วารสารปี-40-ฉบับที่-4-resize

จตุรนต์ ถิระวัฒน์ 7 วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๐ ฉบับที่ ๔ ต.ค.-ธ.ค. ๒๕๕๘ จัดตั้ง ด� ำเนินการ และธ� ำรงไว้ซึ่งบริการค้นหาและช่วยชีวิตที่เพียงพอและมีประสิทธิผลเกี่ยวกับความปลอดภัย ทางทะเล อนุสัญญาระหว่างประเทศ ค.ศ. ๑๙๘๙ ว่าด้วยการกู้ภัย (International Convention on Salvage) อนุสัญญาฉบับนี้เป็นผลจากการน� ำอนุสัญญา ค.ศ. ๑๙๑๐ มาปรับปรุงให้เป็นปัจจุบัน โดยเกิดจากการร่วมมือกันระหว่างองค์การทางทะเลระหว่างประเทศและคณะกรรมการทางทะเลระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นผู้ยกร่างให้ที่ประชุมขององค์การฯ พิจารณาและเปิดให้รัฐรับตัวบท 17 โดยมีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ ๑๔ กรกฎาคม ค.ศ. ๑๙๙๖ อนุสัญญานี้ได้ยืนยันหลักการเรื่องหน้าที่ในการให้ความช่วยเหลือผู้ซึ่งเสี่ยงต่อการสูญหาย เท่าที่นายเรือสามารถท� ำได้โดยไม่เป็นอันตรายร้ายแรงต่อเรือและผู้อยู่ในเรือนั้น (ตามข้อ ๑๐) และระบุให้รัฐ บัญญัติหน้าที่ดังกล่าวไว้ในกฎหมายภายในของตนด้วย ๑.๑.๒ หน้าที่ตามที่มาหรือบ่อเกิดอื่น ๆ ของกฎหมายระหว่างประเทศ หน้าที่ในการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยในทะเลถือเป็นจารีตประเพณี ระหว่างประเทศที่เก่าแก่ซึ่งใช้บังคับส� ำหรับรัฐทั้งปวง 18 และได้รับการยืนยันในสนธิสัญญาหลายฉบับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอนุสัญญาแห่งสหประชาชาติ ค.ศ. ๑๙๘๒ ว่าด้วยกฎหมายทะเลซึ่งเป็นผลจากการท� ำ ประมวลกฎหมายจารีตประเพณีระหว่างประเทศและเป็นสนธิสัญญาที่รัฐส่วนใหญ่ในประชาคมโลก เข้าเป็นภาคีแล้วในปัจจุบัน นอกจากนี้หลักการในเรื่องนี้ยังได้รับการยืนยันในทางปฏิบัติในรูปของการตราเป็น บทบัญญัติของกฎหมายภายในของประเทศต่าง ๆ และยังได้รับการยืนยันทั้งจากความเห็นของนักนิติศาสตร์ ผู้ทรงคุณวุฒิ องค์การระหว่างประเทศและจากค� ำพิพากษาของศาลระหว่างประเทศต่าง ๆ ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า หน้าที่ในการช่วยเหลือเป็นหลักการในกฎหมายระหว่างประเทศที่มีผลใช้บังคับเป็นการทั่วไปไม่ว่าจะเป็น ภาคีในสนธิสัญญาที่เกี่ยวข้องหรือไม่ รัฐทั้งหลายจึงมีหน้าที่ให้ความช่วยเหลือ ซึ่งท� ำให้จ� ำต้องพิจารณาต่อไป ว่าหน้าที่ดังกล่าวมีเนื้อหาสาระอย่างไร ๑๗ Nigel H. Frawley, “A Brief History of Comite Maritime International and its relationship with International Maritime Organization, the IOPC Funds and other UN organizations”, Relationship with UN organizations, accessed 3 March 2013, http://www.comitemaritime.org/Relationship-with-UN-organisations/0 ,27114,111432,00. html. 18 Oxam B. “Human Rights and the United Nations Convention on the Law of the Sea”, 36 CJTL 399 (1997): p. 414; Richard Barnes, “Refugee law at sea”, International & Comparative Law Quarterly, p. 3

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=