วารสารปี-40-ฉบับที่-4-resize
ทศพร วงศ์รัตน์ 201 วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๐ ฉบับที่ ๔ ต.ค.-ธ.ค. ๒๕๕๘ เป็นกระบอกเสียงภาคประชาชน พยายามกล่อมเกลาคนไทย สร้างความชวนเชื่อให้เป็นที่รู้กันทุกระดับ และทั่วไป ว่า ในหมู่ผู้ปกครองไม่มีใครกลัวฝรั่ง ด้วยความสนุก เพลิดเพลินอย่างต่อเนื่อง เหมือนสร้างภูมิท� ำสงคราม จิตวิทยา อีกทั้งให้คนไทยตระหนักว่า ฝรั่งกับคนไทยทั่วไปไม่ได้แตกต่างกันนัก ในด้านความคิด ความเจริญ ทางด้านวัตถุ และจิตใจ ตลอดจนความเป็นอยู่ โดยเฉพาะพวกที่มาถึงเมืองไทย นอกจากพวกบาทหลวงแล้ว คนพวกนี้แม้ในระดับทูตก็ไม่ใช่คนดีนัก การล่วงรู้ในเรื่องนี้ เพราะได้ใกล้ชิดกับทางราชการ สุนทรภู่จึงแสดงน� ำ ด้วยการดูถูกฝรั่ง แม้ทูตตลอดนิทาน ดังนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงทรงไว้พระทัย เหมือนจะทรง สนับสนุนด้วยซ�้ ำไป ให้สุนทรภู่เป็นอิสระในงานด้านสื่อสาร ปลุกระดมความนึกคิดที่ดีแก่ประชาชน เพราะ ทรงถือว่า งานของสุนทรภู่เปรียบเหมือนประชาสัมพันธ์ ที่สอดคล้องกับพระกุศโลบาย จึงไม่ทรงเรียกสุนทรภู่ มาใช้ ในงานจารึกที่วัดพระเชตุพนฯ หรืออื่น ๆ ที่ประจักษ์จากผลการค้นคว้าของผู้เขียนก็คือ ทรงปรานีต่อ สุนทรภู่อย่างไม่เคยคาดคิดกันมาก่อน เพราะทรงวินิจฉัยด้วยพื้นฐานว่า ประเทศชาติส� ำคัญกว่า อีกทั้งเรื่อง ส่วนพระองค์กับสุนทรภู่ซึ่งก็ไม่เคยมีอะไรที่รุนแรง อย่างที่คนต่อมาพยายามปั้นเรื่องขึ้น จากความอิจฉา หรือ ความไม่รู้ ขณะที่ตัวละครในงานของสุนทรภู่ก็ทยอยจบชีวิตกันไปจนเกือบหมดแล้ว อนึ่ง ดังที่ผู้เขียนได้กล่าวไว้ในบทน� ำว่า งานนิทานค� ำกลอนพระอภัยมณีของสุนทรภู่มีบทล้อเลียน บุคคลระดับสูงไว้มาก และดูเหมือนจะมีผู้ทรงศักดิ์ล่วงรู้โดยตลอด แต่ก็ทรงวางเฉยเสีย เช่นเดียวกับบทสังวาส ข้อวินิจฉัย และความในเรื่องนี้ ผู้เขียนได้พบเป็น “พระราชปรารภประกอบเพลงยาวกลบทและกลอักษร” พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เหมือนทรงปรามสุนทรภู่ด้วยทรง “รักษใคร่” ไว้ ว่า “อันอักษรกลอนเพลงนักเลงเหล้น จะรักษใคร่ให้พอเป็นแต่พาเหียร อย่าหลงใหลในฝีปากคิดพากเพียร แท้บาปเบียนตนตามรูปนามธ� ำม์ ก็ทรงทราบว่าสังวาสนี้บาดจิตร ย่อมเป็นพิศษ์กับสัลเหลข์เนกขาม แต่บูชาไว้ให้ครบจบล� ำน� ำ เป็นที่ส� ำราญมะนัศผู้มัศการ” อนึ่ง ส� ำหรับศักดิ์ศรีของประเทศ พระองค์ยังทรงทุ่มเทเสบียง ที่จะเอาชนะศึกญวนเพื่อกู้พระเกียรติ ที่จะเอาเมืองเขมรคืน จนสุนทรภู่ได้บันทึกแทรกไว้ในนิทาน ตอนที่ ๖๒ หน้า ๑๒๔๗ ว่า “คราวสงครามสามทัพ คนนับโกฎ ต้องจ่ายโภชนาปรนพลขันธ์” อย่างไรก็ตาม น่าสังเกตว่า หลังจากอังกฤษมีชัยในสงครามฝิ่นกับจีน และมีการลงนามในสนธิสัญญา นานกิง ได้ปกครองเกาะฮ่องกง ใน พ.ศ. ๒๓๘๕ อังกฤษที่หยุดมานานก็ยังไม่ลดความคิดที่จะมาขอเปลี่ยน
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=