วารสารปี-40-ฉบับที่-4-resize

จตุรนต์ ถิระวัฒน์ 9 วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๐ ฉบับที่ ๔ ต.ค.-ธ.ค. ๒๕๕๘ ไม่อาจเรียกร้องค่าตอบแทนใด ๆ เว้นแต่กรณีการกู้เรือและทรัพย์สินในคราวเดียวกัน (ข้อ ๙ ของอนุสัญญา ค.ศ. ๑๙๑๐ และ ข้อ ๘๗ ของอนุสัญญาสหประชาชาติ ค.ศ. ๑๙๘๒) -รัฐเจ้าของสัญชาติเรือ หรือรัฐเจ้าของธง ธงของเรือเป็นสัญลักษณ์ที่บ่งบอก สัญชาติของเรือและแสดงว่าเรือถือสัญชาติของรัฐที่ท� ำการจดทะเบียนเรือ 19 อนุสัญญา ค.ศ. ๑๙๕๘ ว่าด้วย ทะเลหลวงได้บัญญัติบทบาทและหน้าที่ของรัฐเจ้าของธงในการควบคุมเรือของตนเป็นครั้งแรกและถูกยืนยัน ต่อมาในอนุสัญญาสหประชาชาติ ค.ศ. ๑๙๘๒ โดยรัฐเจ้าของธงมีหน้าที่ดูแลให้เรือที่ชักธงชาติของตน ปฏิบัติตามกฎหมายระหว่างประเทศ ซึ่งการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางทะเลก็เป็นหน้าที่ประการหนึ่ง ซึ่งรัฐเจ้าของธงต้องก� ำหนดให้นายเรือต้องปฏิบัติตามโดยอาศัยการออกมาตรการต่าง ๆ รวมถึงกฎระเบียบ ภายในและบทลงโทษในกรณีที่มีการฝ่าฝืน แต่ปัญหาในทางปฏิบัติก็คือ กรณีเรือที่ชักธงตามสะดวก (flag of convenience) ซึ่งเกี่ยวกับการที่รัฐจดทะเบียนเรือโดยมิได้ค� ำนึงถึงความสัมพันธ์ที่แท้จริงระหว่างรัฐ เจ้าของสัญชาติกับเรือที่ได้รับอนุญาตให้ชักธงของตน เพราะรัฐผู้จดทะเบียนให้ความส� ำคัญเฉพาะกับผลประโยชน์ ที่ได้รับจากการจดทะเบียนให้สัญชาติเรือ แต่ไม่เคร่งครัดเรื่องการบังคับใช้กฎเกณฑ์ต่าง ๆ โดยเฉพาะเรื่อง หน้าที่ในการให้ความช่วยเหลือ 20 -รัฐชายฝั่ง รัฐชายฝั่งมีบทบาทส� ำคัญเกี่ยวกับการด� ำเนินการให้ความช่วยเหลือ ในทางปฏิบัติ เนื่องจากเป็นผู้มีความพร้อมด้านอุปกรณ์ ยานพาหนะ และก� ำลังคน กฎหมายระหว่างประเทศ ได้ก� ำหนดหน้าที่ให้รัฐชายฝั่งจัดเตรียมอุปกรณ์ในการช่วยเหลือ กล่าวคือ อนุสัญญา ค.ศ. ๑๙๑๒ ก� ำหนด ให้รัฐชายฝั่งเตรียมการที่จ� ำเป็นเพื่อสังเกตการณ์และให้ความช่วยเหลือ ซึ่งสนธิสัญญาฉบับต่อมาก็ยืนยันไว้ โดยอนุสัญญา ค.ศ. ๑๙๘๒ ระบุรายละเอียดว่า ต้องส่งเสริมการจัดตั้ง การด� ำเนินการและการธ� ำรงไว้ซึ่งบริการ การค้นหาและช่วยชีวิตที่เพียงพอและมีประสิทธิภาพในทะเล และในกรณีจ� ำเป็น รัฐชายฝั่งต้องร่วมมือกับ รัฐเพื่อนบ้านในการท� ำข้อตกลงร่วมกัน อย่างไรก็ตาม สนธิสัญญาทั้งหลายมิได้ก� ำหนดให้รัฐชายฝั่งมีหน้าที่ต้องรับผู้ประสบภัย ขึ้นฝั่งจึงเป็นปัญหาในทางปฏิบัติที่จะวิเคราะห์ต่อไป 19 Campbell RD, “The Ship’s Register: A History of British Ship status and Registration Procedure including their adoption in New Zealand”, Ministry of Transportation, Marine Division, New Zealand (1980) : quoted in Mansell J.N.K., Flag State Responsibility: Historical Development and Contemporary Issue, (Spring 2009), p. 2 20 Richards Barnes, “Refugee Law at Sea”, International & Comparative Law Quarterly, 2014, p. 5: Martin Davies, “Ships’ Obligations to Rescue Persons at Sea”, Pacific Rim Law & Policy Journal Association, p. 125 (2003)

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=