วารสารปี-40-ฉบับที่-4-resize

ฝรั่งเหตุจูงใจสุนทรภู่แต่งนิทานพระอภัยมณีค� ำกลอน 182 The Journal of the Royal Society of Thailand Volume 40 Number 4 Oct-Dec 2015 เพราะยังเป็นการแต่งเพื่อเทิดพระเกียรติ ควบกับกรมพระราชวังหลัง ที่สุนทรภู่ได้รับการอบรม ปลูกฝังจากพระองค์ อีกทั้งพระอุปการะมาตั้งแต่ครั้งมารดาและบิดา สุนทรภู่จึงแต่งให้พระองค์อยู่ในร่างของ ท้าวทศวงศ์ เจ้าเมืองรมจักร ค้างไปจนจบเรื่อง เป็นค� ำกลอนใน ตอนที่ ๖๔ ตอนสุดท้าย หน้า ๑๒๖๗ ว่า “แล้วเชิญองค์ทรงยศท้าวทศวงศ์ ไปด� ำรงรมจักรนัครา” ส่วนพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในร่างของท้าวสุทัศน์ พร้อมนางปทุมเกษร ในภาพของสมเด็จพระศรีสุริเยนทรา บรมราชินี หรือสมเด็จเจ้าฟ้ากุลฑลทิพยวดี สุนทรภู่ก็แต่งควบให้จบบทบาทพร้อมมารดา และบิดาของตัวเองที่เพิ่งถึงแก่กรรม (ตอนที่ ๔๖, ๕๐ หน้า ๙๒๖, ๑๐๒๗) ในเดือนยี่ ปีฉลู พ.ศ. ๒๓๘๔ และในปลายเดือน ๑๑ ปีขาล พ.ศ. ๒๓๘๕ ตามล� ำดับ ไว้ใน ตอนที่ ๕๒ หน้า ๑๐๖๗ ด้วยค� ำกลอน เป็นเค้าวันสวรรคตของพระองค์ไว้ ว่า “เดือนแปดปีวอกตะวันสายัณห์ย�่ ำ สิบเอ็ดค�่ ำพุธวันขึ้นบรรจถรณ์ ฤกษ์อรุณทูลกระหม่อมจอมนิกร สองภูธรเธอสวรรค์ครรไล” ในส่วนของสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อเสด็จขึ้นครองราชย์ สุนทรภู่ได้เริ่มแต่งนิทานเป็น เหตุการณ์สดให้พระองค์ และเจ้าจอมมารดาบาง กับพระองค์เจ้าหญิงวิลาส หรือต่อมาคือ กรมหมื่นอัปสร สุดาเทพ อยู่ในร่างของท้าวสิลราชและนางมณฑา กับนางสุวรรณมาลีแห่งเมืองผลึก ส่วนตัวเองที่มีประวัติเป็น “ราชกวี” ก็มีความเป็นปรกติสุข เหมือนยังคงเป็น “ราชกวี” แต่ท� ำงานอิสระ มิได้มีราชภัยใด ๆ จากพระองค์ ดังที่มีผู้กล่าวในแง่ร้ายกันตลอดมา ไว้เป็นค� ำกลอนเริ่มในตอนที่ ๑๑ หน้า ๑๖๐ ขณะบ้านเมืองที่ผ่านมา ก็ยังสงบ ว่า “ จะกล่าวเรื่องเมืองผลึกราชฐาน ป้อมปราการเชิงเทินล้วนเนินผา” “อันไพร่ฟ้าประชาชนออกล้นหลาม นิคมคามประเทศล้วนเศรษฐี ทั้งโหราพฤฒามาตย์ราชกวี ชาวบุรีเริงรื่นทุกคืนวัน พระนามท้าวเจ้าบุรินทร์สิลราช พระนางนาถนามมิ่งมณฑาสวรรค์ มีบุตรีศรีนลาฏดังดวงจันทร์ ชื่อสุวรรณมาลีนีรมล” สุนทรภู่ได้แต่งนิทานพระอภัยมณีเหมือนกับจะตั้งใจที่จะเทิดพระเกียรติทั้งกรมพระราชวังหลัง ซึ่งต้องท� ำมานานแล้ว และพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย แต่เมื่อพระองค์มาด่วนสวรรคตกะทันหัน จึงคงจะต้องมีส่วนเป็นอย่างมาก เหมือนเป็นภาคบังคับ และอีกส่วนหนึ่งเหมือนเป็นประเพณีที่สุนทรภู่ ในฐานะส่วนตัวจะต้องบวชถวายทั้ง ๒ พระองค์ไปพร้อมกัน เป็นการ “บรรพชารักษากิจ” ดังนั้น หลักฐาน การบวชของสุนทรภู่ เข้าใจว่าเป็นในราวเดือน ๑๑ ปีวอก พ.ศ. ๒๓๖๗ พร้อมการบรรพชาของหนูพัด ซึ่งขณะนั้นมีอายุประมาณ ๑๖-๑๗ ปี จึงมีกล่าวโดยสุนทรภู่ไว้ใน ตอนที่ ๑๒ หน้า ๑๗๑ พร้อมอ้างว่า

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=