วารสารปี-40-ฉบับที่-4-resize
มงคล เดชนครินทร์ 147 วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๐ ฉบับที่ ๔ ต.ค.-ธ.ค. ๒๕๕๘ ตัวอย่างของวงจรดิจิทัลที่ใช้วงจรรวม 4511 จ� ำนวน ๒ ตัวเพื่อควบคุมตัวแสดงผลแบบ ๗ ส่วน จ� ำนวน ๒ ตัว เป็นดังที่แสดงไว้ในรูปที่ ๑๔ รูปที่ ๑๔ ตัวอย่างการใช้วงจรรวม 4511 ในการควบคุมตัวแสดงผลแอลอีดีแบบ ๗ ส่วน ในรูปที่ ๑๔ นี้ ตัวแสดงผลแอลอีดีแบบ ๗ ส่วนทั้ง ๒ ตัวเป็นแบบแคโทดร่วม ทั้งนี้เพื่อให้สามารถ จุดติดเมื่อได้รับสัญญาณตรรกะ 1 (แรงดันไฟฟ้า ๕ โวลต์) จากวงจรรวม 4511 ตัวที่เกี่ยวข้อง สัญญาณ BCD ที่ใช้ในการควบคุมการแสดงผลตัวเลข 0-9 เริ่มต้นจากขั้ว PB0-PB3 ของวงจรรวม 8255 (1) ส่วนสัญญาณ ควบคุมที่ใช้แลตช์ข้อมูลให้แก่วงจรรวม 4511 ได้มาจากขั้ว PB4 กับ PB5 ของวงจรรวม 8255 (1) ในที่นี้ ชุดวงจรรวมกับตัวแสดงผลจ� ำนวน ๒ ชุดจะท� ำงานเป็นอิสระแก่กัน และวงจรโดยรวมไม่ได้ท� ำงานแบบมัลติเพล็กซ์ ส่วนซอฟต์แวร์ที่จะใช้ร่วมกับวงจรในรูปที่ ๑๔ นั้น ผู้นิพนธ์จะละไว้เป็นแบบฝึกหัดส� ำหรับผู้อ่านที่สนใจ วงจรแสดงผลข้อมูลตัวอักษรโดยใช้มอดูลแสดงผลชนิดแอลซีดี ตัวแสดงผลแอลอีดีแบบ ๗ ส่วนในหัวข้อที่ผ่านมานั้น สามารถแสดงตัวอักษรได้โดยจ� ำกัดอยู่เพียง ตัวเลข 0-9 และตัวหนังสือ A-F เท่านั้น หากจะแสดงผลตัวเลข 0-9 และตัวอักษรภาษาอังกฤษ a-z และ A-Z ให้ได้ครบทุกตัว เราควรเปลี่ยนไปใช้มอดูลแสดงผลแอลซีดี (LCD display module) แทน เพราะสะดวก กว่าที่จะใช้ตัวแสดงผลแอลอีดี รายละเอียดเกี่ยวกับโครงสร้างและการท� ำงานของมอดูลแสดงผลชนิดแอลซีดีนั้น สามารถศึกษา ได้จากต� ำราทางอิเล็กทรอนิกส์ เช่น Hall (1992: 276-277) ส่วนตัวอย่างการทดสอบ การใช้งาน และ ข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับมอดูลชนิดนี้ก็สามารถค้นหาได้จากบทความในวารสารทางอิเล็กทรอนิกส์ เช่น Ilett (1997 a, 1997 b) ประเด็นส� ำคัญอย่างหนึ่งก็คือว่า เมื่อมอดูลแสดงผลชนิดแอลซีดีถูกต่อเข้ากับแหล่งจ่าย ก� ำลังไฟฟ้านั้น มอดูลจะปรับตั้งสถานะเริ่มแรกโดยปริยายดังนี้ (Ray and Bhurchandi, 2006: 634)
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=