วารสารปี-40-ฉบับที่-4-resize

ฝรั่งเหตุจูงใจสุนทรภู่แต่งนิทานพระอภัยมณีค� ำกลอน 200 The Journal of the Royal Society of Thailand Volume 40 Number 4 Oct-Dec 2015 “พระบาลีดีใจให้อนุญาต พลางโอวาทฝากฝังนางทั้งสอง แล้วก็พานารีทั้งพี่น้อง เข้าในห้องให้ต� ำราวิชาการ กุลสตรีวิสัยในมนุษย์ ให้สิ้นสุดสอนสั่งเหมือนดังหลาน แล้วเขียนหนังสือลับพับเหล็กลาน กลการลึกล�้ ำที่ส� ำคัญ” โดยทรงใช้วัดที่พระองค์ทรงสถาปนาและปฏิสังขรณ์ ในเขตนครหลวงและใกล้เคียง รวมกว่า ๗๐ แห่ง โดยเฉพาะที่กลางกรุง คือ วัดพระเชตุพนฯ เหมือนเป็นศูนย์รวมของวิชาหลายแขนงส� ำหรับคนทั่วไป จนเริ่ม มีผลให้ฝรั่งหันมาสนใจ ใช้เวลาวาดภาพไว้เป็นหลักฐาน ติดตามความเคลื่อนไหวของคนไทย ที่มีถาวรวัตถุใหม่ เกิดขึ้นตลอดเวลา นอกเหนือจากความตื่นเต้นกับความสมบูรณ์ของธรรมชาติ ป่าดงริมแม่น�้ ำล� ำคลอง ที่มีมากมาย จนได้ชื่อว่า เวนิสแห่งตะวันออกมานาน ที่แตกต่างกับบ้านเมืองอื่น แม้ที่ใกล้เคียง เพราะยังชุกชุมด้วยสัตว์ ใหญ่เล็ก เช่น ช้าง เสือ ลิง จนกระทั่งหิ่งห้อยหรือยุง และปลานานาพรรณ ตลอดจนวิถีชีวิตการอยู่อาศัย ของคนไทย ตามเรือนแพ และเรือเล็กมากมาย แล้วยังมีคนต่างชาติต่างภาษา ต่างความเชื่อ มารวมกันเป็น สังคมที่แปลก ที่ดึงดูดฝรั่งให้ประหลาดใจ กับความยากจนแต่กลับเอื้ออารียิ้มแย้มแจ่มใสของคนเจ้าของประเทศ ที่ยังมีงานรื่นเริง และการปล่อยนก ปล่อยปลา ปล่อยสัตว์ที่ถึงฆาต ไม่เหมือนชาติอื่น ๆ จนน่าจะมีส่วน ไม่มากก็น้อยที่ท� ำให้ฝรั่งเกิดความสงสัย ลังเลล่าช้า จนเสื่อมถอย และละเลยที่จะทวีการคุกคามเมืองไทย อนึ่ง ที่น่าสนใจส� ำหรับชาวต่างประเทศทางตะวันตกอีกก็คือ คนไทยยังมีการเล่นดนตรีไม่แพ้ ในบ้านเมืองของเขา เพียงแต่ต่างออกไป เช่น ตามพระต� ำหนักเจ้าฟ้า เจ้าแผ่นดิน ราชนิกูล อ� ำมาตย์ ข้าราชการ แม้ประชาชน ก็ล้วนมีวงมโหรี และการขับร้องขับกล่อม เหมือนแข่งกัน เช่น ที่สุนทรภู่แต่งไว้ในนิทานพระอภัยมณี ตอนที่ ๑๖ หน้า ๒๓๑ และผู้เขียนขอน� ำมากล่าวอีกครั้ง ว่า “มีเมียสาวราวยี่สิบล้วนโสภา ที่หมดหน้านั้นให้หัดมโหรี คืนวันนั้นบันดาลให้ร่านร้อน หิวหาวนอนนั่งเหงาบนเก้าอี้ ร้องเรียกเหล่าเมียน้อยดอกสร้อยดี ให้ดีดสีขับเพลงวังเวงใจ” ในส่วนของสุนทรภู่ เมื่อสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเดชาดิศร มีพระนิพนธ์ “โคลงโลกนิติ” เป็นจารึกรวม ๔๐๘ บท ลงแผ่นศิลาติดไว้ที่วัดพระเชตุพนฯ สุนทรภู่ก็มีงานเหมือนท้าทายด้วยเรื่อง “สุภาษิตสอนสตรี” และ “สุภาษิตสอนเด็ก” การสร้างนิทาน “พระอภัยมณีค� ำกลอน” ตลอดเวลาอันยาวนาน ถึง ๒๒ ปี ก็นับว่ามีส่วนอย่างมาก เพราะเมื่อแต่งมาถึงระดับหนึ่ง ก็เริ่มที่จะท� ำการปลุกระดมความคิด ความอ่าน สอนความเชื่อมั่น และจิตส� ำนึกของคนไทย ครั้งแล้วครั้งเล่า เหมือนอาสาสมัครหรือผู้ปิดทองหลังพระ

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=