญ่แห่งสหประชาชาติส� ำหรับผู้ลี้ภัย รวมทั้ง สมาคม ผู้จัดการขนส่งสินค้าทางทะเลระหว่างประเทศ ได้ร่วมกันจัดท� ำและเผยแพร่เอกสาร เมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๙ เรื่อง แนวทางของหลักการและทางปฏิบัติส� ำหรับการปฏิบัติตามหน้าที่ในการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางทะเล (Rescue at Sea : A Guide to Principles and Practice as Applied to Migrants and Refugees) เพื่อให้นายเรือ เจ้าของเรือ เจ้าหน้าที่ของรัฐ บริษัทประกันภัย และบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้องในการให้ความช่วยเหลือ ผู้ประสบภัยทางทะเลได้ทราบหน้าที่และแนวปฏิบัติเพื่อให้ผู้รอดชีวิตขึ้นฝั่งได้อย่างรวดเร็ว โดยอาจสรุปสาระ ได้ดังนี้ ประการแรกเอกสารให้ข้อมูลเกี่ยวกับหน้าที่ตามกฎหมายระหว่างประเทศ ซึ่งต้องให้ความช่วยเหลือโดยไม่ค� ำนึงถึงสัญชาติหรือสถานภาพของผู้ประสบภัย ประการต่อมาเอกสาร ให้ค� ำแนะน� ำส� ำหรับการด� ำเนินการอย่างละเอียด กล่าวคือส� ำหรับนายเรือต้องเตรียมอุปกรณ์และแผนการ เพื่อความปลอดภัยของเรือเอง ตลอดจนแจ้งให้เจ้าของเรือและตัวแทนในท่าเรือที่จะแวะต่อไป อีกทั้งต้องส่ง ข้อมูลให้กับศูนย์ประสานงานฯ ซึ่งรับผิดชอบพื้นที่ทั้งที่เกี่ยวกับรายละเอียดของการช่วยเหลือ รายละเอียด ของบุคคลผู้ได้รับการช่วยเหลือ แผนการที่จะกระท� ำและที่ได้ท� ำไปแล้ว ความช่วยเหลือที่ต้องการเพิ่มเติม และ ปัจจัยอื่น เช่น สภาพอากาศ ฯลฯ ในส่วนที่เกี่ยวกับรัฐและศูนย์ประสานงานฯ ก็ได้ระบุหน้าที่ของฝ่าย ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยย�้ ำหน้าที่ตามกฎหมายระหว่างประเทศที่จะไม่ผลักดันและส่งตัวกลับไปยังประเทศ

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=