วารสารปี-40-ฉบับที่-4-resize

ฝรั่งเหตุจูงใจสุนทรภู่แต่งนิทานพระอภัยมณีค� ำกลอน 184 The Journal of the Royal Society of Thailand Volume 40 Number 4 Oct-Dec 2015 แต่นั่นก็เป็นการบอกเล่าการบวชของตัวเองเป็นนิทาน โดยก่อนนั้นเมื่อสุนทรภู่ต้องการท� ำให้เป็น หลักฐานชัดเจนขึ้น เช่น ในครั้งแต่ง “นิราศภูเขาทอง” ตอนเดือน ๑๑ ปีขาล พ.ศ. ๒๓๗๓ และที่สุด ต่อมาจากนั้นอีก ๑๒ ปี พอดี เมื่อแต่ง “ร� ำพันพิลาป” ถึงบทระลึกความหลัง ก็กล่าวเพิ่มเติมจนครบถ้วน ขึ้นอีก ซึ่งจะหมายถึงพระองค์ใดบ้าง ก็เป็นไปตามประวัติล� ำดับของพระกรุณาธิคุณ ที่สุนทรภู่ได้รับจาก แต่ละพระองค์ที่ผ่านมา ว่า “จะสร้างพรตอตส่าห์ส่งส่วนบุญถวาย ประพฤติฝ่ายสมถะทั้งวสา เป็นสิ่งของฉลองคุณมุลลิกา ขอเป็นข้าเคียงบาททุกชาติไปฯ” “แต่ปีวอกออกขาดราชกิจ บรรพชิตพิศวาสพระศาสนา” เป็นธรรมเนียมเช่นเดียวกันกับรัชกาลที่ผ่านมา กล่าวคือ ครั้นถึงวันเสาร์ที่ ๑๖ กรกฎาคม ปีระกา พ.ศ. ๒๓๖๘ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวได้โปรดเกล้าฯ ให้แต่งทูตเชิญพระราชสาส์น พร้อม เครื่องราชบรรณาการตามธรรมเนียม ออกไปเจริญพระราชไมตรีถึงพระเจ้าเตากวางแห่งกรุงจีนที่ปักกิ่ง ใจความว่า พระเจ้ากรุงศรีอยุธยาราชาภิเษกใหม่ ขอให้ทรงพระเมตตาด้วย ในช่วงไทยเปลี่ยนรัชกาล ใน พ.ศ. ๒๓๖๗ นี้เอง อังกฤษได้มีข้อตกลงกับฮอลันดาในการยก กรรมสิทธิ์การปกครองเมืองเบนคูเลน (Benkoelen) บนเกาะสุมาตรา โดยแลกกับมะละกาบนแหลมมลายู และ ๒ ปีต่อมา อังกฤษได้รวมปีนัง สิงคโปร์ และมะละกา เข้าด้วยกันเป็นเขตแดนที่เรียก Straits Settlements ใน พ.ศ. ๒๓๖๙ และในปีเดียวกันนี้ ด้วยสนธิสัญญาอังกฤษกับสยาม หรือสนธิสัญญาเบอร์นี ไทยก็เสีย การปกครองในเขตตรังกานู กะลันตัน และยะโฮร์ ยกเว้นไทรบุรี ให้อังกฤษโดยถือเป็นเขตปกครองแห่งหนึ่ง ของอังกฤษที่อินเดีย เป็นการพยายามสกัดการขยายอ� ำนาจของไทยลงไปในแหลมมลายู พร้อมๆ กับการเดินแต้ม ทางการทูต และหาทางผูกพันกันในทางการค้า ด้วยข้อตกลงต่าง ๆ ที่ต่อไปสามารถใช้เป็นเครื่องต่อรอง คุกคามไทยได้เพราะรู้ว่าไทยไม่เต็มใจอยู่แล้ว อย่างที่เคยหาเรื่องเช่าจังหวัดเวลเลสลีย์จากพระยาไทรบุรี โดยต่อมา ลอร์ดแอมเฮิรสต์ (Lord Amhurst) ผู้ส� ำเร็จราชการหรืออุปราชอังกฤษแห่งอินเดีย ได้แต่ง ให้กัปตัน หรือร้อยเอกเฮนรี เบอรนี ซึ่งคนไทยสมัยนั้นเรียก “กะปิตันบารนี” พูดไทยได้ รับราชการอังกฤษ อยู่ที่เกาะหมาก เป็นราชทูตคนที่สอง และ มักฝักกัว เป็นอุปทูตเข้ามาเจรจาท� ำสัญญาการค้าด้วยเรือชื่อ “Guardian” เพื่อขอให้ฝ่ายไทยลดค่าธรรมเนียมภาษีอากรที่เก็บจากเรือสินค้าขาเข้ารวมทั้งขาออกให้แน่นอน เพื่อถือเป็นหลักปฏิบัติต่อไป และต้องการแจ้งอีกว่า เจ้าเมืองเบงกอลให้เข้ามาเจรจาทางพระราชไมตรี อีกทั้งการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโปรดให้มีกองทัพไปช่วยอังกฤษนั้นขอบพระเดชพระคุณ เป็นอย่างยิ่ง เขาได้เดินทางมาถึงไทยเมื่อวันที่ ๒ ธันวาคม ปีระกา พ.ศ. ๒๓๖๘ และได้เข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จ

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=