วารสารปี-40-ฉบับที่-4-resize

ฝรั่งเหตุจูงใจสุนทรภู่แต่งนิทานพระอภัยมณีค� ำกลอน 170 The Journal of the Royal Society of Thailand Volume 40 Number 4 Oct-Dec 2015 ก่อนนั้น ตั้งแต่ในปีมะโรง พ.ศ. ๒๓๖๓ ผู้ส� ำเร็จราชการอินเดียของอังกฤษ ได้แต่งพ่อค้าเข้ามาสืบ งานในกรุงเทพฯ ได้ความออกไปว่า ใน ๒-๓ ปีที่ผ่านมา มีเรือฝรั่งชาติอเมริกาบ้าง โปรตุเกสบ้าง อังกฤษบ้าง เข้ามาค้าขายถึงกรุงเทพฯ ไทยก็ยอมให้ค้าขายไม่รังเกียจ ด้วยไทยก� ำลังต้องการเครื่องศาสตราวุธที่จะท� ำศึก กับพม่า อยากให้พ่อค้าบรรทุกปืนเข้ามาขาย จึงเห็นเป็นช่องทางที่จะเข้ามาท� ำไมตรีให้มีการค้าขาย เจริญขึ้น อีกได้ แต่อังกฤษมีความรังเกียจอยู่ด้วยเรื่องวิธีเก็บภาษีอากรของไทยและของญวน (ด� ำรงราชานุภาพ, ๒๕๔๖) เมื่อครอว์เฟิร์ดเดินทางมาถึงเกาะหมากในวันที่ ๑๑ ธันวาคม ปีมะเส็ง พ.ศ. ๒๓๖๔ พระยานครฯ ได้ตีเมืองไทรบุรีได้แล้วตั้งแต่วันที่ ๑๐ ธันวาคม พระยาไทรบุรีจึงได้ส่งข้อความไปถึงรัฐบาลอังกฤษที่อินเดีย ให้ครอว์เฟิร์ดเจรจาเรื่องเมืองไทรบุรีกับไทย ด้วยความประสงค์ให้ได้พ้นจากอ� ำนาจเมืองนครศรีธรรมราช เพราะเมืองไทรบุรีเป็นประเทศราชอยู่ใกล้ชิดกับเกาะหมาก ดินแดนของอังกฤษที่ยังต้องพึ่งทรัพยากร เสบียงอาหารจากเมืองไทรบุรี จอห์น ครอว์เฟิร์ด เป็นนายแพทย์เชื้อสายสกอต เดินทางเข้ามาถึงเมืองไทยด้วยเรือก� ำปั่นใบ “จอห์น อาดัม” (John Adam) ในวันที่ ๒๔ มีนาคม ปีมะเมีย พ.ศ. ๒๓๖๕ ได้เข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า นภาลัย เพื่อทูลเกล้าถวายพระราชสาส์นและเครื่องบรรณาการ จากนั้นก็ได้เข้าพบและเจรจาปรึกษาข้อราชการ กับขุนนางฝ่ายไทย แต่การเจรจาไม่เป็นผล เพราะครอว์เฟิร์ดแสดงกิริยาไม่เหมาะสม โอหัง ดูหมิ่นไทย เอาเปรียบในการเจรจา อีกทั้งที่ส� ำคัญคือทั้ง ๒ ฝ่ายไม่เข้าใจในภาษาซึ่งกันและกัน เพราะด้วยการเจรจา ที่ต้องผ่านล่ามซึ่งเป็นคนชั้นไพร่ สาเหตุของปัญหาอีกประการหนึ่งคือ ครอว์เฟิร์ดมีนายแพทย์จอร์จ ฟินเลย์สัน (George Finlayson) ชาวสกอตอีกเช่นกัน มาเป็นพนักงานท� ำแผนที่ และผู้ช� ำนาญสิ่งแวดล้อมในคณะทูตด้วย เพื่อหาวิธีลอบด� ำเนินการตรวจท� ำแผนที่ และส� ำรวจพรรณพืชสัตว์ต่าง ๆ (ด� ำรงราชานุภาพ, ๒๕๔๖) รูปที่ ๗ ภาพวาดทิวทัศน์ของแม่น�้ ำเจ้าพระยาเขตกรุงเทพฯ โดยนักธรรมชาติวิทยา นายแพทย์จอร์จ ฟินเลย์สัน ทุกภาพมีส่วนของเรือ “จอห์น อาดัม” ที่ใช้เดินทางจากเบงกอล ขณะผ่านตอนเหนือของเกาะภูเก็ต ในวันที่ ๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๓๖๔ เขารวบรวมได้ตัวอย่างปลาทะเลชนิดหนึ่ง ที่ต่อมาได้ชื่อว่า Pristipoma aurita Cuvier และที่เกาะสีชัง ในวันที่ ๑๓ สิงหาคม พ.ศ. ๒๓๖๕ เขาได้ตัวอย่างกระรอก ที่ต่อมาได้ชื่อว่า Callosciurus finlaysoni (Horsefield)

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=