วารสารปี-40-ฉบับที่-4-resize
จตุรนต์ ถิระวัฒน์ 15 วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๐ ฉบับที่ ๔ ต.ค.-ธ.ค. ๒๕๕๘ ประการที่สาม การเพิ่มเนื้อหาในข้อ ๓๓ วรรค ๑-๑ ซึ่งก� ำหนดให้รัฐภาคีต้อง ประสานงานและร่วมมือกันเพื่อประกันว่านายเรือผู้ให้ความช่วยเหลือจะได้รับผลกระทบจากการท� ำงานของตน น้อยที่สุด และเพื่อให้ผู้ประสบภัยได้ขึ้นฝั่งโดยเร็วที่สุดที่จะกระท� ำได้และเดินทางไปยังสถานที่ปลอดภัย (๒) การแก้ไขอนุสัญญาว่าด้วยการค้นหาและช่วยชีวิตผู้ประสบภัยทางทะเล คณะกรรมการความปลอดภัยทางทะเลขององค์การทางทะเลระหว่างประเทศ ได้ทบทวนอนุสัญญา ค.ศ. ๑๙๗๙ ตามมติที่ MSC.155(78) เมื่อวันที่ ๒๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ โดยเพิ่มเติม เนื้อหาของภาคผนวก เพื่อประกันว่าจะมีการจัดหาสถานที่ปลอดภัยไว้ให้ผู้รับความช่วยเหลือโดยไม่ค� ำนึงถึง สัญชาติ สถานะหรือบริบทที่พบบุคคลนั้น โดย ประการแรก ได้ขยายสิทธิของผู้ประสบภัยให้รวมผู้ประสบ ที่อยู่บริเวณชายฝั่งที่ไม่สามารถเข้าถึงบริการช่วยชีวิตอื่นใดได้ด้วย นอกจากที่ระบุไว้ในภาคผนวกนี้ ประการที่สอง การเพิ่มเติมข้อ ๓.๑.๔ และ ๓.๑.๙ ของภาคผนวกบทที่ ๓ เพื่อให้มีการประสานงานระหว่างรัฐต่าง ๆ ในการส่งผู้ประสบภัยไปยังสถานที่ปลอดภัยโดยทันทีที่สามารถ กระท� ำได้ และประการสุดท้ายคือ การประสานงานระหว่างศูนย์ให้ความช่วยเหลือเพื่อก� ำหนดสถานที่ปลอดภัย -การแก้ไขหลักเกณฑ์เกี่ยวกับวิธีปฏิบัติต่อผู้แสวงหาที่ลี้ภัยผู้ประสบภัย โดยการระบุแนวทางปฏิบัติส� ำหรับรัฐและนายเรือในคู่มือ องค์การทางทะเลระหว่างประเทศได้ออกข้อมติที่ ๑๖๗ (๗๘) เมื่อวันที่ ๒๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ ซึ่งเป็นข้อแนะน� ำในการปฏิบัติต่อผู้ประสบภัยส� ำหรับนายเรือและศูนย์ประสานงาน ความช่วยเหลือ (Guidelines on Treatment of Persons Rescued at Sea) โดยให้แนวทางการช่วยเหลือ ที่ละเอียดขึ้นอันอาจสรุปเนื้อหาได้ดังนี้คือ เรื่องขั้นตอนการปฏิบัติ ตามหน้าที่ซึ่งกฎหมายก� ำหนดไว้ นายเรือต้องแจ้ง ให้ศูนย์ประสานงานความช่วยเหลือทราบถึงสภาพสถานการณ์ ความช่วยเหลือที่จ� ำเป็น และสิ่งที่ได้ด� ำเนินการ ไปหรือวางแผนจะด� ำเนินการ หากไม่สามารถติดต่อศูนย์ประสานงานได้ก็ต้องพยายามติดต่อรัฐที่อาจให้ ความช่วยเหลือได้ โดยย�้ ำมิให้น� ำผู้ประสบภัยขึ้นฝั่ง ณ สถานที่ซึ่งมีอันตราย ส� ำหรับหน้าที่ของรัฐบาลและ ศูนย์ประสานงานความช่วยเหลือ ข้อมติระบุให้รัฐบาลให้อ� ำนาจที่เหมาะสมและพอเพียงแก่ศูนย์ประสานงานฯ และเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ด� ำเนินการได้ โดยรัฐบาลต้องก� ำกับดูแลให้การปฏิบัติการสอดคล้องกับ มาตรฐานที่ระบุไว้ในคู่มือการค้นหาและช่วยชีวิตทางทะเลและทางอากาศระหว่างประเทศ (International Aeronautical and Maritime Search and Rescue Manual-IAMSAR Manual) ทั้งนี้ รัฐชายฝั่งต้องช่วย บรรเทาหรือปลดเปลื้องภาระของเรือที่ให้ความช่วยเหลือมิให้ต้องแบบรับภาระที่เกินสมควร ศูนย์ประสานงานฯ ก็ต้องเตรียมพร้อมตลอดเวลาและปฏิบัติงานทันทีที่จ� ำเป็น
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=