วารสารปี-40-ฉบับที่-4-resize

ทศพร วงศ์รัตน์ 177 วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๐ ฉบับที่ ๔ ต.ค.-ธ.ค. ๒๕๕๘ อนึ่ง ในปีเดียวกันกับแฝดอิน-จันดังกล่าว สุนทรภู่ที่เดินทางกลับมาจากธุดงค์ระหว่างต้นปีจอ พ.ศ. ๒๓๖๙ ถึงก่อนเข้าพรรษา ปีชวด พ.ศ. ๒๓๗๑ ได้รับบิดาที่สึกจากพระที่วัดบ้านกล�่ ำ เมืองแกลง จังหวัด ระยอง กับหลานฝาแฝดม่วงและค� ำ มาขอรับพระอุปถัมภ์จากกรมพระราชวังบวรมหาศักดิพลเสพ ที่วังหน้า จึงน่าจะเป็นต้นเหตุจูงใจให้สุนทรภู่สร้างตัวละครแฝดหญิงสร้อยสุวรรณจันทร์สุดา ขึ้นในนิทานตั้งแต่ตอนที่ ๒๖, ๒๘ หน้า ๔๐๕, ๔๕๕ อนึ่ง นายฮันเตอร์ก็เคยสร้างปัญหาขึ้น เช่น ในวันที่ ๘ กันยายน ปีมะแม พ.ศ. ๒๓๗๘ เมื่อเขาได้ช่วย แนะน� ำจนกัปตันเรือชาวอังกฤษชื่อเวลลาร์ได้ไปยิงนกในวัดเกาะ (วัดเกาะแก้วลังการาม) หรือวัดสัมพันธ- วงศาราม ในกรุงเทพฯ ใกล้ที่พักของศาสนาจารย์นายแพทย์แดน บีช บรัดเลย์ (Dan Beach Bradley) เมื่อแรก ที่เข้ามาเมืองไทยจากอเมริกา ตั้งแต่วันที่ ๑๘ กรกฎาคม ปีมะแม พ.ศ. ๒๓๗๘ จนนายเวลลาร์ถูกพระและเณร ในวัดรุมท� ำร้าย แล้วนายแพทย์บรัดเลย์ได้เข้าช่วยเหลือ ครั้งนั้น นายฮันเตอร์ยังเคยดูหมิ่นเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน และท� ำทีขอยิงสลุตจากเรือ แต่ฝ่ายไทยไม่อนุญาต เพราะเคยขู่ว่า จะยิงพระราชวัง หากไม่มีการลงโทษฝ่ายไทย นายฮันเตอร์มีพฤติกรรมติดเหล้า จนเป็นโรคพิษสุราเรื้อรัง หลายครั้งเมามาย แต่ก็ท� ำธุรกิจการค้า ได้รุ่งเรืองใต้ร่มพระบารมี จนล่วงเลยมาอีก ๑๙ ปี ถึงวันที่ ๓ มกราคม ปีมะโรง พ.ศ. ๒๓๘๗ นายฮันเตอร์ และ กัปตันบราวน์ ยังได้น� ำเรือกลไฟใช้ใบจักรชื่อ “Express” ขนาดใหญ่มาก สร้างด้วยเหล็กมาหลอกเชิงบังคับขาย ในราคาแพง ทั้งที่เป็นเรือเก่า พร้อมอาวุธปืน ๒๐๐ กระบอกที่บรรทุกมา ทั้ง ๆ ที่ฝ่ายไทยได้เคยซื้อไปแล้ว ตามสัญญาร้อยกว่ากระบอก ซึ่งก็เพียงพอ เพราะตอนนั้นสงครามไทยกับญวนได้เริ่มจะสิ้นสุดลงแล้ว เนื่องจาก ฝรั่งเศสมาแทรกแซง โดยบุกเข้าญวน เมื่อปัญหาลุกลามถึงขั้นเจ้าหน้าที่ฝ่ายไทยต้องเข้ายึดกระสุนดินปืนไว้ก่อน นายฮันเตอร์ก็ท� ำเรื่องให้อังกฤษส่งกองเรือมายิงและยึดเมืองไทย จนในที่สุดพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีรับสั่งให้ขับนายฮันเตอร์ออกไป ด้วยพระองค์ทรงเข้มแข็งในการบ้านการเมืองของพระองค์เป็นอย่างมาก ในหลายเหตุการณ์ เพราะอังกฤษมีแผนที่จะยึดครองเมืองไทยจริง จากค� ำยุของพ่อค้าเหล่านี้ที่สร้างปัญหา นายฮันเตอร์ยังมีภรรยาเป็นคนไทย แต่ในบั้นปลายชีวิตมีเพียงตัวเขาเองกลับไปอยู่อังกฤษ และ เสียชีวิตเมื่อ พ.ศ. ๒๓๙๑ ดังนั้น นอกจากเสียงปี่สกอต จะได้ยินได้ฟังโดยคนไทย จากเรือก� ำปั่นของฝรั่งอังกฤษ หรือสกอต ครั้งแล้วครั้งเล่าแล้ว แหล่งของเสียงปี่ชนิดนี้ในยามค�่ ำคืนของแม่น�้ ำเจ้าพระยา เขตกรุงเทพฯ ยังคงจะต้องดังมาจาก ที่พ� ำนักของนายฮันเตอร์ คือ โรงสินค้าหรือห้างหันตรา บริเวณกุฎีจีน เป็นที่ชุมนุมของฝรั่งนักเดินทาง แม้ที่เป็นทูต ดังค� ำกลอนใน “ร� ำพันพิลาป” ที่กล่าวมาแล้วว่า “เดิมของแขกแตกฝรั่งไปตั้งตึก แลพิลึกครึกครื้น ขายปืนผา”

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=