วารสารปี-40-ฉบับที่-4-resize
การช่วยเหลือผู้แสวงหาที่ลี้ภัยซึ่งประสบภัยในทะเล 12 The Journal of the Royal Society of Thailand Volume 40 Number 4 Oct-Dec 2015 ส� ำหรับในทะเลหลวงซึ่งมิได้อยู่ภายใต้อ� ำนาจอธิปไตยของรัฐใด ดังนั้น โดยหลักการแล้ว การใช้เขตอ� ำนาจของรัฐจึงไม่อาจเป็นไปตามหลักเขตอ� ำนาจเหนือดินแดนได้ แต่ต้องอาศัยความเกี่ยวโยง เรื่องสัญชาติของเรือ สัญชาติของผู้โดยสารหรือลูกเรือ แต่หลักการของกฎหมายระหว่างประเทศก่อให้เกิด หน้าที่กับรัฐอื่น ๆ นอกเหนือจากนี้อีกด้วย ในกรณีที่เรือของรัฐเหล่านี้อยู่ในทะเลหลวงและพบสถานการณ์ ที่ต้องได้รับความช่วยเหลือโดยทันที แม้จะมิใช่รัฐที่มีเขตอ� ำนาจเป็นการเฉพาะ แต่ตามหลักการของกฎหมาย ในเรื่องนี้ก็มีหน้าที่ด้วยเหตุผลทางมนุษยธรรมที่ต้องด� ำเนินการให้ความช่วยเหลือ ๑.๒.๔ ข้อจ� ำกัดของการให้ความช่วยเหลือ : ความสามารถที่ไม่เพียงพอของผู้ให้ ความช่วยเหลือ สนธิสัญญาทุกฉบับที่เกี่ยวข้องยืนยันว่านายเรือมีดุลพินิจที่จะพิจารณาความสามารถ ของตนเองก่อนที่จะตัดสินใจว่าจะให้ความช่วยเหลือหรือไม่ อย่างไร โดยข้อจ� ำกัดหรือเงื่อนไขส� ำคัญคือ การด� ำเนินการต้องไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อเรือ ลูกเรือและผู้โดยสารของเรือเอง เพราะนายเรือมีความรับผิดชอบหลัก คือการดูแลความปลอดภัยของเรือและผู้อยู่บนเรือ ในทางปฏิบัติแล้วความสามารถในการช่วยเหลือเป็นเรื่อง ที่ต้องพิจารณาเป็นรายกรณีเพราะความสามารถของเรือแต่ละล� ำย่อมไม่เท่ากัน ดังนั้นจึงต้องค� ำนึงถึง ประเภท ของเรือ ขนาด จ� ำนวนลูกเรือ และเสบียง อุปกรณ์เพื่อความปลอดภัย ตัวอย่างส� ำคัญของปัญหาคือกรณีเรือ Tampa ซึ่งเป็นเรือสินค้าของนอร์เวย์ที่ให้ความช่วยเหลือผู้ลี้ภัยจ� ำนวนมากจนเกินควรท� ำให้ต้องตกอยู่ในฐานะ ประสบภัยภิบัติเอง อย่างไรก็ตาม การปฏิเสธที่จะให้ความช่วยเหลือต้องระบุสาเหตุอย่างแจ้งชัดไว้ ในสมุดบันทึกการเดินเรือ (logbook) ๒. ปัญหาในการให้ความช่วยเหลือ และสาเหตุตลอดจนแนวทางในการแก้ไข แม้หน้าที่ในการให้ความช่วยเหลือจะได้รับการยืนยันและยอมรับเป็นการทั่วไปว่าเป็นหลักการ ของกฎหมายระหว่างประเทศ แต่การปฏิบัติตามข้อผูกพันก็ประสบปัญหาต่างๆ ซึ่งในเชิงนิติศาสตร์อาจวิเคราะห์ ได้ว่าเป็นเพราะความไม่สมบูรณ์หรือการขาดความชัดเจนของกฎเกณฑ์ในรายละเอียด และปัญหาเกี่ยวกับ ขอบเขตของพันธกรณีในการให้ความช่วยเหลือว่าครอบคลุมไปเพียงใด จึงสมควรศึกษาและพิจารณาแนวทาง แก้ไขปัญหาตามล� ำดับต่อไปนี้ ๒.๑ ปัญหาความไม่สมบูรณ์และไม่ชัดเจนของกฎเกณฑ์และแนวทางแก้ไข ความไม่สมบูรณ์ของกฎเกณฑ์อาจยืนยันได้จากปัญหาที่เกิดขึ้นในทางปฏิบัติในกรณีตัวอย่าง ต่าง ๆ ซึ่งน� ำไปสู่การหาทางแก้ไขให้ชัดเจนขึ้นดังจะอธิบายต่อไปนี้
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=