วารสารปี-40-ฉบับที่-4-resize

การช่วยเหลือผู้แสวงหาที่ลี้ภัยซึ่งประสบภัยในทะเล 8 The Journal of the Royal Society of Thailand Volume 40 Number 4 Oct-Dec 2015 ๑.๒ สารัตถะของหน้าที่ในการให้ความช่วยเหลือ กฎหมายที่กล่าวมาข้างต้นมิได้เพียงยืนยันหลักการเกี่ยวกับหน้าที่ในการให้ความช่วยเหลือ ผู้ประสบภัยทางทะเลเท่านั้น แต่ยังก� ำหนดรายละเอียดเกี่ยวกับผู้มีหน้าที่ ผู้มีสิทธิได้รับความช่วยเหลือ บริเวณพื้นที่ซึ่งเกี่ยวข้อง และข้อจ� ำกัดในการด� ำเนินการ ดังจะได้วิเคราะห์ต่อไปนี้ ๑.๒.๑ ผู้มีหน้าที่ต้องให้ความช่วยเหลือ กฎหมายระหว่างประเทศที่ได้กล่าวมาข้างต้นก� ำหนดหน้าที่ไว้ส� ำหรับบุคคลต่าง ๆ ดังนี้ -นายเรือ เป็นผู้ควบคุมเรือที่มีต� ำแหน่งสูงสุดในเรือ โดยมีหน้าที่ครอบคลุม ทั้งเรื่องการน� ำสินค้าขึ้นและลงเรือ การตรวจสอบความสามารถในการเดินทะเลของเรือ นายเรืออาจเป็น เพียงลูกจ้างของเจ้าของเรือหรืออาจมีส่วนเป็นเจ้าของเรือด้วยก็ได้ หน้าที่ในการให้ความช่วยเหลือถูกบัญญัติ ไว้อย่างชัดแจ้งในสนธิสัญญาต่าง ๆ เช่นที่ระบุไว้ข้างต้นในอนุสัญญา ค.ศ. ๑๙๑๐, ๑๙๗๔ และ ๑๙๘๙ ในขณะที่อนุสัญญา ค.ศ. ๑๙๑๐ และ ๑๙๘๙ กล่าวถึงหน้าที่ในการช่วยเหลือ อนุสัญญา ค.ศ. ๑๙๗๔ ได้เพิ่ม ดุลพินิจให้กับนายเรือในการตัดสินใจมิให้ความช่วยเหลือก็ได้ เมื่อไม่สามารถกระท� ำได้ โดยต้องบันทึกเหตุผล ไว้ในสมุดบันทึกหรือปูมเรือ (log book) แต่สนธิสัญญาทั้งสามฉบับมิได้ระบุวิธีการไว้ จึงเปิดโอกาสให้นายเรือ เลือกใช้วิธีการที่ตนเห็นว่าเหมาะสมตามสถานการณ์ โดยค� ำนึงถึงขนาดของเรือ สภาพอากาศ จ� ำนวน บุคคลผู้ประสบภัย ทั้งนี้ในทางปฏิบัติ นายเรือได้ใช้วิธีการที่หลากหลาย กล่าวคือ การลากโยงเรือ การขนถ่าย คนขึ้นเรือ ฯลฯ อนุสัญญา ค.ศ. ๑๙๑๒ ให้ความคุ้มครองดุลพินิจของนายเรือโดยบัญญัติให้เจ้าของเรือ ผู้เช่าเรือ ต้องไม่ขัดขวางหรือจ� ำกัดดุลพินิจของนายเรือในการตัดสินใจตามหลักวิชาชีพเพื่อความปลอดภัย ในการเดินเรือและการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมทางทะเล [ข้อ ๓๔ (๓)] บทที่ ๕ ส� ำหรับการบังคับบทบัญญัติ ในเรื่องนี้เป็นหน้าที่ของรัฐเจ้าของสัญชาติเรือซึ่งมักตรากฎหมายก� ำหนดหน้าที่และบทลงโทษกรณี การฝ่าฝืนไว้ อย่างไรก็ตาม ปัญหาในทางปฏิบัติส� ำหรับการปฏิบัติตามพันธกรณีดังกล่าวก็คือ ผลเสียที่เกิดขึ้นกับการให้ความช่วยเหลืออันท� ำให้นายเรือลังเลที่จะด� ำเนินการ กล่าวคือ การช่วยเหลือ ย่อมท� ำให้เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจทั้งต่อนายเรือ เจ้าของเรือ และลูกค้า เพราะก่อให้เกิดความล่าช้า อีกทั้งหากรัฐชายฝั่งปฏิเสธมิให้น� ำผู้ประสบภัยขึ้นฝั่ง นายเรืออาจมีความผิดตามกฎหมายของรัฐชายฝั่งนั้น เมื่อน� ำผู้ประสบภัยขึ้นฝั่งโดยปราศจากเอกสารที่ถูกต้อง นอกจากนี้ การร้องเรียนนายเรือก็มักท� ำได้ยาก เนื่องจากผู้แสวงหาที่ลี้ภัยมักเสียชีวิตในทะเลระหว่างทาง ยิ่งกว่านั้นนายเรือเองก็ปราศจากแรงจูงใจเพราะ

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=