วารสารปี-40-ฉบับที่-4-resize

จตุรนต์ ถิระวัฒน์ 13 วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๐ ฉบับที่ ๔ ต.ค.-ธ.ค. ๒๕๕๘ ๒.๑.๑ กรณีตัวอย่าง -กรณีเรือ Tampa 22 เรือสินค้าของนอร์เวย์มีลูกเรือ ๒๗ คน ขณะที่เดินเรือ ในทะเลอาณาเขตของอินโดนีเซีย เมื่อวันที่ ๒๖ สิงหาคม ค.ศ. ๒๐๐๑ ได้รับแจ้งจากศูนย์ประสานงาน การช่วยเหลือของประเทศออสเตรเลียว่ามีเรือประสบภัยบริเวณเกาะคริสต์มาสของออสเตรเลียจึงให้ความช่วยเหลือ เรือซึ่งบรรทุกผู้โดยสารกว่า ๔๔๐ คน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้แสวงหาที่ลี้ภัยชาวอัฟกานิสถาน จึงได้น� ำผู้ประสบภัย ขึ้นเรือ แต่เรือมิได้มีอุปกรณ์ช่วยชีวิต อาหารและยาที่เพียงพอส� ำหรับผู้โดยสารจ� ำนวนมาก กลุ่มผู้ประสบภัย ได้กดดันให้นายเรือเดินทางไปประเทศออสเตรเลียแต่รัฐบาลออสเตรเลียปฏิเสธจนเรือ Tampa เองก็ประสบภัย เพราะขาดเสบียงและยารักษาโรค ส่วนออสเตรเลียก็ส่งกองทัพเรือมาป้องกันมิให้เดินเรือเข้ามาในทะเลอาณาเขต ของตน จึงต้องลอยล� ำอยู่ในทะเลหลวง แต่จากการใช้มาตรการฟ้องร้องทางศาลท� ำให้รัฐบาลออสเตรเลีย ต้องส่งเรือมารับผู้ประสบภัยและน� ำไปส่งยังประเทศปาปัวนิวกินี กรณีนี้สะท้อนปัญหาในทางปฏิบัติอย่างชัดเจน โดยออสเตรเลียในฐานะรัฐชายฝั่ง ถือว่าหน้าที่ของตนสิ้นสุดลงแล้วเมื่อประสานให้ผู้ประสบภัยได้รับความช่วยเหลือ นอร์เวย์ซึ่งเป็นรัฐเจ้าของ สัญชาติเรือที่ให้ความช่วยเหลือเห็นว่าตนได้ท� ำตามพันธกรณีในการช่วยเหลือแล้ว แต่ถูกขัดขวางมิให้น� ำ ผู้ประสบภัยไปขึ้นฝั่งยังท่าเรือที่ใกล้ที่สุด ส่วนอินโดนีเซียซึ่งเป็นประเทศทางผ่านรวมทั้งประเทศเจ้าของสัญชาติ ของผู้ประสบภัยบางคน และเป็นรัฐที่รับผิดชอบการค้นหาและช่วยเหลือในบริเวณที่เรือผู้แสวงหาที่ลี้ภัย ประสบภัยก็ปฏิเสธการช่วยเหลือโดยอ้างว่าอยู่ภายใต้การคุ้มครองของนอร์เวย์อยู่แล้ว -กรณีเรือ Cap Anamur เรือนื้ชักธงเยอรมันได้ให้ความช่วยเหลือเรือบรรทุก ผู้แสวงหาที่ลี้ภัยจากทวีปแอฟริกาที่ก� ำลังจะอับปางในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน 23 เมื่อวันที่ ๒๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๗ ใกล้เกาะลัมเปดูซาของประเทศอิตาลี โดยรับผู้ประสบภัยขึ้นเรือ ๓๗ คน แต่รัฐบาลอิตาลีปฏิเสธที่จะให้น� ำ ผู้ลี้ภัยขึ้นฝั่ง เพราะถือว่าแล่นผ่านทะเลอาณาเขตของมอลตา อีกทั้งเรือถือสัญชาติเยอรมันจึงควรรับผิดชอบ ผู้ประสบภัย ท� ำให้ต้องลอยล� ำอยู่ถึง ๑๐ วัน จนสถานการณ์บนเรือเกิดความวุ่นวายจึงต้องตัดสินใจน� ำเรือ เข้าเทียบท่าที่เกาะซิซิลีของอิตาลี แต่นายเรือ ต้นเรือ และเจ้าหน้าที่ขององค์การบรรเทาทุกข์ก็ถูกจับกุมและ ด� ำเนินคดีในข้อหาให้ความช่วยเหลือผู้เข้าเมืองที่ผิดกฎหมาย 22 Jessica E. Tauman, “Rescued at Sea, but Nowhere to Go: the Cloudy Legal Waters of the Tampa Crisis, Pacific Rim Law & Journal Association, Vol. 11 no. 2, p. 464 (2002) 23 UNHCR, “Handling of Cap Anamur Asylum claims was flawed, says UNHCR”, The UN Refugees Agency, accessed 28 June 2014, http: /www.unhcr.org/4101252e4.html

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=