วารสารปี-40-ฉบับที่-4-resize
การแสดงผลข้อมูลผ่านช่องทางออกแบบขนานของแผงวงจรไมโครคอนโทรลเลอร์เพื่อการเรียนรู้ 146 The Journal of the Royal Society of Thailand Volume 40 Number 4 Oct-Dec 2015 เมื่อพิจารณาโดยรวมแล้ว วงจรรวม 4511 มีขารับสัญญาณเข้าและขาส่งสัญญาณออกตรงกับของ วงจรรวม 7447 ส่วนขาต่าง ๆ ที่รับสัญญาณควบคุม ซึ่งต่างกับของวงจรรวม 7447 มีดังนี้ - ขา LT (ขา 3) ใช้รับสัญญาณตรรกะ 0 (ต่อลงกราวนด์) เพื่อตรวจสอบแอลอีดีทั้ง ๗ หน่วย (Lamp Test) ภายในตัวแสดงผลแบบ ๗ ส่วนว่ามีหน่วยหรือส่วนใดบกพร่องหรือไม่ ในที่นี้เราต่อขา LT กับ สัญญาณตรรกะ 1 (ต่อกับแรงดันไฟฟ้า ๕ โวลต์) เพื่อใช้งานตามปรกติ - ขา BI (ขา 4) ใช้รับสัญญาณตรรกะ 0 เพื่อปิดสัญญาณเข้า (Blanking Input) ของวงจรรวม เบอร์ 4511 โดยปรกติจะรับสัญญาณตรรกะ 1 - ขา LE (ขา 5) ใช้รับสัญญาณตรรกะ 0 (ต่อลงกราวนด์) ในช่วงเวลาสั้น ๆ เพื่อให้สามารถแลตช์ (Latch Enable) หรือธ� ำรงสัญญาณเข้า A 0 -A 3 ที่ถูกป้อนให้แก่วงจรรวมเบอร์ 4511 ในช่วงเวลาสั้น ๆ นั้นไว้ ภายในตัววงจรรวม โดยปรกติ ขั้วสัญญาณขั้วนี้จึงต่อรับสัญญาณตรรกะ 1 ผ่านตัวต้านทานขนาดประมาณ ๑๐ กิโลโอห์ม และต่อโดยตรงกับขาสัญญาณควบคุมที่มาจากวงจรรวม 8255 แต่ถ้าต่อขานี้กับสัญญาณ ตรรกะ 0 (ต่อกับกราวนด์) อย่างถาวร สัญญาณเข้า A 0 -A 3 ก็จะเข้าสู่วงจรรวม 4511 ได้ตลอดเวลา รายละเอียดอื่น ๆ เกี่ยวกับวงจรรวม 4511 สามารถดูได้จากแผ่นข้อมูลของผู้ผลิต เช่น Texas Instruments (2003) ตารางที่ ๓ เป็นตารางความจริงส� ำหรับการท� ำงานของวงจรรวม 4511 ซึ่งให้สัญญาณออกในรูปของ ตรรกะบวก ตรงกันข้ามกับสัญญาณออกของวงจรรวม 7447 ตามตารางที่ ๒ ซึ่งอยู่ในรูปของตรรกะลบ ตารางที่ ๓ ตารางความจริงส� ำหรับการท� ำงานของวงจรรวมเบอร์ 4511 สัญญาณเข้า BCD สัญญาณออก (ตรรกะบวก) ตัวเลขที่แสดง (ฐานสิบ) A 3 A 2 A 1 A 0 g f e d c b a 0 0 0 0 0 0 0 0 1 1 0 0 0 0 1 1 1 1 0 0 0 0 1 1 0 0 1 1 0 0 0 1 0 1 0 1 0 1 0 1 0 0 1 1 1 1 1 0 1 1 1 0 0 0 1 1 1 0 1 1 1 0 1 0 0 0 1 0 1 0 1 0 1 1 0 1 1 0 1 0 1 1 0 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 0 0 1 1 1 1 0 1 1 0 1 0 1 1 1 0 1 2 3 4 5 6 7 8 9
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=