วารสารปี-40-ฉบับที่-4-resize
การช่วยเหลือผู้แสวงหาที่ลี้ภัยซึ่งประสบภัยในทะเล 10 The Journal of the Royal Society of Thailand Volume 40 Number 4 Oct-Dec 2015 เพื่อแก้ไขปัญหาในทางปฏิบัติเรื่องระดับที่แตกต่างกันของความพร้อมของรัฐชายฝั่ง อนุสัญญา ค.ศ. ๑๙๗๙ จึงถูกจัดท� ำขึ้นเพื่อจัดตั้งระบบการค้นหาและช่วยเหลือผู้ประสบภัยที่มีประสิทธิภาพ มากขึ้นและทันท่วงที โดยก� ำหนดให้การช่วยเหลือไม่ต้องค� ำนึงถึงสถานะของผู้ประสบภัยและต้องมีการ ประสานงานกัน ดังนั้น จากพันธกรณีตามอนุสัญญาฉบับนี้ท� ำให้มีความร่วมมือระหว่างรัฐต่าง ๆ เพื่อจัดตั้ง เขตการค้นหาและช่วยเหลือซึ่งครอบคลุมบริเวณพื้นที่ทางทะเลทั่วโลก โดยมีรัฐรับผิดชอบที่ชัดเจนตามแต่ละเขต ในทางปฏิบัติรัฐได้ก่อตั้งหน่วยงานรับผิดชอบเป็นการเฉพาะและร่วมมือกับรัฐเพื่อนบ้านในการปฏิบัติ เช่น ศูนย์ประสานงานการช่วยเหลือของประเทศออสเตรเลียและอีกหลายประเทศในทวีปแอฟริกา ทั้งนี้ เพื่อประสาน ความช่วยเหลือรวมถึงการส่งกองก� ำลังไปช่วยเหลือ เช่น กรณีของกองทัพเรืออิตาลีที่ด� ำเนินการช่วยเหลือ ผู้ประสบภัยจากทวีปแอฟริกา ไทยในฐานะภาคีของอนุสัญญาต่าง ๆ จึงมีหน้าที่ต้องด� ำเนินการให้สอดคล้อง ในด้านนี้ด้วย ๑.๒.๒ ผู้มีสิทธิได้รับความช่วยเหลือ และเงื่อนไข สนธิสัญญาที่เกี่ยวข้องใช้ค� ำที่แตกต่างกัน กล่าวคืออนุสัญญา ค.ศ. ๑๙๑๒ และ อนุสัญญา ค.ศ. ๑๙๗๙ กล่าวถึงผู้ประสบภัยพิบัติทางทะเล ในขณะที่อนุสัญญา ค.ศ. ๑๙๑๐ และอนุสัญญา ค.ศ. ๑๙๘๙ ใช้ค� ำว่า ผู้เสี่ยงต่อการสูญหาย ส่วนอนุสัญญา ค.ศ. ๑๙๕๘ และอนุสัญญาสหประชาชาติ ค.ศ. ๑๙๘๒ ใช้ทั้งสองค� ำ ดังนั้น จึงควรศึกษาว่าเกี่ยวข้องกับผู้ใดในรายละเอียดต่อไปนี้ -ผู้ประสบภัยภิบัติทางทะเล จนถึง ค.ศ. ๑๙๗๙ ยังปราศจากค� ำนิยามที่ชัดเจนของค� ำว่าภัยพิบัติทางทะเล ท� ำให้มีปัญหาตีความว่าภัยที่ประสบต้องมีระดับความร้ายแรงเพียงใด จนกระทั่งอนุสัญญา ค.ศ. ๑๙๗๙ ได้กล่าวถึงช่วงระยะเวลาของการประสบภัยว่ามี ๓ ระยะ กล่าวคือ ระยะเวลาของความไม่แน่นอนเกี่ยวกับ ความปลอดภัยของเรือและผู้อยู่บนเรือ ระยะเวลาของการเตือนภัยซึ่งสะท้อนความวิตกเรื่องความปลอดภัย และระยะเวลาของการประสบภัยภิบัติ ซึ่งมีความชัดเจนว่าเรือและบุคคลบนเรือตกอยู่ในอันตรายร้ายแรง และต้องการความช่วยเหลือในทันที โดยระบุสถานการณ์ไว้ว่าเป็นกรณีที่ได้รับข้อมูลอย่างแน่นอน และ เมื่อล่วงเลยระยะของการเตือนภัยมาแล้ว แต่ความพยายามในการติดต่อกับเรือยังไม่ประสบความส� ำเร็จ รวมถึง กรณีที่ได้รับข้อมูลว่าการท� ำงานของเรือประสบความเสียหายจนมีความเป็นไปได้ว่าเรือประสบภัยภิบัติ ดังนั้น การประสบภัยภิบัติเป็นกรณีที่อาจเกิดขึ้นได้จากสาเหตุต่าง ๆ เช่น การประสบเพลิงไหม้ น�้ ำเข้าเรือ เรือเกยฝั่ง ความชัดเจนเกี่ยวกับความหมายปรากฏขึ้น เมื่อ ค.ศ. ๒๐๐๔ จากการท� ำงานของ คณะกรรมการความปลอดภัยทางทะเล ซึ่งเป็นหน่วยงานขององค์การทางทะเลระหว่างประเทศ โดยการเพิ่มเติม
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=