วารสารปี-40-ฉบับที่-4-resize
เอื้อมพร มัชฌิมวงศ์ 223 วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๐ ฉบับที่ ๔ ต.ค.-ธ.ค. ๒๕๕๘ ลักษณะทั่วไปของแอลอาร์เอดี การวิจัยพัฒนาอาวุธชนิดต่าง ๆ ที่ท� ำอันตรายไม่ถึงตายของกองทัพสหรัฐอเมริกาได้ด� ำเนินมาเรื่อย ๆ จนกระทั่งเกิดเหตุการณ์ผู้ก่อการร้ายขับเรือเล็กบรรทุกระเบิดพุ่งชนเรือ US Navy Cole ในเดือนตุลาคม ค.ศ. ๒๐๐๐ (Bostwick, 2005) รัฐบาลสหรัฐอเมริกาจึงให้ทุนวิจัย ๔๐ ล้านเหรียญแก่บริษัท American Technology Corporation (ATC) เพื่อสร้างอาวุธคลื่นเสียง โดยที่ก่อนหน้านั้นใน ค.ศ. ๑๙๙๖ บริษัท แห่งนี้ประสบความส� ำเร็จในการประดิษฐ์อุปกรณ์ที่เรียกชื่อว่า “HyperSonic Sound (HSS)” ซึ่งใช้ ทรานสดิวเซอร์ชนิดไพอีโซอิเล็กทริกเป็นตัวก� ำเนิดคลื่นเหนือเสียง ๒ ความถี่ มาแทรกสอดกันแล้วกลายเป็น คลื่นเสียงที่มนุษย์ได้ยิน (Wikipedia, 2014) บริษัท ATC (ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็นบริษัท LRAD Corporation) ได้น� ำเทคโนโลยี HSS มาพัฒนาจนเป็นอุปกรณ์ที่สามารถส่งคลื่นเสียงระยะไกล เรียกว่า Long Range Acoustic Device (LRAD) หรือแอลอาร์เอดี แอลอาร์เอดีที่ผลิตขึ้นในระยะแรกมีรูปร่างคล้ายล� ำโพงทรงกลมเส้นผ่านศูนย์กลาง ๓ ฟุต ความหนา ๓ นิ้ว (Bostwick, 2005) แอลอาร์เอดีสามารถปล่อยเสียงแหลมที่ดังมากจนคนที่ได้ยินทนฟัง ไม่ได้ต้องรีบหลีกหนีออกไป ความสามารถดังกล่าวท� ำให้แอลอาร์เอดีถูกน� ำไปใช้ผลักดันกลุ่มเป้าหมาย ออกจากพื้นที่ควบคุม หลักการท� ำงานของแอลอาร์เอดี แอลอาร์เอดีมีหลักการท� ำงานที่ส� ำคัญดังนี้ (๑) การท� ำงานของแอลอาร์เอดี มี ๒ แบบวิธี ตามลักษณะการปล่อยคลื่นเสียง คือ (Acoustic Deterrent System, 2014) -แบบวิธีส่งเสียง (Voice mode) เป็นการปล่อยคลื่นเสียงในความถี่ช่วงกว้าง เสียงแผ่กระจาย รอบทิศทางเหมือนล� ำโพงทั่วไป แบบวิธีนี้ใช้ในการสื่อสารเมื่อต้องการแจ้งเตือนหรือแจ้งข่าวสารไปยัง เป้าหมายต่าง ๆ -แบบวิธีโทนเสียง (Tone mode) เป็นการปล่อยคลื่นเสียงที่มีความถี่ช่วงแคบโดยมีพลังงาน หลักอยู่ที่ความถี่ ๑ กิโลเฮิรตซ์ หรือ ๒.๕ กิโลเฮิรตซ์ หน้าคลื่นจะแผ่ออกจากตัวเครื่องเป็นมุมกว้างประมาณ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=